ผู้ใช้:Baconzb/กระบะทราย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ฟรานซิส เบคอน
เกิด28 ตุลาคม ค.ศ. 1909(1909-10-28)
ดับลิน, ไอร์แลนด์
เสียชีวิตเมษายน 22, 1992(1992-04-22) (82 ปี)
มาดริด, สเปน
มีชื่อเสียงจากการออกแบบ, จิตรกรรม
ขบวนการคิวบิสม์, ลัทธิเหนือจริง, ลัทธิแสดงพลังอารมณ์

ฟรานซิส เบคอน (อังกฤษ: Francis Bacon) เป็นศิลปินชาวอังกฤษซึ่งสร้างสรรค์ผลงานในลัทธิสำแดงพลังอารมณ์ หรือลัทธิแสดงพลังอารมณ์(expressionism) ลัทธิแสดงพลังอารมณ์ถือเป็นความเคลื่อนไหวในช่วงต้นคริสศตวรรษที่20 งานเหล่านี้มักแสดงถึงความเป็นจริงที่บิดเบือนและอารมณ์อันรุนแรง ดังจะเห็นได้ในผลงานของเบคอนที่มักจะใช้ลายเส้นแสดงความบิดเบี้ยว และอารมณ์ความรู้สึกเร่าร้อนรุนแรง โดยศิลปินมักสะท้อนแนวคิดด้านร้ายของสังคม การเมือง หรือเรื่องทางเพศผ่านผลงานของตน ช่วงชีวิตของฟรานซิส เบคอนมีโอกาสได้เดินทางไปยังสถานที่ต่างๆ และได้รับแรงบันดาลใจจนเกิดผลงานที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว ซึ่งนับได้ว่าฟรานซิส เบคอนเป็นศิลปินคนหนึ่งที่ถ่ายทอดเรื่องราวต่างๆ รอบตัวผ่านผลงานไว้อย่างมากมาย

ชีวประวัติ[แก้]

ชีวิตในวัยเด็กและจุดเริ่มต้นในวงการศิลปะ[แก้]

ฟรานซิส เบคอน เกิดวันที่ 28 ตุลาคม ค.ศ.1909 ในครอบครัวชาวอังกฤษที่เมืองดับลิน(Dublin) ประเทศไอร์แลนด์[1] โดยเขาได้รับการตั้งชื่อตามบรรพบุรุษของเขาที่เป็นนักปราชญ์และนักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษ[2] บิดาของเบคอนมีชื่อว่า แอนโทนี เอ็ดวาร์ด มอร์ติเมอร์ เบคอน(Anthony Edward ‘Eddy’ Mortimer Bacon) เป็นอดีตนายกัปตันกองทัพทหาร ปัจจุบันมีอาชีพผสมพันธุ์และฝึกม้าที่ใช้ในการแข่งขัน ส่วนมารดาชื่อ คริสติน่า วินิเฟร็ด ลอคเล่ เบคอน(Christina Winifred Loxley Bacon) มาจากครอบครัวเชฟฟีลด์ ตระกูลการทำธุรกิจเหล็กกล้า(Stainless steel)[3] ในช่วงแรกครอบครัวเบคอนอาศัยอยู่ในประเทศไอร์แลนด์ แล้วก็ย้ายกลับมายังลอนดอนในช่วงสงครามโลกครั้งที่1 เพราะเอ็ดวาร์ดผู้เป็นพ่อต้องเข้าร่วมรบกับกองทัพ หลังจบสงครามพวกเขาก็ย้ายกลับมายังประเทศไอร์แลนด์อีกในปีค.ศ.1916 จากนั้นก็มีการโยกย้ายไปมาหลายเมือง ช่วงปี 1924-1926 ฟรานซิส เบคอนมีประสบการณ์ในการศึกษาอย่างยาวนานที่ The Dean close school ในเมืองเชลต์นัม(Cheltenham) ประเทศอังกฤษ การใช้ชีวิตในบ้านเต็มไปด้วยความเย็นชา พ่อเป็นคนหัวรุนแรง แม่เป็นคนชอบเข้าสังคมซึ่งมักจะหมกมุ่นอยู่กับตัวเอง[4] และในวัยเด็กเบคอนเป็นโรคหอบหืดเรื้อรัง ทำให้มีผลต่อการศึกษาซึ่งเขาจะต้องเรียนหนังสืออยู่ที่บ้าน[5] ภายในบ้านเบคอนมีความสนิทสนมกับพี่เลี้ยงคือ เจสซี่ ไลท์ฟุท(Jessie Lightfoot)มากที่สุด ซึ่งต่อมาทั้งสองก็จะเดินทางไปยังลอนดอนด้วยกัน[6]

ความสัมพันธ์ในครอบครัวของเบคอนย่ำแย่ลง เนื่องจากฟรานซิส เบคอนเป็นพวกรักร่วมเพศ(homosexual) เขาจึงถูกไล่ออกจากบ้านในปี1926 ตอนอายุ 16ปี หลังจากที่พ่อจับได้ว่าเขากำลังลองสวมชุดของแม่[7] เขาเดินทางไปยังลอนดอน และหลังจากนั้นก็ได้เดินทางไปยังกรุงเบอร์ลิน ประเทศเยอรมนี โดยเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งในสถานที่ยามค่ำคืนของกลุ่มคนรักเพศเดียวกัน ซึ่งได้พิสูจน์สภาวะทางจิตใจของเขาว่าเป็นเช่นนั้นจริง จากนั้นก็ได้เดินทางไปยังกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ซึ่งเป็นสถานที่ที่ทำให้ฟรานซิส เบคอนเริ่มสนใจการเข้าชมแกลอรี่ศิลปะ[8] เมื่อเขากลับมายังลอนดอนในปี1920 ก็เริ่มทำงานการออกแบบตกแต่งภายใน ทั้งออกแบบเฟอร์นิเจอร์และพรม ซึ่งหนึ่งในลูกค้าของเขาคือรอย เดอ ไมสทีย์ (Roy de Maistre) ศิลปินคนหนึ่งซึ่งต่อมาได้กลายมาเป็นที่ปรึกษา และได้สนับสนุนให้เบคอนวาดภาพสีน้ำมัน[9] โดยเบคอนเริ่มวาดภาพผลงานชิ้นแรกของเขา Crucifixion1933 ซึ่งได้รับแรงบันดาลใจจากปาโบล ปีกัสโซ(Pablo Picasso)ในแนวคิวบิสม์(Cubism) ซึ่งจะกลายเป็นต้นแบบให้กับงานของเขาในยุคหลังด้วย โดยภาพนี้ถูกตีพิมพ์พร้อมกันลงในหนังสือของเฮอร์เบิร์ต รี้ด(Herbert Read) และอาร์ท นาว(Art Now) และผลงานของเขาก็ถูกซื้อไปอย่างรวดเร็วโดยไมเคิล แซดเลอ(Michael Sadler) จากความสำเร็จของเขา ในปีต่อมาเบคอนก็จัดนิทรรศการของตัวเองขึ้น แต่ไม่ได้รับผลตอบรับเท่าที่ควร ต่อมาในภายหลังเขาเริ่มทำงานในแนวลัทธิเหนือจริง(Surrealism) และเฮอร์เบิร์ต รี้ดก็ได้ส่งภาพวาดของเขาเข้าร่วมในนิทรรศการ The International Surrealist Exhibition อีกด้วย แต่ได้รับการปฏิเสธว่าผลงานของเบคอนยังมีความเป็นSurrealismไม่พอ เบคอนจึงกลับไปใช้ชีวิตพเนจรและทำงานวาดภาพอยู่บ้างในช่วงปี1936-1944[10] และในปี1937 ได้เข้าร่วมกลุ่มจัดแสดงนิทรรศการภายใต้ชื่อYoung British Painters อีกด้วย[11]

ช่วงการสร้างสรรค์ผลงานจิตรกรรมในปี 1940 และ 1950[แก้]

ก่อนที่จะเกิดรูปแบบงานที่เป็นเอกลัษณ์ของตนเอง ฟรานซิส เบคอน ได้พัฒนาจากรูปแบบในลัทธิเหนือจริง(surrealism) ไปสู่รูปแบบลัทธิการแสดงพลังอารมณ์(expressionism) โดยหยิบยืมการเคลื่อนไหวของบุคคลจากภาพยนตร์และภาพถ่าย เขาเรียนรู้ลักษณะท่าทางของมนุษย์จากภาพถ่าย โดยเฉพาะจากช่างภาพที่ชื่อEdweard Muybridge จึงไม่เป็นเพียงการที่เบคอนริเริ่มพบวิธีการเคลื่อนไหวในภาพวาด แต่เป็นการนำภาพวาดและภาพถ่ายมาใช้อย่างสอดคล้องกัน[12]

ฟรานซิส เบคอนประสบความสำเร็จและเข้าสู่การเป็นจิตรกรเต็มตัวในปี1944 โดยเป็นช่วงเวลาที่เบคอนได้อุทิศตนเพื่อการวาดภาพและสร้างสรรค์ผลงาน ผลงานเหล่านี้คือ ภาพวาดบุคคลขนาดใหญ่บนผืนผ้าใบ(canvas) โดยส่วมมากมักจะเป็นรูปบุคคลเพียงคนเดียว อยู่ในห้องที่ว่างเปล่า ในกรงหรืออยู่กับพื้นหลังสีดำ[13] และเป็นช่วงที่ เกรเฮม ซูเธอร์(Gram Sutherland) เพื่อนที่ร่วมจัดแสดงงานศิลปะได้แนะนำให้เขารู้จักกับผู้อำนวยการของHanover Gallery ซึ่งเป็นสถานที่ที่เขาได้จัดแสดงนิทรรศการเดี่ยวเป็นครั้งแรกในปี1949 การจัดแสดงในครั้งนี้เบคอนได้วาดภาพภายใต้ชื่อชุด Heads ซึ่งเป็นงานที่มีนัยยะสำคัญสื่อถึงผลงาน 2แบบของเบคอน ได้แก่ แบบแรกคือ The scream ที่รับมาจากภาพยนตร์เรื่องBattleship Potemkin ของเซอร์ไก ไอเซนสไตน์(Sergei Eisenstein)ซึ่งแสดงฉากกรีดร้องของครูที่ได้รับบาดเจ็บ[14] แบบที่สองคือ ภาพวาดที่ได้รับแรงบันดาลใจจากภาพวาด Pope Innocent X (portrait of Pope Innocent X ปี1650) ผลงานของ Diego Velázquez ซึ่งเบคอนไม่ได้เห็นภาพจริงเห็นเพียงสำเนาของภาพนี้เท่านั้น[15] แต่เบคอนก็สร้างสรรค์ผลงานตามสไตล์ของตนเอง โดยการใช้สีโทนมืด ใช้ฝีแปรงแบบหยาบๆ และวาดใบหน้าของบุคคลที่นั่งอยู่ให้บิดเบือน ซึ่งผลงานเหล่านี้ของเบคอนกลายมาเป็นที่รู้จักว่าเป็น ภาพวาดพระสันตะปาปากรีดร้อง(screaming pope)[16] ในปี1953 Hanoverนำผลงานของเบคอนมาจัดแสดงรวมไปถึงภาพ Two Figure ซึ่งเป็นภาพผู้ชาย 2คนนอนกอดกันบนเตียง ทำให้กลายเป็นที่อื้อฉาวเป็นอย่างมาก

นอกจากนี้ช่วงปี1940-1950 ยังมีผลงานอื่นๆ อีก เช่น ภาพวาดบุคคลที่ยืนอยู่ข้างซากสัตว์ที่ถูกถลกเนื้อหนัง และภาพวาดอื่นๆ ที่ได้รับแรงบันดาลใจจากอิทธิพลในเรื่องขนบธรรมเนียมประเพณีทางศาสนาเช่น ภาพการตรึงกางเขนของพระเยซู ภาพวาดผลงานของเบคอนทุกภาพจะเน้นย้ำประสบการณ์ความทุกทรมานและความแปลกแยกทั่วทั้งโลกที่เขาได้ประสบพบเจอมา[17]

ช่วงการสร้างสรรค์ผลงานจิตรกรรมหลังปี1960 และช่วงสุดท้ายของชีวิต[แก้]

ในช่วงระยะเวลาการสร้างสรรค์ศิลปะสมัยใหม่ของเบคอน ภายใต้ลัทธินามธรรม(abstraction) เบคอนยังคงวาดภาพเกี่ยวกับร่างกายและใบหน้าของบุคคล การแสดงอารมณ์ผ่านพู่กันและสี เช่นเดียวกันกับรูปแบบลักษณะที่เกินจริงของเบคอน ทำให้เขาได้รับการขนานนามว่าเป็นจิตรกรในลัทธิสำแดงพลังอารมณ์ หรือแสดงพลังอารมณ์(expressionism)[18]

ผลงานบางส่วนของเบคอนในช่วงปี1960 วาดภาพผู้ชายที่สวมชุดสูทคล้ายชุดทำงานของนักธุรกิจอยู่เพียงผู้เดียวในภาพ ส่วนภาพอื่นๆ ที่แสดงลักษณะเปลือยกายก็มักจะถูกปรับเปลี่ยนลักษณะและสัดส่วนให้ดูพิลึกกึกกือ เบคอนมักจะวาดภาพบุคคลที่เขารู้จักอยู่บ่อยครั้ง ทั้งลูเซียน เฟรด(Lucian Freud) และจอร์จ ไดย์(George Dyer) เพื่อนสนิทของเขาโดยใช้สีสันที่สดใส[19] และในช่วงนี้เขาก็หันมาวาดภาพตัวเอง(self-portrait)มากขึ้น โดยอ้างว่า “ผู้คนรอบๆ ตัวเขาเหมือนแมลงวันที่กำลังจะตาย ไม่เห็นมีอะไรที่น่าจะนำมาสร้างสรรค์เป็นผลงานเลย” และยังคงสร้างสรรค์ผลงานเรื่อยมา โดยเบคอนได้วาดภาพหนึ่งเพื่อเป็นความทรงจำถึงจอร์จ ไดย์(George Dyer) ซึ่งภาพทั้งหลายเหล่านี้อยู่ในรูปแบบสามตอน(Triptych) ขนาดใหญ่ทั้งผลงานชุดBlack triptych ที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นผลงานที่ดี โดยเล่ารายละเอียดที่ผ่านมาของจอร์จ ไดย์(George Dyer)ด้วย[20] แต่อย่างไรก็ตามลักษณะแนวคิดหลักในการสร้างสรรค์ผลงานของเบคอนก็คือ ความรุนแรงและความตาย[21]

ช่วงกลางปี1970 เบคอนได้พบกับจอห์น เอ็ดเวิร์ด(John Edwards) ซึ่งเข้ามาแทนที่ไดย์กับดีกิน โดยเป็นช่างภาพและเพื่อนสนิทกับเบคอน ปี1973 เบคอนกลายเป็นจิตรกรศิลปะร่วมสมัยชาวอังกฤษคนแรกที่ได้จัดแสดงนิทรรศการขนาดใหญ่ที่ the Metropolitan Museum of Art ในนิวยอร์ค ซึ่งผลงานของเขาได้รับการจัดแสดงในระดับนานาชาติมาตลอดในช่วงปีสุดท้ายของชีวิต รวมไปถึงการจัดนิทรรศการรำลึกถึงเบคอนที่the Hirshhorn Gallery และ the Tate Galleryด้วย[22] และฟรานซิส เบคอนยังคงเก็บรักษาบ้านและสตูดิโอรกอันฉาวโฉ่ในกรุงลอนดอนไว้ และเขาก็ยังสร้างสรรค์ผลงานของตนเองเรื่อยมาจนกระทั่งถึงบั่นปลายของชีวิต ฟรานซิส เบคอนได้เสียชีวิต ในวันที่ 28 เมษายน ปี1992 ที่เมืองมาดริด ประเทศสเปน ด้วยอายุ 82ปี[23]

เชิงอรรถ[แก้]

  1. Francis Bacon: Biography, [ออนไลน์], เข้าถึงเมื่อ 13 พฤศจิกายน 2557, แหล่งที่มาhttp://www.biography.com/people/francis-bacon-21415553#synopsis
  2. Francis Bacon, [ออนไลน์], เข้าถึงเมื่อ 14 พฤศจิกายน 2557, แหล่งที่มา http://www.theartstory.org/artist-bacon-francis.htm
  3. The official site of The Estate of Francis Bacon, Biography 1909-1926, [ออนไลน์], เข้าถึงเมื่อ 13 พฤศจิกายน 2557, แหล่งที่มา http://www.francis-bacon.com/biography/?c=1909-26
  4. เว็บไซต์เดียวกัน
  5. Francis Bacon Biography, [ออนไลน์], เข้าถึงเมื่อ 13 พฤศจิกายน 2557, แหล่งที่มา http://www.biography.com/people/francis-bacon-21415553#synopsis
  6. Francis Bacon, [ออนไลน์], เข้าถึงเมื่อ 14 พฤศจิกายน 2557, แหล่งที่มา http://www.theartstory.org/artist-bacon-francis.htm
  7. เว็บไซต์เดียวกัน
  8. Francis Bacon Biography, [ออนไลน์], เข้าถึงเมื่อ 13 พฤศจิกายน 2557, แหล่งที่มา http://www.biography.com/people/francis-bacon-21415553#synopsis
  9. Francis Bacon, [ออนไลน์], เข้าถึงเมื่อ 14 พฤศจิกายน 2557, แหล่งที่มา http://www.theartstory.org/artist-bacon-francis.htm
  10. เว็บไซต์เดียวกัน
  11. Francis Bacon Biography, [ออนไลน์], เข้าถึงเมื่อ 13 พฤศจิกายน 2557, แหล่งที่มา http://www.biography.com/people/francis-bacon-21415553#synopsis
  12. Francis Bacon, [ออนไลน์], เข้าถึงเมื่อ 14 พฤศจิกายน 2557, แหล่งที่มา http://www.theartstory.org/artist-bacon-francis.htm
  13. Francis Bacon Biography, [ออนไลน์], เข้าถึงเมื่อ 13 พฤศจิกายน 2557, แหล่งที่มา http://www.biography.com/people/francis-bacon-21415553#synopsis
  14. เว็บไซต์เดียวกัน
  15. Francis Bacon, [ออนไลน์], เข้าถึงเมื่อ 14 พฤศจิกายน 2557, แหล่งที่มา http://www.theartstory.org/artist-bacon-francis.htm
  16. Francis Bacon Biography, [ออนไลน์], เข้าถึงเมื่อ 14 พฤศจิกายน 2557, แหล่งที่มา http://www.biography.com/people/francis-bacon-21415553#synopsis
  17. เว็บไซต์เดียวกัน
  18. Francis Bacon Biography, [ออนไลน์], เข้าถึงเมื่อ 14 พฤศจิกายน 2557, แหล่งที่มา http://www.biography.com/people/francis-bacon-21415553#synopsis
  19. เว็บไซต์เดียวกัน
  20. Francis Bacon, [ออนไลน์], เข้าถึงเมื่อ 14 พฤศจิกายน 2557, แหล่งที่มา http://www.theartstory.org/artist-bacon-francis.htm
  21. Francis Bacon Biography, [ออนไลน์], เข้าถึงเมื่อ 14 พฤศจิกายน 2557, แหล่งที่มา http://www.biography.com/people/francis-bacon-21415553#synopsis
  22. Francis Bacon, [ออนไลน์], เข้าถึงเมื่อ 14 พฤศจิกายน 2557, แหล่งที่มา http://www.theartstory.org/artist-bacon-francis.htm
  23. เว็บไซต์เดียวกัน

อ้างอิง[แก้]

แมมมอธ. Francis Bacon Biography. เข้าถึงเมื่อ 14 พฤศจิกายน 2557, เข้าถึงได้จาก http://www.biography.com/people/francis-bacon-21415553#synopsis
Francis Bacon. เข้าถึงเมื่อ 14 พฤศจิกายน 2557, เข้าถึงได้จาก http://www.theartstory.org/artist-bacon-francis.htm
James Hyman Gallery. Francis Bacon. เข้าถึงเมื่อ 15 พฤศจิกายน 2557, เข้าถึงได้จาก http://www.jameshymangallery.com/artists/79/biography/francis-bacon
Michel leiris. Francis Bacon: Chronology. (New York: Rizzoli), 1988. Page20 ISBN 08847809048.
The official site of The Estate of Francis Bacon. Francis Bacon, เข้าถึงเมื่อ 13 พฤศจิกายน 2557, เข้าถึงได้จาก http://www.francis-bacon.com