ผู้ใช้:อาลมดี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

พระอภิธรรม[แก้]

พระอภิธรรม เป็นธรรมะชั้นสูงที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับปรมัตถธรรม ๔ ประการ อันได้แก่ จิต เจตสิก รูป และนิพพาน พระอภิธรรมเปรียบเสมือนแก่นแท้ของพระพุทธศาสนา มีเนื้อหาสุขุมล้ำลึกอันนำไปสู่ความรู้ความเข้าใจในเรื่องธรรมชาติของชีวิต เรื่องของกรรมและการส่งผลของกรรม เรื่องภพภูมิต่างๆ เรื่องของการเวียนว่ายตายเกิดและเรื่องของการปฏิบัติเพื่อให้พ้นจากการเวียนว่ายตายเกิดซึ่งเป็นจุดหมายอันสูงสุดในพระพุทธศาสนา

ประวัติพระอภิธรรม

ในสัปดาห์ที่ ๔ หลังจากที่พระพุทธองค์ได้ตรัสรู้แล้ว พระองค์ทรงพิจารณารายละเอียดเกี่ยวกับพระอภิธรรมซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับปรมัตถธรรม (จิต เจตสิก รูป นิพพาน) อันเป็นแก่นของธรรมะในพระพุทธศาสนาอยู่ตลอด ๗ วัน ในขณะที่ทรงพิจารณาเรื่องของเหตุ เรื่องของปัจจัยในปรมัตถธรรมอันเป็นที่มาของคัมภีร์ปัฏฐานอยู่นั้น ก็ปรากฏฉัพพรรณรังสี (รัศมี ๖ ประการ) มีสีเขียว สีเหลือง สีแดง สีขาว สีม่วง และสีเลื่อมพราย เหมือนแก้วผลึก แผ่ออกจากพระวรกายอย่างน่าอัศจรรย์

ในช่วง ๖ พรรษาแรกของการประกาศศาสนา พระพุทธองค์ยังมิได้ทรงตรัสสอนพระอภิธรรมแก่ผู้ใด เพราะพระอภิธรรมเป็นธรรมะที่เกี่ยวข้อง กับปรมัตถธรรมล้วนๆ ยากแก่การที่จะอธิบายให้เข้าใจได้โดยง่าย บุคคลที่จะรับอรรถรสของพระอภิธรรมได้นั้นต้องเป็นบุคคลที่ประกอบด้วยศรัทธาอันมั่นคงและได้เคยสั่งสมบารมีอันเกี่ยวกับปัญญาในเรื่องนี้มาบ้างแล้วแต่กาลก่อน แต่ในช่วงต้นของการประกาศศาสนานั้นคนส่วนใหญ่ยังมีศรัทธาและมีความเชื่อในพระพุทธศาสนาน้อย ยังไม่พร้อมที่จะรับคาสอนเกี่ยวกับปรมัตถธรรมซึ่งเป็นธรรมะอันลึกซึ้งได้ พระองค์จึงยังไม่ทรงแสดงให้ทราบเพราะถ้าทรงแสดงไปแล้วความสงสัยไม่เข้าใจหรือความไม่เชื่อย่อมจะเกิดแก่ชนเหล่านั้น เมื่อมีความสงสัยไม่เข้าใจหรือไม่เชื่อแล้ว ก็จะเป็นเหตุให้เกิดการดูหมิ่นดูแคลนต่อพระอภิธรรมได้ ซึ่งจะเป็นผลร้ายมากกว่าผลดี

ล่วงมาถึงพรรษาที่ ๗ พระพุทธองค์จึงได้ทรงแสดงพระอภิธรรมเป็นครั้งแรก โดยเสด็จขึ้นไปจำพรรษาบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์เพื่อทดแทนคุณของพระมารดาด้วยการแสดงพระอภิธรรมเทศนาโปรดพุทธมารดา ซึ่งได้สิ้นพระชนม์ไปตั้งแต่ประสูติพระองค์ได้ ๗ วันและได้อุบัติเป็นเทพบุตรอยู่บนสวรรค์ชั้นดุสิตมีพระนามว่า สันดุสิตเทพบุตร ในการแสดงธรรมครั้งนี้ได้มีเทวดาและพรหมจากหมื่นจักรวาลจำนวนหลายแสนโกฏิ มาร่วมฟังธรรมด้วย โดยมีสันดุสิตเทพบุตรเป็นประธาน ณ ที่นั้น พระพุทธองค์ทรงแสดงพระอภิธรรม แก่เหล่าเทวดาและพรหมด้วย วิตถารนัย คือ แสดงโดยละเอียดพิสดารตลอดพรรษากาล คือ ๓ เดือนเต็ม

สาหรับในโลกมนุษย์นั้น พระองค์ได้ทรงแสดงแก่พระสารีบุตรเป็นองค์แรก คือในระหว่างที่ทรงแสดงธรรมอยู่บนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์นั้นพอได้เวลาบิณฑบาต พระองค์ก็ทรงเนรมิตพุทธนิมิตขึ้นแสดงธรรมแทนพระองค์แล้วพระองค์ก็เสด็จไปบิณฑบาตในหมู่ชนชาวอุตตรกุรุ เมื่อบิณฑบาตเสร็จแล้วก็เสด็จไปยังป่าไม้จันทน์ซึ่งอยู่ในบริเวณป่าหิมวันต์ใกล้กับสระอโนดาตเพื่อเสวยพระกระยาหาร โดยมีพระสารีบุตรเถระมาเฝ้าทุกวัน หลังจากที่ทรงเสวยแล้วก็ทรงสรุปเนื้อหาของพระอภิธรรมที่พระองค์ได้ทรงแสดงแก่เหล่าเทวดาและพรหมให้พระสารีบุตรฟังวันต่อวัน (พระพุทธองค์ทรงแสดงแก่พระสารีบุตรด้วย สังเขปนัย คือ แสดงอย่างย่นย่อ) เสร็จแล้วพระองค์จึงเสด็จกลับขึ้นสู่ดาวดึงส์เทวโลกเพื่อแสดงธรรมต่อไป ทรงกระทำเช่นนี้ทุกวันตลอด ๓ เดือน เมื่อการแสดงพระอภิธรรมบนเทวโลกจบสมบูรณ์แล้วการแสดงพระอภิธรรมแก่พระสารีบุตรก็จบสมบูรณ์ด้วยเช่นกัน เมื่อจบพระอภิธรรมเทศนาเทวดาและพรหม ๘๐๐,๐๐๐ โกฏิได้บรรลุธรรม และสันดุสิตเทพบุตร(พุทธมารดา)ได้สาเร็จเป็นพระโสดาบันบุคคล

เมื่อพระสารีบุตรได้ฟังพระอภิธรรมจากพระบรมศาสดาแล้ว ก็นำมาสอนให้แก่ภิกษุ ๕๐๐ รูป ซึ่งเป็นศิษย์ของท่านโดยสอนตามพระพุทธองค์วันต่อวันและจบบริบูรณ์ในเวลา ๓ เดือนเช่นกัน การสอนพระอภิธรรมของพระสารีบุตรที่สอนแก่ภิกษุ ๕๐๐ รูปนี้เป็นการสอนชนิดไม่ย่อเกินไป ไม่พิสดารเกินไป เรียกว่านาติวิตถารนาติสังเขปนัย

ภิกษุทั้ง ๕๐๐ รูปนี้ เคยมีอุปนิสัยมาแล้วในชาติก่อน คือในสมัย ศาสนาของพระกัสสปสัมมาสัมพุทธเจ้า ภิกษุทั้ง ๕๐๐ รูปนี้เป็นค้างคาว อาศัยอยู่ในถ้ำแห่งหนึ่ง ขณะนั้นมีภิกษุผู้ทรงพระอภิธรรม ๒ รูปที่อาศัยอยู่ในถ้ำนั้นเช่นกันกำลังสวดสาธยายพระอภิธรรมอยู่ เมื่อค้างคาวทั้ง ๕๐๐ ตัวได้ยินเสียงพระสวดสาธยายพระอภิธรรมก็รู้เพียงว่าเป็นพระธรรมเท่านั้นหาได้รู้ความหมายใดๆไม่ แต่ก็พากันตั้งใจฟังตั้งแต่ต้นจนจบ เมื่อสิ้นจากชาติที่เป็นค้างคาวแล้วก็ได้ไปเกิดอยู่ในเทวโลกเหมือนกันทั้งหมด จนกระทั่งศาสนาของพระสมณโคดมสัมมาสัมพุทธเจ้าอุบัติขึ้นจึงได้จุติจากเทวโลกมาเกิดเป็นมนุษย์และได้บวชเป็นภิกษุในศาสนานี้ตลอดจนได้เรียน พระอภิธรรมจากพระสารีบุตรดังกล่าวแล้ว นับแต่นั้นมาการสาธยาย ท่องจำและการถ่ายทอดความรู้เรื่องพระอภิธรรมก็ได้แพร่ขยายออกไปอย่างกว้างขวาง

ภายหลังที่พระพุทธองค์เสด็จดับขันธปรินิพพานแล้วในวันแรม ๑ ค่า เดือน ๘ หลังจากถวายพระเพลิงได้ ๕๒ วัน ท่านมหากัสสปเถระ พระอุบาลีเถระ พระอานนทเถระ พร้อมด้วยพระอรหันต์รวมทั้งสิ้น ๕๐๐ องค์ ซึ่งล้วนเป็นปฏิสัมภิทัปปัตตะ๖ ฉฬภิญญะ๗ และเตวิชชะ๘ ได้ช่วยกันทำสังคายนาพระธรรมวินัย ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ และได้กล่าวยกย่องพระอภิธรรมว่าเป็นหมวดธรรมที่สำคัญมากของพระพุทธศาสนา การทำสังคายนาครั้งนี้ มีพระเจ้าอชาตศัตรูเป็นศาสนูปถัมภก

หลังจากที่สมเด็จพระสมณโคดมสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสรู้แล้วพระองค์ได้ทรงแสดงธรรมโปรดเวไนยสัตว์เป็นเวลายาวนานถึง ๔๕ พรรษา คำสอนที่พระพุทธองค์ทรงแสดงไว้ทั้งหมดรวบรวมได้ ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ เรียกว่า พระไตรปิฎก ซึ่งบรรจุคำสอนและเรื่องราวของพระพุทธศาสนาไว้โดยละเอียด แบ่งออกเป็น ๓ ปิฎกหรือ ๓ หมวด ด้วยกันคือ

๑. พระวินัยปิฎก

๒. พระสุตตันตปิฎก

๓. พระอภิธรรมปิฎก


พระวินัยปิฎก หรือเรียกสั้นๆ ว่า พระวินัย เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าเกี่ยวกับศีลหรือสิกขาบท (บทบัญญัติ) ตลอดจนพิธีกรรมและธรรมเนียมของสงฆ์ อันเป็นกฎระเบียบที่พระภิกษุสงฆ์และพระภิกษุณีสงฆ์จะต้องปฏิบัติ รวมถึงพุทธประวัติบางตอนและประวัติการทำสังคายนา มีทั้งสิ้น ๒๑,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ แบ่งออกเป็น ๕ คัมภีร์ เรียกโดยย่อว่า อา. ปา. มะ. จุ. ปะ. (หัวใจพระวินัย) ได้แก่

๑. คัมภีร์อาทิกัมมิกะ ว่าด้วยอาบัติปาราชิก สังฆาทิเสส อนิยต และต้น บัญญัติในสิกขาบทต่างๆ

๒. คัมภีร์ปาจิตตีย์ ว่าด้วยอาบัติปาจิตตีย์ ซึ่งเป็นอาบัติอย่างเบา

๓. คัมภีร์มหาวรรค ว่าด้วยพุทธประวัติตอนปฐมโพธิกาล และพิธีกรรมทาง พระวินัย

๔. คัมภีร์จุลวรรค ว่าด้วยพิธีกรรมทางพระวินัยต่อจากมหาวรรค ตลอดจนความเป็นมาของภิกษุณี และประวัติการทาสังคายนา

๕. คัมภีร์ปริวาร ว่าด้วยข้อเบ็ดเตล็ดทางพระวินัย


พระสุตตันตปิฎก หรือเรียกสั้นๆ ว่า พระสูตร เป็นหมวดที่ประมวล พระธรรมเทศนา คำบรรยายธรรม และเรื่องเล่าต่างๆ อันยักเยื้องตามบุคคลและโอกาส เป็นธรรมที่แสดงโดยใช้สมมุติโวหาร คือยกสัตว์ บุคคล กษัตริย์ เทวดา เป็นต้น มาแสดง มีคำสอนทั้งสิ้น ๒๑,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ แบ่งออกเป็น ๕ นิกาย เรียกโดยย่อว่า ที. มะ. สัง. อัง. ขุ. (หัวใจพระสูตร) ได้แก่

๑. ทีฆนิกาย ประกอบด้วย พระสูตรขนาดยาว จำนวน ๓๔ สูตร

๒. มัชฌิมนิกาย ประกอบด้วย พระสูตรขนาดปานกลางจำนวน ๑๕๒ สูตร

๓. สังยุตตนิกาย ประกอบด้วย พระสูตรที่จัดเป็นหมวดหมู่ เรียกว่า สังยุตต์ มีชื่อตามเนื้อหา เช่น เกี่ยวกับแคว้นโกสล เรียกว่า โกสลสังยุตต์ เกี่ยวกับมรรคเรียกว่า มรรคสังยุตต์ มีจำนวน ๗,๗๖๒ สูตร

๔. อังคุตตรนิกาย ประกอบด้วย พระสูตรที่จัดหมวดหมู่ตามจำนวนข้อของหลักธรรม เรียกว่า นิบาต เช่น เอกนิบาต ว่าด้วยหลักธรรมที่มี หัวข้อเดียว จนถึงหลักธรรมที่มี ๑๑ หัวข้อที่เรียกว่า เอกาทสกนิบาต ในนิกายนี้มีจำนวนพระสูตร ๙,๕๕๗ สูตร

๕. ขุททกนิกาย ประกอบด้วยภาษิตเบ็ดเตล็ด ประวัติและนิทานต่างๆ นอกเหนือจากที่จัดไว้ในนิกายทั้ง ๔ ข้างต้น แบ่งออกเป็นหมวดได้ ๑๕ หมวดคือ

๕.๑) ขุททกปาฐะ แสดงบทสวดเล็กๆ น้อยๆ โดยมากเป็นบทสวดสั้นๆ

๕.๒) ธรรมบท แสดงคาถาพุทธภาษิต ประมาณ ๓๐๐ คาถา

๕.๓) อุทาน แสดงพระพุทธดารัสที่เปล่งอุทานเป็นภาษิตโดยมีเนื้อเรื่อง ประกอบตามสมควร

๕.๔) อิติวุตตก แสดงคาอ้างอิงว่าพระพุทธเจ้าตรัสไว้อย่างนั้นอย่างนี้

๕.๕) สุตตนิบาต เป็นหมวดที่รวบรวมพระสูตรเบ็ดเตล็ดไว้ด้วยกัน

๕.๖) วิมานวัตถุ แสดงเรื่องราวของผู้ได้วิมานและแสดงเหตุที่ทำให้ได้ วิมานไว้ด้วย

๕.๗) เปตวัตถุ แสดงเรื่องราวของเปรตที่ได้ทำบาปกรรมไว้

๕.๘) เถรคาถา แสดงภาษิตต่างๆ ของพระอรหันตสาวก

๕.๙) เถรีคาถา แสดงภาษิตต่างๆ ของพระอรหันตสาวิกา

๕.๑๐) ชาดก เป็นหมวดที่ประมวลคาถาธรรมภาษิตเกี่ยวกับเรื่องราวในอดีตชาติของพระพุทธองค์

๕.๑๑) นิทเทส เป็นหมวดที่ว่าด้วยเรื่องของนิทเทส (การชี้แจง, การแสดง, การจำแนก) แบ่งเป็นมหานิทเทส และจุลนิทเทส

๕.๑๒) ปฏิสัมภิทามรรค กล่าวถึงการปฏิบัติเพื่อเข้าถึงความมีปัญญาอันประเสริฐ

๕.๑๓) อปทาน หมวดนี้จะกล่าวถึงอัตตชีวประวัติของพระพุทธองค์และ พระอรหันตสาวกและอรหันตสาวิกา

๕.๑๔) พุทธวงศ์ แสดงประวัติของอดีตพระพุทธเจ้า ๒๔ พระองค์

๕.๑๕) จริยาปิฎก แสดงเรื่องราวการบำเพ็ญบารมีของพระพุทธเจ้า


พระอภิธรรมปิฎก หรือเรียกสั้นๆ ว่า พระอภิธรรม เป็นหมวดที่ ประมวลพุทธพจน์อันเกี่ยวกับหลักธรรมที่เป็นวิชาการว่าด้วยเรื่องของปรมัตถธรรมล้วนๆ ยกตัวอย่างเช่นเมื่อกล่าวถึงบุคคลใดบุคคลหนึ่ง ทางพระอภิธรรมถือว่าบุคคลนั้นไม่มี มีแต่สิ่งซึ่งเป็นที่ประชุมรวมกันของ จิต เจตสิก รูป เท่านั้น ดังนั้น ธรรมะในหมวดนี้จึงไม่มีเรื่องราวของบุคคล เหตุการณ์ หรือสถานที่ซึ่งเป็นสิ่งสมมุติเข้ามาเกี่ยวข้องด้วยเลย พระอภิธรรมปิฎกมีอยู่ทั้งสิ้น ๔๒,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ แบ่งออกเป็น ๗ คัมภีร์ เรียกโดยย่อว่า สัง. วิ. ธา. ปุ. กะ. ยะ. ปะ. (หัวใจพระอภิธรรม) ได้แก่

๑. คัมภีร์ธัมมสังคณี ว่าด้วยธรรมะที่ประมวลไว้เป็นหมวดเป็นกลุ่ม เรียกว่า กัณฑ์ มีทั้งหมด ๔ กัณฑ์ คือ

๑.๑) จิตตวิภัตติกัณฑ์ แสดงการจำแนกจิตและเจตสิก เป็นต้น

๑.๒) รูปวิภัตติกัณฑ์ แสดงการจำแนกรูป เป็นต้น

๑.๓) นิกเขปราสิกัณฑ์ แสดงธรรมที่เป็นแม่บท (มาติกา) ของ ปรมัตถธรรม

๑.๔) อัตถุทธารกัณฑ์ แสดงการจำแนกเนื้อความตามแม่บทของ ปรมัตถธรรม

๒. คัมภีร์วิภังค์ ว่าด้วยการจำแนกมาติกาในคัมภีร์ธัมมสังคณี ทั้งติกมาติกา ๒๒ หมวด และทุกมาติกา ๑๐๐ หมวด โดยแบ่งเป็น ๑๘ วิภังค์ เช่น ขันธวิภังค์ จำแนกขันธ์ อายตนวิภังค์ จำแนกอายตนะ, ธาตุวิภังค์ จำแนกธาตุ, สัจจวิภังค์ จำแนกสัจจะ, อินทริยวิภังค์ จำแนกอินทรีย์, ปฏิจจสมุปบาทวิภังค์ จำแนกปฏิจจสมุปบาท, สติปัฏฐานวิภังค์ จำแนก สติปัฏฐาน เป็นต้น

๓. คัมภีร์ธาตุกถา ว่าด้วยคำอธิบายเรื่องขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ และธาตุ ๑๘ โดยนำมาติกาของคัมภีร์นี้จำนวน ๑๐๕ บท และมาติกาจากคัมภีร์ธัมมสังคณีจำนวน ๒๖๖ บท (ติกมาติกา ๖๖ บท ใน ๒๒ หมวด และทุกมาติกา ๒๐๐ บท ใน ๑๐๐ หมวด) มาแสดงด้วยนัยต่างๆ (จานวน ๑๔ นัย) เพื่อหาคำตอบว่าสภาวธรรมบทนั้นๆ สงเคราะห์เข้าได้กับขันธ์เท่าไร เข้าได้กับอายตนะเท่าไร และเข้าได้กับธาตุเท่าไร เข้าไม่ได้กับขันธ์เท่าไร เข้าไม่ได้กับอายตนะเท่าไร และเข้าไม่ได้กับธาตุเท่าไร

๔. คัมภีร์ปุคคลบัญญัติ ว่าด้วยการบัญญัติ (การประกาศ แสดง หรือชี้แจง) ในเรื่อง ๖ เรื่อง คือ

(๖.๑) ขันธบัญญัติ การบัญญัติเรื่องขันธ์

(๖.๒) อายตน บัญญัติ การบัญญัติเรื่องอายตนะ

(๖.๓) ธาตุบัญญัติ การบัญญัติเรื่องธาตุ

(๖.๔) สัจจบัญญัติ การบัญญัติเรื่องสัจจะ

(๖.๕) อินทริยบัญญัติ การบัญญัติ เรื่องอินทรีย์

(๖.๖) ปุคคลบัญญัติ การบัญญัติเรื่องบุคคล

๕. คัมภีร์กถาวัตถุ ว่าด้วยการโต้วาทะเพื่อชี้แจงแสดงเหตุผลให้เห็นว่าวาทกถา (ความเห็น) ของฝ่ายปรวาที (พวกภิกษุในนิกายที่แตกไปจากเถรวาทในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช) จำนวน ๒๒๖ กถา ล้วนผิดพลาดคลาดเคลื่อนจากพระพุทธพจน์ดั้งเดิมที่ภิกษุฝ่ายเถรวาทยึดถือปฏิบัติอยู่ วิธีการโต้วาทะใช้หลักตรรกศาสตร์ที่น่าสนใจมาก นับเป็น พุทธตรรกศาสตร์ที่สมบูรณ์แบบที่สุดซึ่งมีในคัมภีร์นี้เท่านั้น

๖. คัมภีร์ยมก ว่าด้วยการปุจฉา-วิสัชนา สภาวธรรม ๑๐ หมวด ด้วยวิธีการยมก คือการถาม-ตอบ เป็นคู่ๆ ซึ่งเป็นวิธีการเฉพาะของคัมภีร์ยมก

สภาวธรรม ๑๐ หมวด ได้แก่ (๑) หมวดมูล (สภาวธรรมที่เป็นเหตุ) (๒) หมวดขันธ์ (๓) หมวดอายตนะ (๔) หมวดธาตุ (๕) หมวดสัจจะ (๖) หมวดสังขาร (๗) หมวดอนุสัย (๘) หมวดจิต (๙) หมวด สภาวธรรมในกุสลติกะ เรียกสั้นๆ ว่า หมวดธรรม (๑๐) หมวดอินทรีย์ สภาวธรรม ๑๐ หมวดนี้ทาให้แบ่งเนื้อหาของคัมภีร์ยมกออกเป็น ๑๐ ยมก เรียกชื่อตามหมวดสภาวธรรมที่เป็นเนื้อหา คือ (๑) มูลยมก (๒) ขันธยมก (๓) อายตนยมก (๔) ธาตุยมก (๕) สัจจยมก (๖) สังขารยมก (๗) อนุสยยมก (๘) จิตตยมก (๙) ธัมมยมก (๑๐) อินทริยยมก

๗. คัมภีร์ปัฏฐาน ว่าด้วยการจำแนกสภาวธรรมแม่บท หรือ มาติกา ทั้ง ๒๖๖ บท (๑๒๒ หมวด) ในคัมภีร์ธัมมสังคณี โดยอำนาจปัจจัย ๒๔ ประการ มี เหตุปัจจัย เป็นต้น เพื่อให้เห็นว่าสภาวธรรมทั้งหลายปรากฏเกิดขึ้น ตามเหตุ ตามปัจจัยทั้งสิ้น มิได้เกิดจากการบงการของผู้ใด แต่เป็นไปตามกฎของธรรมชาติ ที่เรียกว่า จิตตนิยาม กรรมนิยาม และธรรมนิยาม

สรุปแล้ว พระอภิธรรมก็คือธรรมะหมวดที่ ๓ ในพระไตรปิฎกที่สอนให้รู้จักธรรมชาติอันแท้จริงที่มีอยู่ในตัวเราและสัตว์ทั้งหลายอันได้แก่ จิต เจตสิก รูป และรู้จักพระนิพพานซึ่งเป็นจุดหมายอันสูงสุดในพระพุทธศาสนา ธรรมชาติทั้ง ๔ คือ จิต เจตสิก รูป นิพพานนี้รวมเรียกว่า ปรมัตถธรรม หากแปลตามศัพท์ คาว่า อภิธัมม หรือ อภิธรรม แปลว่าธรรมอัน ประเสริฐ, ธรรมอันยิ่ง, ธรรมที่มีอยู่แท้จริงปราศจากสมมุติ เนื้อความในพระอภิธรรมเกือบทั้งหมด จะกล่าวถึงปรมัตถธรรม ล้วนๆ โดยไม่มี บัญญัติธรรม (สมมุติโวหาร) เข้ามาเกี่ยวข้อง ดังนั้นจึงควร ทำความเข้าใจไว้ในเบื้องต้นก่อนว่า ปรมัตถธรรม และ บัญญัติธรรม นั้น ต่างกันอย่างไร