ผู้ใช้:Boonyanuch.sri/ทดลองเขียน
ไฟล์:โลโก้ มูลนิธิฯ 0.jpg | |
ประเภท | องค์กรสาธารณกุศล |
---|---|
ก่อตั้ง | พ.ศ. 2532, ประเทศไทย |
สำนักงานใหญ่ | เลขที่ 127 หมู่ 3 กองบัญชาการกองทัพไทย ถนนแจ้งวัฒนะ แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร 10210 |
เว็บไซต์ | www.fedub.org |
มูลนิธิเพื่อการศึกษาบริเวณชายแดน (อังกฤษ: Foundation for Education along the Borders)[1] ได้เริ่มให้ทุนการศึกษาแก่บุตร ธิดา ของสมาชิกหมู่บ้าน ปชด. ในระดับมัธยมศึกษาเป็นหลักกับผู้ด้อยโอกาสที่จะศึกษาต่อจากการศึกษาภาคบังคับ เนื่องจาการขัดสนทางครอบครัว เป็นผู้มีความประพฤติดี ขยันและตั้งใจเรียนมาเป็นประจำทุกปี เริ่มมาตั้งแต่ปีการศึกษา 2533 เป็นต้นมา โดย กองกำลัง(กกล.)สุรนารี กองกำลังบูรพา และกองกำลังป้องกันชายแดนจันทบุรี-ตราด ได้แต่งตั้งคณะกรรมการอันประกอบด้วยเจ้าหน้าที่ของกองกำลัง, หน่วยเฉพาะกิจโครงการหมู่บ้านป้องกันตนเองชายแดน (ฉก.ปชด.) ในพื้นที่ ฝ่ายบ้านเมืองและฝ่ายการศึกษา และผู้บริหารโรงเรียน ดำเนินการคัดเลือกนักเรียนเพื่อรับทุนการศึกษาของมูลนิธิฯส่วนเจ้าหน้าที่ของมูลนิธิฯจะเดินทางไปมอบทุน การศึกษาประจำปีตามกำหนดวัน เวลา สถานที่ ในท้องถิ่นตามที่กองกำลังจะกำหนด ประมาณเดือนมิถุนายน-กรกฎาคม ของทุกปีการศึกษา
มูลนิธิฯมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของเยาวชนในหมู่บ้านปชด. ในด้านการศึกษา อาชีพความเป็นอยู่ และสภาพแวดล้อม การดำเนินงานได้แบ่งออกเป็นโครงการใหญ่ๆ รวม 4 โครงการคือ
1. โครงการทุนการศึกษาระดับมัธยมฯ ให้กับบุตร ธิดาของสมาชิกหมู่บ้านปชด. ที่จบการศึกษาภาคบังคับแล้วแต่ไม่มีโอกาสไปศึกษาต่อ เนื่องจากมีฐานะยากจนแต่มีความประพฤติดี ขยันและตั้งใจเรียน มีผลการศึกษาเฉลี่ยตลอดปีก่อนรับทุนไม่ต่ำกว่า 2.50
2.โครงการ “หนึ่งในร้อย” เพื่อมอบทุนการศึกษาของมูลนิธิฯ ในระดับอุดมศึกษาให้กับนักศึกษาจากหมู่บ้านปชด.ที่มีคุณธรรม มีผลการเรียนดี แต่ขัดสนทุนทรัพย์ ให้มีโอกาสศึกษาต่อเนื่องระดับอุดมศึกษาจนจบหลักสูตร ในสถาบันการศึกษาในจังหวัดภูมิลำเนา ในสาขาวิชาชีพที่เป็นประโยชน์ต่อท้องถิ่นในภูมิลำเนาของตนเอง
3.โครงการ “นักศึกษาดีเด่นหนึ่งในร้อย” เพื่อมอบรางวัลของมูลนิธิฯให้กับนักศึกษาจากหมู่บ้านปชด. ที่ทำความดีสม่ำเสมอทั้งด้านคุณธรรม ความประพฤติและบุคลิกภาพ เป็นตัวอย่างเยาวชนที่ดีของท้องถิ่น
4.โครงการ “แมวมอง” เพื่อคัดเลือกนักเรียนทุนการศึกษาของมูลนิธิฯที่กำลังศึกษาในชั้นมัธยมปี 3 และ 4 ที่มีผลการเรียนตั้งแต่ 3.50ขึ้นไป ส่งไปเข้าศึกษาในระดับอุดมศึกษาของส่วนกลางต่อไป[2]
ประวัติ
[แก้]ในปี พ.ศ.2532 ศูนย์อำนวยการร่วม กองบัญชาการทหารสูงสุด ได้พิจารณาเห็นว่า ระบบต่างๆตามโครงการหมู่บ้าน ปชด. นั้น ล้วนเป็นการช่วยเหลือราษฎรเพื่อแก้ปัญหาในระยะสั้นตามความเร่งด่วน แม้จะแก้ปัญหาเผชิญหน้าให้ราษฎรได้ แต่เนื่องจากเป็นการแก้เร่งด่วนก็ก่อให้เกิดปัญหาแทรกซ้อนขึ้นมา เช่น ปัญหาด้านสังคมจิตวิทยา, วัฒนธรรมและการทำมาหากินของราษฎร เป็นต้น ศอร. จึงเห็นสมควรให้ดำเนินการช่วยเหลือทางด้านการศึกษา ซึ่งเป็นการช่วยเหลือระยะยาว และเป็นการจัดการและประสานงานการพัฒนาด้านต่างๆที่ทำไปแล้วให้ประสานกลมกลืนต่อเนื่องกัน กับทั้งเป็นการแก้ปัญหาแทรกซ้อนต่างๆไปในตัว จึงได้รายงานต่อ ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี พลเอก ชาติชาย ชุณหวัน ขอเงินเหลือจากการบริจาคที่ได้รับจากรัฐบาลต่างประเทศตามโครงการหมู่บ้านปชด. ด้านกัมพูชา มาเพื่อจัดตั้งมูลนิธิเพื่อการศึกษาบริเวณชายแดน โดยมี พลเอก สุนทร คงสมพงษ์ เสนาธิการทหารในขณะนั้น เป็นประธานกรรมการมูลนิธิฯ มีพลเอก สมคิด จงพยุหะ เจ้ากรมยุทธการทหาร/หัวหน้าสำนักงานเลขานุการโครงการหมู่บ้านปชด. ในขณะนั้น เป็นรองประธานกรรมการมูลนิธิฯ
ประธานกรรมการมูลนิธิฯ
พ.ศ.2532-2534 พลเอก สุนทร คงสมพงษ์
พ.ศ.2534-2555 พลเอก สมคิด จงพยุหะ
พ.ศ.2555-ปัจจุบัน พลเอก พิศณุ อุไรเลิศ[3]
คณะกรรมการ
[แก้]ยศ - ชื่อ -สกุล | ตำแหน่ง | |
---|---|---|
1 | พลเอก พิศณุ อุไรเลิศ | ประธานกรรมการ |
2 | พลเอก สุจิตร สิทธิประภา | รองประธานกรรมการ |
3 | พลโท สุจินต์ หมวกแก้ว | กรรมการ |
4 | พลโท ธิวา เพ็ญเขตกรณ์ | กรรมการ |
5 | ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ทวีป พรหมอยู่ | กรรมการ |
6 | พันเอก นันทพล เชื้อหน่าย | กรรมการ |
7 | พลตรีหญิง ศรีศรัณย์ ธีรธำรง | กรรมการ/เหรัญญิก |
8 | นาวาอากาศเอก หญิง เบญจมาศ ชวดนุช | กรรมการ/เลขานุการ |
อ้างอิง
[แก้]- ↑ องค์การหรือสถานสาธารณกุศล ลำดับที่ 341 ของประกาศกระทรวงการคลังฯ ลงวันที่ 8 กันยายน พ.ศ.2541
- ↑ การดำเนินงานของมูลนิธิเพื่อกาศึกษาบริเวณชายแดน
- ↑ ประวัติและความเป็นมาของมูลนิธิเพื่อการศึกษาบริเวณชายแดน
- ↑ ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนแต่งตั้งกรรมการของมูลนิธิเพื่อการศึกษาบริเวณชายแดน