ข้ามไปเนื้อหา

ผู้ใช้:CADT DPU

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ประวัติ[แก้]

วิทยาลัยการพัฒนาและฝึกอบรมด้านการบิน (College of Aviation Development and Training: CADT) มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ได้ก่อตั้งขึ้นโดยความเห็นชอบของสภามหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ในการประชุมครั้งที่ 1 ปีการศึกษา 2559 เมื่อวันที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2559 เพื่อดำเนินการผลิต พัฒนา และฝึกอบรมบุคลากรด้านการบิน ให้มีความรู้ ประสบการณ์และทัศนคติที่ดีในการปฏิบัติงานของอุตสาหกรรมการบินของประเทศ ภูมิภาคและของโลก โดยมี นาวาอากาศตรี ผศ.ดร.วัฒนา มานนท์ เป็นคณบดี

วิสัยทัศน์[แก้]

วิทยาลัยการพัฒนาและฝึกอบรมด้านการบินมุ่งผลิตบุคลากรที่มีความรู้เป็นมาตรฐาน มีประสบการณ์และทัศนคติที่พร้อมสู่การปฏิบัติตามความต้องการของอุตสาหกรรมการบินระดับนานาชาติ

ภาพบรรยากาศของวิทยาลัยฯ

พันธกิจ[แก้]

  1. ผลิตพัฒนาและฝึกอบรมบุคลากรในอุตสาหกรรมการบินที่มีคุณภาพเป็นมาตรฐาน และสนับสนุนการเป็นศูนย์กลางด้านการบินของไทย
  2. เผยแพร่องค์ความรู้ คำแนะนำเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและศักยภาพของระบบขนส่งทางอากาศของไทย
  3. พัฒนาวิทยาลัยให้มีความเข้มแข็ง มีระบบบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพและยั่งยืน

เอกลักษณ์[แก้]

องค์กรแห่งการเรียนรู้ที่เป็นเลิศทางด้านวิชาการ และการบริการวิชาการเพื่ออุตสาหกรรมการบินที่เข้มแข็ง และยั่งยืน

วัฒนธรรมองค์กร[แก้]

“CADT Family” กัลยาณมิตร คิดก้าวหน้า ใฝ่รู้ ใฝ่ศึกษา พัฒนาต่อเนื่อง

หลักสูตรที่จัดการเรียนการสอน[แก้]

  1. หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาธุรกิจการบิน (Aviation Business) เป็นหลักสูตรสำหรับผู้ที่ชื่นชอบงานบริการ พบปะผู้คน เพราะการเรียนการสอนจะเน้นในเรื่องการบริการเป็นหลัก เรียนจบแล้วสามารถเข้าทำงานด้านบริการในอุตสาหกรรมการบิน เช่น พนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน พนักงานต้อนรับภาคพื้น งานคลังสินค้า และงานส่วนต่างๆ ของสายการบิน และองค์กรการบิน เช่น บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน)
  2. หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเทคโนโลยีการบินและการอำนวยการบิน: หลักสูตร 2 ภาษา ไทย-อังกฤษ (Aviation Technology Management and Flight Operation: Thai-English Bi-lingual Program) เน้นการเรียนการสอนในเรื่องของการบริหาร จัดการ เรียนจบแล้วสามารถเข้าทำงานในตำแหน่งที่เกี่ยวข้องกับการบินโดยตรง เช่น เจ้าหน้าที่อำนวยการบิน เจ้าหน้าที่ควบคุมจราจรทางอากาศ และนักบิน
  3. หลักสูตรอบรมระยะสั้น (IATA Certified Courses) โดย สถาบันการบิน มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

จุดเด่น[แก้]

หลักสูตรต่าง ๆ ของ CADT ทั้งสาขาวิชาธุรกิจการบิน สาขาวิชาการจัดการเทคโนโลยีการบินฯ และการอบรมด้านการบิน มีความโดดเด่นจากเป็นหลักสูตรที่มุ่งเน้นความรู้ความสามารถทางวิชาชีพหรือด้านปฏิบัติการ (Operation) และมีห้องปฏิบัติการในการเรียนการสอนต่าง ๆ มากมาย เพื่อให้นักศึกษาได้มีประสบการณ์ตรงในงานการบินอย่างครบถ้วน ไม่ว่าจะเป็น พนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน พนักงานต้อนรับภาคพื้น งานคลังสินค้าทางอากาศ และงานการตลาดในธุรกิจการบิน เป็นต้น

โดยวิทยาลัยมีห้องฝึกปฏิบัติการที่ใช้ในการศึกษาภาคปฏิบัติของนักศึกษาครบถ้วน และทันสมัย อาทิเช่น ห้องฝึกปฏิบัติการบริการบนเครื่องบิน โดยใช้เครื่องบินแบบ A300-600 รวมทั้งห้องปฏิบัติการต่างๆ เช่น ห้องฝึกปฏิบัติการสำรองที่นั่งด้วยระบบ Amadeus ห้องฝึกปฏิบัติการ Aerodrome Simulator ห้องฝึกปฏิบัติการ Flight Operation และเครื่องช่วยฝึกบินจำลอง (Flight Simulator) Boeing 737-800NG จำนวน 1 เครื่อง และ Cessna 172-G1000 จำนวน 2 เครื่อง เป็นต้น โดยรายวิชาทั้งหมดนั้นมีอาจารย์ผู้สอนที่มีประสบการณ์ตรงในสายงานด้านอุตสาหกรรมการบินเป็นผู้อำนวยการเรียนการสอน

นอกจากนี้สำหรับหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเทคโนโลยีการบินฯ ซึ่งเป็นหลักสูตร 2 ภาษาที่จัดทำเพื่อตอบสนองความต้องการบุคลากรด้านการบินเพื่อให้มีความรู้เป็นมาตรฐาน และการเป็นศูนย์กลางด้านการบินของไทย โดยมุ่งเน้นให้นักศึกษาที่สำเร็จการศึกษาในหลักสูตรดังกล่าวมีความรู้ ความสามารถได้มาตรฐานโดยเฉพาะมีความรู้ความสามารถทางการใช้ภาษาอังกฤษ ซึ่งสาขาวิชาการจัดการเทคโนโลยีการบินนั้นเป็นหลักสูตรที่มุ่งเน้นให้ผู้สำเร็จการศึกษามีความรู้ความสามารถทางวิชาชีพหรือด้านปฏิบัติการ (Operation) โดยผ่านการฝึกงานในสถานประกอบการหรือสหกิจศึกษา ที่สำคัญหลักสูตรนี้เป็นหลักสูตรแรกในระดับปริญญาตรีของประเทศไทย ที่มุ่งผลิตบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถด้านอำนวยการบิน (Flight Operation Management) และเมื่อสำเร็จการศึกษาจะมีองค์ความรู้เพื่อสอบใบอนุญาตผู้ประจำหน้าที่ในตำแหน่งพนักงานอำนวยการบินได้อย่างมีประสิทธิภาพ

หลักสูตรระดับปริญญาตรี ทั้ง 2 หลักสูตร ได้รับการยอมรับจาก สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) โดยเป็นไปตามเกณฑ์หลักสูตรระดับปริญญาตรี พ.ศ. 2558 ของกระทรวงศึกษาธิการ และสามารถทำการกู้ยืมจาก กองทุนกู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) ได้

พันธมิตร[แก้]

ทางด้านความสัมพันธ์และการร่วมมือกับองค์กรในอุตสาหกรรมการบินนั้น ทาง CADT ได้ทำการลงนามข้อตกลงความร่วมมือด้านวิชาการ (MOU) กับหน่วยงาน และองค์กรในอุตสาหกรรมการบินต่างๆ เช่น บริษัท สายการบินนกแอร์ จำกัด (มหาชน) บริษัทคิง เพาเวอร์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด สายการบิน MJets และบริษัท พัทยาเอวิเอชั่น จำกัด เป็นต้น รวมถึงได้สร้างความสัมพันธ์อันดี และความร่วมมือกับองค์กรด้านการบินต่าง ๆ อีกมากมาย อาทิเช่น สำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) สายการบินไทย สายการบินไทยไลอ้อนแอร์ และสายการบินคาเธ่ย์ แปซิฟิค เป็นต้น

การสมัครเรียน[แก้]

เอกสารในการสมัครเรียน[แก้]

  1. สำเนาบัตรประชาชน
  2. สำเนาทะเบียนบ้าน
  3. วุฒิการศึกษา (สามารถยื่นภายหลังได้ ก่อนเปิดเทอม)

***ไม่ใช้ GatPat ใช้เกรด 5- 6 เทอม ก็สมัครได้เลย และไม่กำหนดเกรดขั้นต่ำ***

ค่าใช้จ่าย (ค่าเทอม)[แก้]

สาขาวิชาธุรกิจการบิน
ชั้นปี ภาคการศึกษาที่ 1 ภาคการศึกษาที่ 2 รวม (ตลอดปีการศึกษา)
1 51,000 40,000 91,000
2 40,000 40,000 80,000
3 40,000 40,000 80,000
4 40,000 40,000 80,000
รวมค่าใช้จ่ายตลอดหลักสูตร 4ปี (8ภาคการศึกษา) 328,000
ค่าเล่าเรียนต่อเทอมโดยเฉลี่ย 41,000
สาขาวิชาการจัดการเทคโนโลยีการบิน และอำนวยการบิน
ชั้นปี ภาคการศึกษาที่ 1 ภาคการศึกษาที่ 2 รวม (ตลอดปีการศึกษา)
1 53,000 42,000 95,000
2 42,000 42,000 84,000
3 42,000 42,000 84,000
4 42,000 42,000 84,000
รวมค่าใช้จ่ายตลอดหลักสูตร 4ปี (8ภาคการศึกษา) 344,000
ค่าเล่าเรียนต่อเทอมโดยเฉลี่ย 43,000

*สามารถกู้ กยศ. ได้ทั้ง 2 หลักสูตร (ปีละประมาณ 60,000 บาท)

**เป็นแบบเหมาจ่าย

***ไม่รวมในกรณีลงทะเบียนเรียนวิชาพิเศษ ได้แก่ วิชา Flight Simulator วิชานักบินส่วนบุคคล 1 และ 2 และไม่รวมค่าทัศนศึกษาในรายวิชาการจัดการท่าอากาศยาน

ทุนการศึกษา[แก้]

ทุนเรียนดี ไสว-สนั่น[แก้]

  • คุณสมบัติผู้สมัคร : นักเรียนที่จบชั้น ม.6 / ปวช. GPA. 3.00 ขึ้นไป
  • จำนวนเงินทุนที่ให้ : ให้ทุกปีการศึกษา ที่ศึกษาในหลักสูตร 4 ปีภาคปกติ คณะ/วิทยาลัยละ 1 ทุน ให้จำนวนเงินเท่ากับค่าใช้จ่ายทั้งหลักสูตร ตามหลักสูตรที่ได้รับทุนการศึกษา โดยมีระยะเวลาการให้ทุนไม่เกินระยะเวลาของหลักสูตร
  • เงื่อนไขการได้รับทุนต่อเนื่อง : มีผลการเรียนคะแนนเฉลี่ยสะสมถึงภาคปลาย ไม่ต่ำกว่า 3.00 และปฏิบัติตามเงื่อนไขการรับทุน

ทุนเรียนดี พระสิทธิธาดา[แก้]

  • คุณสมบัติผู้สมัคร : นักเรียนที่จบชั้น ม.6 / ปวช. / ปวส. GPA. 3.00 ขึ้นไป
  • จำนวนเงินทุนที่ให้ : ให้ทุกปีการศึกษาสำหรับหลักสูตร 4 ปี และหลักสูตรเทียบโอน หลักสูตร 4 ปี(ปกติ) หลักสูตรละ 1 ทุน หลักสูตรเทียบโอน(ปกติ) คณะ/วิทยาลัยละ 1 ทุน หลักสูตรภาคพิเศษ 4 ปีและเทียบโอนรวมกัน คณะ/วิทยาลัยละ 1 ทุน ให้จำนวนเงินเท่ากับค่าใช้จ่ายทั้งหลักสูตร ตามหลักสูตรที่ได้รับทุนการศึกษา โดยมีระยะเวลาการให้ทุนไม่เกินระยะเวลาของหลักสูตร
  • เงื่อนไขการได้รับทุนต่อเนื่อง :

1.มีผลการเรียนคะแนนเฉลี่ยสะสมถึงภาคปลาย ไม่ต่ำกว่า 3.00 สำหรับหลักสูตรสายสังคมศาสตร์

2.มีผลการเรียนคะแนนเฉลี่ยสะสมถึงภาคปลาย ไม่ต่ำกว่า 2.75 สำหรับหลักสูตรสายวิทยาศาสตร์ และสายวิศวกรรมศาสตร์และปฎิบัติตามเงื่อนไขการรับทุน

ทุนความสามารถพิเศษ[แก้]

  • คุณสมบัติผู้สมัคร : นักเรียนที่จบชั้น ม.ปลาย / ปวช./ ปวส.
  • จำนวนเงินทุนที่ให้ : ให้คณะ/วิทยาลัย และสายงานที่ให้ทุนการศึกษา เป็นผู้พิจารณาวงเงินที่ได้รับในปีการศึกษา ในกรณีที่ให้ทุนต่อเนื่อง ระยะเวลาการให้ทุนต้องไม่เกินระยะเวลาของหลักสูตร
  • เงื่อนไขการได้รับทุนต่อเนื่อง : มีผลการเรียนตลอดปีคะแนนเฉลี่ยสะสมถึงภาคปลาย ไม่ต่ำกว่า 2.00 และปฏิบัติตามเงื่อนไขการรับทุน

ทุน HERO[แก้]

  • คุณสมบัติผู้สมัคร :

1.นักเรียนที่จบชั้นม.6, ปวช ,ปวส / GPA.ไม่กำหนดเกรด

2. มีเอกสารรับรองการเป็นประธานนักเรียน หรือรองประธานนักเรียน

  • จำนวนเงินทุนที่ให้ : ทุนการเรียนฟรี 50 % - 100% ตลอดหลักสูตร ขึ้นอยู่กับกรรมการพิจารณา ให้ทุนระยะเวลา 2 ปีการศึกษาสำหรับนักศึกษาหลักสูตรเทียบโอน และ 4 ปีการศึกษา สำหรับนักศึกษาหลักสูตร 4 ปี โดยจ่ายให้เท่ากับจำนวนเงินค่าหน่วยกิตที่ลงทะเบียนเรียนจริง 2 ภาคการศึกษาต่อปี ทั้งนี้รวมถึงค่าบำรุงและค่าธรรมเนียมอื่นๆ
  • เงื่อนไขการได้รับทุนต่อเนื่อง : มีผลการเรียนคะแนนเฉลี่ยสะสมถึงภาคปลาย ไม่ต่ำกว่า 2.50

ทุนการศึกษาอื่น ๆ (CLICK)[แก้]

อ้างอิง[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

ข้อมูลติดต่อ[แก้]

ที่อยู่ : มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ 110/1-4 ถนนประชาชื่น หลักสี่ กทม. 10210

แผนที่

โทรศัพท์ : 02-588-6060 ต่อ คณบดี 101, เลขา 100, อาจารย์อาคาร A 109, อาจารย์อาคาร B 102

โทรศัพท์มือถือ : 092-549- 8992

Line : @cadt