ผู้ใช้:หมู่บ้านหนองมงคล/กระบะทราย

พิกัด: 17°37′48″N 100°07′21″E / 17.629987°N 100.122537°E / 17.629987; 100.122537
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
หมู่บ้านหนองมงคล
Ban NongMongKhon

Pa Kluai villagers in (B.C).jpg

พิกัดภูมิศาสตร์:17.61891° 100.18991°

ข้อมูลทั่วไป
ตำบล ธงชัย
อำเภอ บางสะพาน
จังหวัด ประจวบคีรีขันธ์
รหัสไปรษณีย์ 77190
การปกครอง
ผู้ใหญ่บ้าน นายประจวบ โตใหญ่ (หมู่ 7), นายสมหมาย ปานทอง (หมู่ 10) กำนันตำบลธงชัย
ข้อมูลสถิติ
พื้นที่ -
ประชากร -

หมู่บ้านหนองมงคล หรือ บ้านหนองมงคล เป็นหมู่บ้านหนึ่งในตำบลธงชัย อำเภอบางสะพาน จังหวัดอประจวบคีรีขันธ์ ชาวบ้านส่วนใหญ่นับถือพระพุทธศาสนานิกายเถรวาท มีวัดประจำหมู่บ้าน 1 แห่ง และ โรงเรียนระดับพื้นฐาน 1 โรงเส้นทางคมนาคมสายหลักคือถนนบางสะพาน – ท่าหล่อ หนองระแวง ด้านเศรษฐกิจ ชาวบ้านประกอบอาชีพเกษตรกรรม-ประมงเป็นส่วนใหญ่

ประวัติ[แก้]

หมู่บ้านหนองมงคลตั้งอยู่หมู่ที่ ๗ ตำบลธงชัย อำเภอบางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ แรกเริ่มเดิมทีที่ตั้งหมู่บ้านได้มาปัจจุบัน พื้นที่หมู่บ้านเป็นป่าดงดิบมีสัตว์ป่าดุร้าย เช่น ช้าง หมี เสือโครง เสือดำ เสือดาว เป็นต้น ถนนเป็นทางเกวียนไม่มีทางเดินมีแต่ทางเท้าอย่างเดียว การปกครองใช้ระบบแบบป่าเถื่อน คนเราก็ไม่มีความรู้เพราะไม่มีโรงเรียน การทำมาหากินเลี้ยงครอบครัว จะประกอบอาชีพ ทำสวน ทำไร่ ทำนาปลูกข้าว ปลูกพริก ปลูกพืชผลต่างๆ ซึ่งก็ขายไม่ได้เพราะไม่มีพ่อค้ารับซื้อ ในสมัยนั้นเงินทองหายาก งานรับจ้างก็ไม่มี การคมนาคมไม่สะดวก ทุระกันดาน แม้แต่หมอรักษาคนไข้ก็ไม่มี เจ็บป่วย เกิดโรคระบาดก็ไม่มียารักษา ถึงกับเสียชีวิตเลยทีเดียว โจรขโมยชุกชุม ชาวบ้านหวาดกลัวไม่ค่อยกล้าออกจากบ้านในยามค่ำคืน คาดการณ์ว่าประมาณในปี พ.ศ. 2407 เกือบ 150 ปีมาแล้ว ได้มีผู้คนได้ย้ายถิ่นฐานมาตั้งรกรากที่บ้านหนองมงคล (หนองกลางดง – หนองฆ้อง – หนองมงคล) เดิมหมู่บ้านหนองมงคล มีเชื่อว่า “หมู่บ้านหนองกลางดง” เพราะอยู่ในป่าในดง และต่อมาได้มีผู้มาคนพบหินลักษณะคล้ายฆ้องผุดโผล่ขึ้นกลางหนองน้ำ จึงได้ตั้งชื่อหมู่บ้านว่าบ้านหนองฆ้อง มาเรื่อยๆ ต่อมาได้มีคนพาช้างมาพัก ที่หนองน้ำใหญ่ (สะพานข้ามทางรถไฟ) และได้ทำสายมงคลคล้องช้างหล่นทิ้งไว้ จนมีผู้มาพบสายมงคลที่คล้องช้าง จึงได้เกิดการเปลี่ยนแปลงชื่อหมู่บ้านขึ้นมาใหม่เพื่อเป็นมงคลแก่หมู่บ้านว่าหมู่บ้าน ”หนองมงคล” เป็นต้นมา จนมีการก่อตั้งโรงเรียนและวัดขึ้นในกาลต่อมา ส่วนหินลักษณะคล้ายฆ้องที่พบไม่มีใครรู้ว่าหายไปไหนสันนิฐานได้ว่าได้ไหล ไปตามน้ำหายไป จึงได้ปั้นรูปปั้นแทนขึ้นมาและนำไปตั้งเป็นศาลพ่อปู่หนองฆ้องสืบต่อมาจนถึงปัจจุบันให้ลูกหลาน ได้เคารพ และเป็นประเพณีทำบุญไหว้ศาลปู่หนองฆ้องเป็นประจำ ในวันแรม ๖ ค่ำ เดือน ๕ ของทุกปี จนปัจจุบันก็ทำแบบนี้ทุกครั้ง

สภาพด้านสังคม[แก้]

สภาพภูมิศาสตร์[แก้]

อาณาเขตติดต่อ[แก้]

ลักษณะโครงสร้างพื้นฐาน[แก้]

สาธารณูปโภค[แก้]

การปกครอง[แก้]

เศรษฐกิจ[แก้]

วัฒนธรรมประเพณี[แก้]

ประชาชนส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธเถรวาท ประเพณีต่างๆ ยึดถือปฏิบัติเหมือนกันกับชาวพุทธเถรวาทในแถบใกล้เคียง เช่น บวชพระ ประเพณีแต่งงาน งานศพ ฯลฯ


วัดประจำหมู่บ้าน[แก้]

วัดหนองมงคล ตั้งอยู่เลขที่ ๙๖ หมู่ที่ ๗ || ตำบลธงชัย อำเภอบางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ||

วัดหนองมงคล เริ่มสร้าง พ.ศ. ๒๔๘๔ เดิมชาวบ้านหนองมงคลต้องไปทำบุญที่วัดดอนยาง ต้องเดินทางไปเป็นระยะทาง ๕ กิโลเมตร ลำบากมากหลวงพ่อเคล้าเจ้าอาวาสวัดดอนยาง ได้ปรึกษากับครูใหญ่โรงเรียนวัดดอนยาง ชื่อครูทัน ดวงเนตร จะสร้างวัดขึ้นอีก ๑ วัด คือ วัดหนองมงคล ผู้นำสร้างวัดมีหลวงพ่อเคล้า (พระครูศีลาธิการี) เจ้าอาวาสวัดดอนยาง และให้ครูทัน ดวงเนตร ครูใหญ่โรงเรียนวัดดอนยาง ได้แต่งตั้งกรรมขึ้น ๑ ชุด โดยมีนายใย ครุฑเสม ผู้ใหญ่บ้านหนองมงคล ได้บริจาคที่จำนวน ๙ ไร่เศษ และมีครูประมวล เทียนส่งรัศมี ครูใหญ่โรงเรียนหนองมงคล นายเจือ วงศ์ทัพ, นายแดง เกลื่อนพันธ์, นายจันทร์ เกลื่อนพันธ์, นายปราง เขียวขำ. นายดำ ครุฑธา, นายทิม ครุฑธา พร้อมด้วยชาวบ้านหนองมงคล ได้ช่วยกันสร้างกุฏิ พร้อมหอฉันมุงจาก ๑ หลัง ถวายหลวงพ่อช่วง วิสารโท มาจากวัดดอนยาง เป็นเจ้าอาวาสปี พ.ศ. ๒๔๘๔ มีพระจำพรรษา ๕ รูป โดยมีนายใย ครุฑเสม ผู้ใหญ่บ้านหนองมงคล และครูทัน ดวงเนตร ครูใหญ่โรงเรียนวัดดอนยาง ครูประมวล เทียนส่งรัศมี ครูใหญ่โรงเรียนหนองมงคล ดำเนินการเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๘๔ นายใย ครุฑเสม ผู้ใหญ่บ้านหนองมงคล ครูประมวล เทียนส่งรัศมี ครูใหญ่โรงเรียนหนองมงคล และคณะกรรมการ ได้ตั้งชื่อวัดตามชื่อหมู่บ้านว่า วัดหนองมงคล ที่ดินตั้งวัดครั้งแรกมีเนื้อที่ ๙ ไร่ ๕ งาน ๗๙ ตารางวา

วัดหนองมงคล เริ่มสร้าง พ.ศ. ๒๔๙๒ เดิมชาวบ้านหนองมงคลต้องไปทำบุญที่วัดดอนยาง ต้องเดินทางไปเป็นระยะทาง ๕ กิโลเมตร ลำบากมากหลวงพ่อเคล้าเจ้าอาวาสวัดดอนยาง ได้ปรึกษากับครูใหญ่โรงเรียนวัดดอนยาง ชื่อครูทัน ดวงเนตร จะสร้างวัดขึ้นอีก ๑ วัด คือ วัดหนองมงคล ผู้นำสร้างวัดมีหลวงพ่อเคล้า (พระครูศีลาธิการี) เจ้าอาวาสวัดดอนยาง และให้ครูทัน ดวงเนตร ครูใหญ่โรงเรียนวัดดอนยาง ได้แต่งตั้งกรรมขึ้น ๑ ชุด โดยมีนายใย ครุฑเสม ผู้ใหญ่บ้านหนองมงคล ได้บริจาคที่จำนวน ๙ ไร่เศษ และมีครูประมวล เทียนส่งรัศมี ครูใหญ่โรงเรียนหนองมงคล นายเจือ วงศ์ทัพ, นายแดง เกลื่อนพันธ์, นายจันทร์ เกลื่อนพันธ์, นายปราง เขียวขำ. นายดำ ครุฑธา, นายทิม ครุฑธา พร้อมด้วยชาวบ้านหนองมงคล ได้ช่วยกันสร้างกุฏิ พร้อมหอฉันมุงจาก ๑ หลัง ถวายหลวงพ่อช่วง วิสารโท มาจากวัดดอนยาง เป็นเจ้าอาวาสปี พ.ศ. ๒๔๙๒ มีพระจำพรรษา ๕ รูป โดยมีนายใย ครุฑเสม ผู้ใหญ่บ้านหนองมงคล และครูทัน ดวงเนตร ครูใหญ่โรงเรียนวัดดอนยาง ครูประมวล เทียนส่งรัศมี ครูใหญ่โรงเรียนหนองมงคล ดำเนินการเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๙๒ นายใย ครุฑเสม ผู้ใหญ่บ้านหนองมงคล ครูประมวล เทียนส่งรัศมี ครูใหญ่โรงเรียนหนองมงคล และคณะกรรมการ ได้ตั้งชื่อวัดตามชื่อหมู่บ้านว่า วัดหนองมงคล ที่ดินตั้งวัดครั้งแรกมีเนื้อที่ ๙ ไร่ ๕ งาน ๗๙ ตารางวา • สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา ประกาศ ณ วันที่ ๒๒ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๖ ประกาศราชกิจจานุเบกษางวดที่ ๔ ประจำปี ๒๕๔๖ ฉบับประกาศทั่วไป เล่มที่ ๑๒๐ ตอนที่ ๘๗ ง วันที่ ๓๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ (หมายเหตุ) จากการสืบค้น การเริ่มสร้างวัดก่อตั้งวัดปี พ.ศ. ๒๔๙๒ เนื่องจากเป็นวัดที่ตกสำรวจไม่มีเอกสารข้อมูลยืนยัน (ยกเป็นวัดที่ตกสำรวจหลังปี ๒๔๘๔) จากการสืบค้นจากผู้รู้ในชุมชนว่าวัดสร้างขึ้นทีหลังโรงเรียน

โรงเรียนประจำหมู่บ้าน[แก้]

โรงเรียนบ้านหนองมงคล เป็น โรงเรียนประจำหมู่บ้านบ้านหนองมงคล ตั้งอยู่ที่ บ้านหนองมงคล ตำบลธงชัย อำเภอบางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ โทรศัพท์ – โทรสาร – e-mail – website – สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ เปิดสอนระดับอนุบาลถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ เนื้อที่ ๑๐ ไร่ ๓ งาน ๔๖ ตารางวา พื้นที่บริการ ๒ หมู่บ้านคือหมู่ที่ ๗ และหมู่ที่ ๑๐

โรงเรียนบ้านหนองมงคล เดิมชื่อว่า เดิมเป็นป่าดงดิบมีหนองน้ำอยู่กลางป่า มีน้ำขังอุดมสมบูรณ์ไม่แห้ง ผู้คนมาสร้างบ้านเรือน ๔ – ๕ หลังคาเรือน เรียกชื่อตามสภาพพื้นที่ว่า “บ้านหนองกลางดง” ต่อมาชาวบ้านพบหินลักษณะคล้ายฆ้อง ผุดโผล่ขึ้นกลางหนองน้ำ จึงเปลี่ยนเรียกชื่อใหม่ว่า “บ้านหนองฆ้อง” ครั้นเมื่อราษฎรมาจับจองพื้นที่อาศัยทำกินมากขึ้นความจำเป็นในการจัดส่งบุตรหลานเข้าเรียนในโรงเรียน ขณะนั้นโรงเรียนที่อยู่ใกล้ที่สุด คือ โรงเรียนวัดดอนยางการเดินทาง ไปเรียนลำบากมาก จึงคิดสร้างโรงเรียน โดยตั้งชื่อ “โรงเรียนตำบลบ้านกรูด ๓” (บ้านหนองฆ้อง) เปิดสอนเมื่อวันที่ ๒๕ กันยายน พ.ศ. ๒๔๘๔ สมัยนายวิโรจน์ น้อยประเสริฐ เป็นศึกษาธิการอำเภอ มีพระอาจารย์เคล้า ชนะภัย (พระครูศิลาธิกาลี) วัดดอนยาง นายปลอด เกลื่อนพันธ์ อดีตผู้ใหญ่บ้าน นายทัน ดวงเนตร ครูใหญ่โรงเรียนวัดดอนยาง พร้อมด้วยชาวบ้านหนองมงคล ได้สงวนป่าไว้สร้างโรงเรียนจำนวน ๑๒ ไร่ และช่วยกันปรับพื้นที่สร้างอาคารเรียน อำเภอได้มอบเงินให้โรงเรียนจำนวน ๖๐ บาท เพื่อซื้อจากมุงหลังคา ตัวอาคารกว้าง ๘ เมตร ยาว ๑๔ เมตร มีมุขยื่นออกตรงกลาง หลังคาลาดต่ำ มุงด้วยจาก เสาไม้แก่น พื้นราบไม่มีฝากั้น ต่อมานายอำเภอได้สั่งย้าย นายประมวล เทียนส่งรัศมี จากโรงเรียนวัดนาผักขวงมาเป็นครูใหญ่ เปิดสอนครั้งแรกในระดับชั้นประถมปีที่ ๑ถึงระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ มีนักเรียนจำนวน ๕๑ คน ปี พ.ศ. ๒๔๙๘ โรงเรียนได้ชำรุดทรุดโทรมมาก ได้ทำการซ่อมแซมหลายครั้ง จนถึงสมัยนายพวง พันลาภ เป็นศึกษาธิการอำเภอบางสะพาน นายประมวล เทียนส่งรัศมี ครูใหญ่ นายใย ครุฑเสม อดีตผู้ใหญ่บ้าน นายเจือ วงศ์ทัพ และชาวบ้านหนองมงคล สร้างอาคารขึ้นมาใหม่เป็นแบบเสาคอนกรีต หลังคามุงกระเบื้อง ฝาไม้ พื้นซีเมนต์กว้าง ๙ เมตร ยาว ๑๖ เมตร มีมุขหลังคาลาดต่ำ สิ้นค่าก่อสร้าง ๑๒,๖๔๒ บาท ประชาชนบริจาคและเงินช่วย จากประถมศึกษา ๓,๕๐๐ บาท จนแล้วเสร็จ เปิดทำการสอนเมื่อวันที่ ๒๔ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๙๘ ได้เปลี่ยนชื่อใหม่ว่า “โรงเรียนบ้านหนองมงคล” (ราษฎรเจริญมงคล) โรงเรียนบ้านหนองมงคลเป็นโรงเรียนขนาดกลาง เปิดทำการสอนครั้งแรกเมื่อวันที่ ๒๕ กันยายน ๒๔๘๔ บนเนื้อที่ ๑๐ ไร่ ๓ งาน ๔๖ ตารางวา โดยประชาชนในพื้นที่ร่วมกันก่อสร้างอาคารชั่วคราวมุงจาก กว้าง ๘ เมตร ยาว ๑๔ เมตร ตั้งอยู่ริมทางรถไฟบ้านหนองมงคล หมู่ที่ ๗ ตำบลธงชัย อำเภอบางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และสร้างอาคารขึ้นเป็นแบบเสาคอนกรีต หลังคามุงกระเบื้อง ฝาไม้ พื้นซีเมนต์ กว้าง ๙ เมตร ยาว ๑๖ เมตร มีมุขหลังคาลาดต่ำ ปัจจุบันมีนักเรียน ๑๒๘ คน ครู ๘ คน เปิดสอนชั้นอนุบาลถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ เป็นโรงเรียนปฏิรูปการศึกษา อาคารมี ๓ หลัง ห้องเรียน ๘ ห้อง ห้องวิทยาศาสตร์ ๑ ห้อง ห้องสมุด ๑ ห้อง ผู้ปกครองส่วนใหญ่ จบการศึกษาระดับต่ำกว่าปริญญาตรี อาชีพหลัก คือ รับจ้าง, เกษตรกรรม, ประมง ส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ ฐานะทางเศรษฐกิจ / รายได้โดยเฉลี่ยต่อครอบครัว ต่อปี ๒๕,๐๐๐ บาท จำนวนคนเฉลี่ยต่อครอบครัว ๔ คน ประชากรในชุมชนโดยรอบมีฐานะยากจนและความรู้ค่อนข้างน้อย รายได้ไม่ค่อยดี ตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบันโรงเรียนบ้านหนองมงคล มีผู้บริหารโรงเรียน จำนวน ๙ ท่าน และปัจจุบัน นายนิพลพื้นผา ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหนองมงคล ชุมชนรอบบริเวณโรงเรียนมีลักษณะเป็นชุมชนเล็กๆ ความเป็นอยู่ แบบชนบท มีประชากรประมาณ ๙๐๐ คน บริเวณใกล้เคียงโดยรอบโรงเรียนและวัด ได้แก่ สวนมะพร้าว ทุ่งนา สถานีรถไฟ ทางรถไฟ ร้านค้า ชายทะเล บ้านของชาวบ้าน อาชีพหลักของชุมชน คือ รับจ้าง การเกษตร ทำประมง ส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ ประเพณี /ศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นที่เป็นที่รู้จักโดยทั่วไป คือ ประเพณีสงกรานต์, ประเพณีทำบุญแห่เทียนเข้าพรรษา, อุปสมบท, ประเพณีทำบุญรับ – ส่งตายาย, ประเพณีออกพรรษา – ตักบาตรเทโว, ประเพณีลอยกระทง, ดนตรีพื้นบ้าน กลองยาว รำวงย้อนยุกต์, ลอยกระทง, ลงแขกเกี่ยวข้าว, สวดมาลัย,


ดูเพิ่มได้ที่ โรงเรียนบ้านหนองมงคล'



ดูเพิ่ม[แก้]

แม่แบบ:หน่วยการปกครองและสถานที่สำคัญในตำบลธงชัย

อ้างอิง[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

17°37′48″N 100°07′21″E / 17.629987°N 100.122537°E / 17.629987; 100.122537