ผู้ใช้:Anongporn Poksup/กระบะทราย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

การแบ่งอำนาจ(Deconcentration)

ตัวอักษรหัวเรื่อง[แก้]

ทุกๆประเทศนั้นจะต้องมีการจัดระเบียบการปกครอง ในเรื่องการบริหารระหว่างรัฐกับประชาชน เพื่อที่จะสามารถให้ความสะดวกและเกิดความสงบให้กับประชาชน[1] จึงต้องมีกฎหมายที่วางระเบียบการบริหารภายในประเทศ หรือการจัดการบริหารราชการแผ่นดิน ถ้าเป็นประเทศที่มีรูปแบบของรัฐรวม จะใช้หลักสำคัญ2หลัก คือ หลักการรวมอำนาจปกครอง และหลักการกระจายอำนาจปกครอง สำหรับรูปแบบรัฐเดี่ยวที่ประเทศไทย ญี่ปุ่นและฝรั่งเศส ฯลฯ จะใช้หลักที่สำคัญอยู่ 3 หลักการ คือ

  1. หลักการรวมอำนาจ (Centralzation)
  2. หลักการแบ่งอำนาจ (Deconcentration)
  3. หลักการกระจายอำนาจ (Decentralization) [2]

ในบทความนี้กล่าวถึง หลักการแบ่งอำนาจ(Deconcentration) เนื่องจากการที่รวมเอาอำนาจไว้ในส่วนกลางทั้งหมดเพียงส่วนเดียวนั้น ทำให้เกิดข้อเสียหลายเรื่อง เช่น ทำให้การทำงานเกิดความล่าช้าเพราะด้วยระเบียบแบบแผนที่มีหลายขั้นตอน ต้องทำตามลำดับขั้นการบัญชา หรือในเรื่องของการที่ไม่สามารถที่จะตอบสนองความต้องการของประชาชนได้อย่างรวดเร็วและทั่วถึง ไม่สามารถตอบสนองประชาชนได้อย่างแท้จริง จึงต้องมีการขยายหลักการรวมอำนาจโดยการ "แบ่งอำนาจปกครอง" [3]

การแบ่งอำนาจปกครอง[แก้]

หรือ Deconcentration หมายถึง การที่รัฐบาลได้มอบอำนาจหน้าที่ให้กับข้าราชการในส่วนภูมิภาค เพื่อที่จะให้ข้าราชการส่วนภูมิภาคนั้นสามารถที่จะมีอำนาจหน้าที่ และความรับผิดชอบตามเขตพื้นที่ที่ได้รับทั้งในเรื่องการใช้ดุลพินิจ การตัดสินใจ การแก้ไขปัญหาได้ด้วยตนเอง สำหรับการปกครองส่วนภูมิภาคของไทยนั้นมีโครงสร้างในรูปของ จังหวัด อำเภอ ตำบล และหมู่บ้าน ซึ่งเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานนั้นได้รับการแต่งตั้งมาจากส่วนกลางรูปแบบของตัวแทน ในการปฏิบัติหน้าที่ คือ ผู้ว่าราชการจังหวัด รองผู้ว่าราชการจังหวัด ปลัดจังหวัด นายอำเภอ ปลัดอำเภอ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน เป็นต้น ซึ่งอยู่ในสังกัดกระทรวงมหาดไทย เจ้าหน้าที่นั้นจะต้องเชื่อฟังคำสั่งจากรัฐบาลกลางอยู่เสมอ ทำให้การไม่อาจที่จะให้บริการประชาชนได้ได้อย่างสมบูรณ์ เนื่องจากจะต้องผูกมัดกับคำสั่งและนโยบายของส่วนกลางมากกว่าความต้องการของประชาชนอย่างแท้จริง การปฏิบัติงานนั้นจะต้องอยู่ภายในขอบเขตที่รัฐบาลกำหนด และจะต้องได้รับความเห็นชอบจากผู้บังคับบัญชา และต้องมีการรายงานผลการปฏิบัติหน้าที่ให้กับผู้บังคับบัญชาที่อยู่เหนือกว่าเสมอ[4] หลักการที่ใช้ในการแบ่งอำนาจคือ หลักการที่ใช้ในการบริหารราชการส่วนภูมิภาค เป็นการแบ่งอำนาจหน้าที่ไปให้ เป็นกลไกที่สำคัญไปสู่นโยบายการเปลี่ยนแปลงตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2543 มาตรา 51 ได้บัญญัติระเบียบการบริหารไว้สองรูปแบบ คือ จังหวัด ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้บังคับบัญชาซึ่งปฏิบัติหน้าที่ในราชการส่วนภูมิภาคใขเขตจังหวัด รับผิดชอบในเขตจังหวัดและอำเภอที่อยู่ภายในจังหวัดนั้น ทำหน้าที่เป็นผู้รับนโยบายหรือคำสั่งมาปฏิบัติให้เหมาะสมกับจังหวัดและอำเภอให้เหมาะสม และอำเภอใช้อํานาจและหน้าที่แบบเดียวกับจังหวัด มีประสานงานกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อร่วมมือในแผนการพัฒนาชุมชน [5]

ลักษณะสำคัญของการแบ่งอำนาจ[แก้]

การแบ่งอำนาจการปกครองไปให้กับส่วนภูมิภาคนั้นไม่ใช่การกระจายอำนาจเนื่องจาก การแบ่งอำนาจปกครองเป็นระบบการบริหารส่วนภูมิภาค เป็นการปกครองรูปแบบหนึ่งของไทย ลักษณะของการแบ่งอำนาจดังกล่าวจะมีลักษณะสำคํญ ได้แก่

  1. การบริหารโดยใช้เจ้าหน้าที่ที่ได้รับการแต่งตั้งไปจากส่วนกลาง เช่น ผู้ว่าราชการจังหวัด ศึกษาธิการจังหวัด คลังจังหวัด เป็นต้น
  2. บริหารโดยใช้งบประมาณที่ส่วนกลางเป็นผู้จัดสรร อนุมัติ และควบคุมให้เป็นไปตามวิธีการบริหารราชการแผ่นดิน
  3. บริหารภายใต้นโยบายและวัตถุประสงค์ของรัฐบาลกลาง คือ การบริหารตามคำสั่งหรือนโยบายที่ถูกกำหนดมาจากรัฐบาลกลาง
  4. บริหารงานโดยเจ้าหน้าที่ที่ได้รับการแต่งตั้งจากส่วนกลาง ได้รับมอบอำนาจที่จะสามารถวินิจฉัยสั่งการได้ตามอำนาจหน้าที่ที่ได้รับ เพื่อให้เกิดความสะดวกและมีความต่อเนื่องในการบริหาร

จุดแข็งและจุดอ่อนของหลักการแบ่งอำนาจปกครอง[แก้]

[6] 

จุดแข็งหรือข้อดีของหลักการแบ่งอำนาจปกครอง[แก้]

  1. เป็นก้าวแรกที่จะนำไปสู่การกระจายอำนาจปกครอง คือเมื่อได้มอบอำนาจ การวินิจฉัยสั่งการให้แก่ผู้แทนราชการส่วนภูมิภาคมากขึ้น ก็คือ ได้มอบอำนาจ กิจการ หรืองานของส่วนกลางให้กับส่วนภูมิภาคได้จัดการได้บางส่วน
  2. ทำให้การปฏิบัติงานราชการตามเขตการปกครองสำเร็จลุล่วงไปรวดเร็วยิ่งขึ้น เนื่องจากเจ้าหน้าที่นั้นมีอำนาจวินิจฉัยกิจการของพื้นที่ส่วนนั้นได้โดยไม่ต้องเสนอขอคำสั่งจากส่วนกลางทุกเรื่องไป การที่ราษฎรมาติดต่อในส่วนของภูมิภาค ส่วนท้องถิ่นก็จะมีความสะดวกรวดเร็วอีกด้วย
  3. ทำให้การติดต่อกันระหว่างส่วนกลางกับส่วนท้องถิ่นดีขึ้น เนื่องจากมีเจ้าหน้าที่จากส่วนกลางมาประจำอยู่ในองค์กร ต้องมีการประสานงานกัน
  4. เป็นข้อดีมากสำหรับประเทศที่ราษฎรยังไม่ค่อยมีความสำนึกที่จะปกครองตนเอง การที่จะมอบอำนาจให้กับประชาชนจะเกิดผดเสียมากกว่าผลดี เพราะการจะมอบอำนาจให้ประชาชนนั้น ประชาชนจะต้องมีความพร้อม มีความรู้ความสามารถที่เพียงพอ

ข้อเสียหรือจุดอ่อนของการแบ่งอำนาจปกครอง[แก้]

  1. การที่ส่งเจ้าหน้าที่จากส่วนกลางมานั้นแสดงให้เห็นว่าส่วนกลางไม่มีความเชื่อมั่นในความสามารถของส่วนภูมิภาคและส่วนท้องถิ่น ว่าจะสามารถปกครองตนเองได้ ถือว่าเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนามาก
  2. การที่ส่วนกลางมอบอำนาจหน้าที่ให้เจ้าหน้าที่ของส่วนภูมิภาคน้อยไปจะทำให้เกิดความล่าช้า เพราะจะเสียเวลาในเรื่องการดำเนินการ และเป็นการขยายระบบราชการทำให้สิ้นเปลืองงบประมาณมาก
  3. บางครั้งอาจมองอำนาจไม่เป็นธรรมกับท้องถิ่น ในเรื่องของทรัพยากรการบริหารที่ควรจะเป็นคนในท้องที่ [7]

การมอบหรือแบ่งอำนาจนั้นก็เพื่อต้องการให้การบริการของรัฐบาลต่อประชาชนนั้น มีความสะดวก รวดเร็ว มีประสิทธิภาพ และให้ตรงกับความต้องการของประชาชนให้ได้มากที่สุด [8] หลักการแบ่งอำนาจนับเป็นส่วนหนึ่งของของหลักการการรวมอำนาจ เพราะรัฐบาลกลางไม่จำเป็นที่จะต้องสงวนหรือดำเนินงานทั้งหมดเพียงฝ่ายเดียว อาจมอบให้ตัวแทนไปดำเนินการแทน ฉะนั้นการแบ่งอำนาจเป็นการช่วยเพิ่มอำนาจให้กับเจ้าหน้าที่ที่ดำเนินงานของส่วนกลางตามภูมิภาคต่างๆ ซึ่งการแบ่งอำนาจนี้จะช่วยแบ่งเบาภาระหน้าที่ของกระทรวง ทบวง กรม ให้น้อยลง และเพิ่มบทบาทการทำงานให้กับหน่วยงานส่วนภูมิภาค และส่วนท้องถิ่นได้มีส่วนร่วม เป็นการทำงานที่ไม่มีส่วนได้เสียของประเทศ และระเบียบแบบแผนที่ใช้นั้นส่วนการจะต้องมีการวางระเบียบแบบแผนที่เอาไว้ให้ปฏิบัติในแนวเดียวกัน และสงวนอำนาจสั่งการขั้นสุดท้านเอาไว้เพื่อให้วิธีการปฏิบัติไปในแนวเดียวกัน [9]

ทั้งนี้ยังมีในเรื่องของ

ทฤษฎีการแบ่งแยกอำนาจ ( Separation of Powers)[แก้]

ผู้คิดค้นแนวคิดนี้ คือ Montesquieu โดยได้ตีพิมพ์ในรูปแบบของหนังสือชื่อว่า The spirit of law. หรือเจตนารมณ์แห่งกฎหมาย มองเตสกิเออได้ชื่อว่าเป็นผู้วางหลักการแบ่งอำนาจปกครอง และได้กล่าวไว้ในตอนหนึ่งว่า

  1. อำนาจนิติบัญญัติ คืออำนาจว่าด้วยเรื่องของการวางระเบียบข้อบังคับทั่วไปในรัฐ
  2. อำนาจบริหาร คือ อำนาจในการใช้และบังคับให้เป็นไปตามกฎหมาย
  3. อำนาจตุลาการ คือ อำนาจในการพิจารณาวินิจฉัยคดี

มองเตสกิเออ ได้ย้ำว่า อำนาจนิติบัญญัติและอำนาจบริหารไม่สามารถที่จะรวมอยู่ที่เดียวได้ เมื่อใดที่อำนาจทั้งสองอยู่รวมกัน อิสรภาพจะไม่สามารถเกิดได้ ถ้าอำนาจตุลาการไม่แยกออกจากอำนาจนิติบัญญัติและอำนาจบริหาร อาจจะทำให้อำนาจตุลาการประพฤติด้วยวิธีที่ผิด และก็อย่างก็จะจบลงไป [10]

  1. บุญเกียรติ การะเวกพันธุ์. หลักการแบ่งอำนาจ. กรุงเทพมหานคร. www.bit.ly/2pShIHI, 31มีนาคม2560
  2. เชาวน์วัศ เสนพงศ์. 2546. การเมืองส่วนท้องถิ่นในประเทศไทย. กรุงเทพมหานคร:สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง
  3. ประทาน คงฤทธิ์ศึกษา. 2526. การปกครองท้องถิ่น. กรุงเทพฯ:สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์
  4. กระมล ทองธรรมชาติ และ ไพบูลย์ ช่างเรียน. การปกครองท้องถิ่นของไทย. กรุงเทพฯ:อักษรเจริญทัศน์ จำกัด
  5. บุญเกียรติ การะเวกพันธุ์. หลักการแบ่งอำนาจ. กรุงเทพมหานคร. www.bit.ly/2pShIHI, 31มีนาคม2560
  6. ประทาน คงฤทธิ์ศึกษา. 2526. การปกครองท้องถิ่น. กรุงเทพฯ:สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์
  7. เชาวน์วัศ เสนพงศ์. 2546. การเมืองส่วนท้องถิ่นในประเทศไทย. กรุงเทพมหานคร:สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง
  8. กระมล ทองธรรมชาติ และ ไพบูลย์ ช่างเรียน. การปกครองท้องถิ่นของไทย. กรุงเทพฯ:อักษรเจริญทัศน์ จำกัด
  9. วิทยา นภาศิริกุลกิจ. 2522. การเมืองส่วนท้องถิ่นในประเทศไทย. กรุงเทพมหานคร
  10. บิสกิตโรล. 2550. ทฤษฎีการแบ่งแยกอำนาจ. กรุงเทพมหานคร. www.bit.ly/2p9zqbP, 18มีนาคม2560