ผู้ใช้:ก้องเกียรติ แซ่ลิ้ม/ทดลองเขียน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

[1]ประวัติวัดป่าภูธรพิทักษ์ (ธรรมยุต)[แก้]

วัดป่าภูธรพิทักษ์
ไฟล์:ภูธรพิทักษ์ ๑
ชื่อสามัญวัดภูธรฯวัดป่าภูธรพิทักษ์
ที่ตั้ง3 ธาตุเชิงชุม เมืองสกลนคร สกลนคร 47000
ประเภทวัดราษฎร์ วิสุงคามสีมา
นิกายธรรมยุติกนิกาย
พระประธานพระพุทธภูธรพิทักษ์
เจ้าอาวาสพระครูวิทิตธรรมาภิวัฒน์ (วิชิต วิทิโต)
จุดสนใจกราบ พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร
พระพุทธศาสนา ส่วนหนึ่งของสารานุกรมพระพุทธศาสนา

         วัดป่าภูธรพิทักษ์ เป็นวัดราษฎร์สังกัดคณะธรรมยุติกนิกาย ตั้งอยู่ที่ หมู่ 3 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมืองสกลนคร จังหวัดสกลนคร (ติดกับวัดพระธาตุนารายณ์เจงเวง) เป็นวัดกรรมฐานสายพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต โดยมีเจ้าอาวาสเป็นพระกรรมฐานที่สำคัญ เช่น พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร พระโพธิธรรมาจารย์เถร วิ. (สุวัจน์ สุวโจ) พระรัชมงคลนายก (คำดี ปญฺโญภาโส) พระครูอุดมธรรมสุนทร (แปลง สุนฺทโร) และพระครูวิทิตธรรมาภิวัฒน์ (วิชิต วิทิโต) เป็นต้น

[1]ความเป็นมาและความสำคัญของวัด[แก้]

         วัดป่าภูธรพิทักษ์ เดิมชื่อ วัดป่าธาตุนาเวง ตั้งอยู่บริเวณป่าดงดิบ อยู่ใกล้กับโรงเรียนพลตำรวจ เขต 4 และในปัจจุบันคือมหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร (เดิมเป็นโรงเรียน มาเป็นวิทยาลัย และมาเป็นสถาบันราชภัฏสกลนคร จนได้รับการสถาปนายกฐานะขึ้นเป็นมหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2547) ได้มาแทนโรงเรียนพลตำรวจเขต 4 ที่ยกเลิกไป การเดินทางของพระอาจารย์ฝั้น อาจาโร เพื่อไปงานศพของแม่ชีสาลิกาที่จังหวัดอุบลราชธานีนั้น ท่านต้องมาพักที่วัดป่าภูธรพิทักษ์ ตั้งใจว่าจะพักเพียงคืนเดียวที่วัดแห่งนี้ แต่เนื่องจากได้มีผู้นิมนต์ให้จำพรรษาอยู่ที่จังหวัดสกลนคร จะได้แบ่งเบาภาระพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต พระอาจารย์ใหญ่สายธรรมยุติกนิกาย ประกอบกับกิจที่จะต้องไปงานศพแม่ชีสาลิกาที่ตั้งใจไว้ ได้หมดความจำเป็นเพราะศพแม่ชีสาลิกาได้เผาเสร็จเรียบร้อยแล้ว พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร จึงตกลงรับปากจำพรรษาอยู่ที่วัดป่าภูธรพิทักษ์ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2488 เป็นต้นมา ระหว่างที่ท่านจำพรรษาอยู่ที่วัดแห่งนี้ ได้บูรณะวัด ซ่อมแซมกุฎีที่พังให้มีสภาพดี สำหรับเป็นที่พักอาศัย และต่อมาวัดธาตุนาเวงได้เปลี่ยนชื่อมาเป็นวัดป่าภูธรพิทักษ์

[1]การพัฒนาอย่างต่อเนื่องของวัด[แก้]

         พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร เป็นพระนักพัฒนาทุกด้าน ไม่ว่าท่านจะพักอยู่ ณ ที่ใด เพียง 3 วัน 7 วันก็ตาม ท่านจะแนะนำให้ชาวบ้านทำความสะอาดบ้านเรือน ตลอดถนนหนทางให้สะอาดอยู่เสมอ ไม่ว่าท่านจะพักป่าช้า หมู่บ้าน เชิงภูพาน ถนนหนทางที่ท่านเดินบิณฑบาต ชาวบ้านจะร่วมกันทำความสะอาดอยู่เสมอ

         พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร ก่อนที่จะมาพักจำพรรษาอยู่ที่วัดป่าภูธรพิทักษ์ บริเวณแถบนี้รกไปด้วยป่าหญ้า ไข้มาลาเรียชุกชุม ตำรวจป่วยเป็นไข้มาลาเรียขึ้นสมอง กระโดดหน้าต่างกองร้อยตาย ครอบครัวตำรวจเชื่อว่าเป็นเพราะผีเจ้าพ่อหนองหญ้าไซโกรธ พระอาจารย์ฝั้นพยายามอธิบายให้ตำรวจเหล่านั้นได้เข้าใจในเหตุผลและให้เลิกเชื่อถือผีสาง แต่ตำรวจและครอบครัวเหล่านั้นก็ยังไม่ยอมเชื่อในการอธิบายด้วยเหตุผลของท่าน

[1]แบบอย่างแห่งกรรมฐานของภาคอีสาน[แก้]

         ต่อมาทางโรงเรียนพลตำรวจ เขต 4 ได้นิมนต์พระอาจารย์ฝั้น อาจาโรไปเทศน์ที่กองร้อย ท่านได้ปรารภกับผู้กำกับการตำรวจว่าถ้าอยากให้เกิดความเป็นอยู่ อยู่เย็นเป็นสุขก็ควรจัดทำสถานที่ให้สะอาดขึ้น สร้างถนน ถางป่า และหญ้าให้โล่งเตียน อากาศจะได้ปลอดโปร่งถ่ายเทได้ดี สำหรับหนองหญ้าไซ ให้ขุดลอกเป็นสระน้ำ ดูสวยงามและได้ประโยชน์ในการใช้น้ำด้วย ผู้กำกับประชุมตำรวจ ตกลงพร้อมที่จะพัฒนาทำทุกอย่างยกเว้นขุดลอกหนองหญ้าไซ เพราะกลัวผีเจ้าพ่อหนองหญ้าไซจะโกรธ จะเอาชีวิตตำรวจและครอบครัวการพัฒนาโรงเรียนพลตำรวจ เขต 4 ด้วยการเริ่มต้นสร้างถนน ทำสนามฟุตบอล สนามเด็กเล่น ถางหญ้า ถางป่าจนสะอาด

         พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร ได้ถูกนิมนต์ไปประชุมอบรมเทศน์ให้กับตำรวจที่กองร้อยอีก ท่านได้หยิบยกปัญหาการขุดลอกหนองหญ้าไซขึ้นมาอีกครั้ง ทุกคนต่างก็พูดกันว่าไม่กล้า กลัวเจ้าพ่อจะหักคอเอา แต่ถ้าท่านพระอาจารย์มานั่งเป็นประธานดูพวกผมขุดลอกหนองหญ้าไซจึงจะยอมทำ พระอาจารย์ฝั้นตอบตกลง การขุดลอกหนองหญ้าไซได้เริ่มขึ้นในโอกาสต่อมา ต่อหน้าพระอาจารย์ฝั้นจนหนองหญ้าไซกลายเป็นสระน้ำขึ้นมา อากาศดีขึ้น ไข้มาลาเรียที่เคยชุกชุมค่อย ๆ เบาบางลง จนโรคไข้มาลาเรียได้หายไปในที่สุด

         พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร ได้จำพรรษาอยู่ที่วัดป่าภูธรพิทักษ์ (วัดป่าธาตุนาเวง) เป็นเวลาถึง 9 ปี ท่านได้พัฒนาวัด และรวมถึงบริเวณใกล้เคียงกับวัดให้เกิดสุขลักษณะที่ดี โดยเฉพาะบริเวณโรงเรียนพลตำรวจ เขต 4 เป็นตัวอย่าง เมื่อออกพรรษาเสร็จงานกฐิน พระอาจารย์ฝั้น ท่านจะพาภิกษุ สามเณร เดินธุดงค์ไปวิเวกตามสถานที่ต่าง ๆ ในปี พ.ศ. 2491 เมื่อออกพรรษา ท่านได้พาภิกษุสามเณร เดินธุดงค์ไปวิเวกที่ ภูวัว ในท้องที่ อำเภอบึงกาฬ จังหวัดหนองคาย

ศาสนสถานที่สำคัญภายในของวัด[แก้]

เจดีย์พิทักษ์รักษ์ภูธร[แก้]

         เป็นศาสนสถานที่สำคัญของวัด ที่จัดสร้างโดย พระครูวิทิตธรรมาภิวัฒน์ (วิชิต วิทิโต) สร้างเพื่อเก็บบรรจุพระบรมสารีริกธาตุและอัฐิธาตุของครูบาอาจารย์พระกรรมฐานสายพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต เช่น พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร, หลวงปู่คำดี ปญฺโญภาโส, พระอาจารย์สุวัจน์ สุวโจ, หลวงปู่เทส เทสฺรํสี และหลวงตาพระมหาบัว ญาณสมฺปนฺโน เป็นต้น

พระอุโบสถสังฆภูธร[แก้]

         เป็นศาสนสถานที่สำคัญของวัด ที่จัดสร้างตามดำริของพระรัชมงคลนายก (คำดี ปญฺโญภาโส) สร้างเพื่อประกอบสังฆกรรมทางศาสนา ลักษณะพิเศษของพระอุโบสถ คือเป็นศาลาและพระอุโบสถในหลังเดียวกัน ชั้นล่างเป็นศาลา ชั้นบนเป็นพระอุโบสถสำหรับประกอบสังฆกรรม เช่น พิธีบวช ลงปาฏิโมกข์ ต้อนรับพระเถระ เป็นต้น

กุฏิพระอาจารย์ฝั้น อาจาโร[แก้]

         เป็นสถานที่พำนักของพระอาจารย์ฟั่น อาจาโร ในอดีตเพื่อพักผ่อนอิริยาบถและเจริญวิปัสสนากรรมฐานตามฉบับพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต เป็นลักษณะกุฏิกรรมฐานฉบับพระป่าที่มีความเรียบง่าย เหมาะแก่การปฏิบัติธรรม ซึ่งได้บูรณะและคงความเป็นเอกลักษณ์มาจนถึงปัจจุบัน

 รายนามเจ้าอาวาสสำคัญของวัด[แก้]

[2]พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร[แก้]

         พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร เป็นพระสุปฏิปันโน ที่น่าเคารพบูชากราบไหว้อย่างยิ่ง เมื่อสมัยท่านยังมีชีวิตอยู่ ผู้คนทั้งหลายเกือบทุกภาคของประเทศได้หลั่งไหลมาคารวะกราบไหว้เป็นประจำ แม้ล้นเกล้าสองพระองค์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ก็ทรงให้ความเคารพ เสด็จไปทรงเยี่ยมและทรงสนทนาธรรมกับหลวงปู่ฝั้นหลายครั้ง จึงอาจกล่าวได้ว่าท่านพระอาจารย์ฝั้น อาจาโร เป็นปูชนียบุคคลอันควรค่าแก่ความเคารพนับถืออย่างแท้จริง

[3]พระโพธิธรรมจารย์เถร วิ. (สุวัจน์ สุวโจ)[แก้]

         พระโพธิธรรมาจารย์เถร วิ. (สุวัจน์ สุวโจ) พระอริยเจ้าผู้เป็นศิษย์สายกรรมฐานของท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต อีกรูปหนึ่ง เมื่อได้พบท่านพระอาจารย์มั่น ครั้งแรก ได้รับโอวาทธรรมจากท่านว่า “คําสอนของพระพุทธเจ้าไม่ใช่ของเล่น ถ้าทำเล่นจะไม่เห็นของจริง” ท่านเป็นศิษย์ต้นของท่านพระอาจารย์ฝั้น อาจาโร ได้รับการยกย่องจากหลวงตามหาบัว ญาณสมฺปนฺโน ว่า เป็นพระอรหันต์องค์หนึ่งท่านเป็นพระที่รักสันโดษ โดดเดี่ยว ปลีกวิเวก มีจิตฝังลึกลงในธรรมของพระตถาคตเจ้าด้วยศรัทธา

[4]พระรัชมงคลนายก (คำดี ปญฺโญภาโส)[แก้]

         พระรัชมงคลนายก (คำดี ปัญโญภาโส) อดีตเจ้าคณะจังหวัดสกลนคร ฝ่ายธรรมยุต เจ้าอาวาสวัดป่าสุทธาวาส และอดีตผู้รักษาการวัดป่าภูธรพิทักษ์ เป็นพระปฏิปทาน่าเลื่อมใสมีความโดดเด่นทั้งปริยัติคือเป็นผู้คงแก่เรียน และการปฏิบัติคือเป็นผู้เจริญรอยตามพระอาจารย์ฝั้น อาจาโร ผู้เป็นอาจารย์ของท่านเอง โดยมีวัตรปฏิบัติที่มักน้อยและสันโดษ

[5]พระครูอุดมธรรมสุนทร (แปลง สุนฺทโร)[แก้]

         พระครูอุดมธรรมสุนทร (แปลง สุนฺทโร) ทายาทกรรมฐานพระอาจารย์ฝั้น อาจาโร พระมหาเถระผู้เป็นแบบอย่างด้านจริยาวัตรปฏิบัติอันงดงาม มีอุบายกรรมฐานที่สั่งสอนและเทศนาอย่างพิสดาร มักสอดแทรกความคิดในการดำเนินชีวิตในทุกเวลาที่พบเห็นหรือสนทนากับท่าน เช่นคำสอนตอนหนึ่งว่า “แค่สอนให้รักษา พุทโธคำเดียวยังรักษาบ่ได้ จะให้เทศน์หยังหลายแท้ธรรมะนี่”

พระครูวิทิตธรรมาภิวัฒน์ (วิชิต วิทิโต)[แก้]

         พระครูวิทิตธรรมาภิวัฒน์ (วิชิต วิทิโต) ศิษย์พระญาณสิทฺธาจารย์ วิ. (สิม พุทฺธาจาโร) และพระรัชมงคลนายก (คำดี ปัญโญภาโส) เจ้าอาวาสวัดป่าภูธรพิทักษ์รูปปัจจุบัน ดำรงตำแหน่งเจ้าคณะอำเภอกุสุมาลย์ฝ่ายธรรมยุติกนิกาย และพระอุปัชฌาย์คณะธรรมยุติกกาย

                                                                                                                   

  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 เว็บสนม, Websanom (วันพฤหัสบดีที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2554). "วัดป่าภูธรพิทักษ์ จ.สกลนคร". WEBSANOM - เว็บสนม. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  2. เทียนถาวร, วิชัย (2021-06-17). "หลวงปู่ฝั้น อาจาโร พระอาจารย์ผู้เปี่ยมล้นเมตตาธรรม". มติชนออนไลน์.
  3. "หลวงปู่สุวัจน์ สุวโจ พระอริยเจ้าผู้หลุดพ้นด้วยอิริยาบถเดิน". ๑๐๘ พระเกจิ. 2020-11-14.
  4. "หลวงปู่คำดี ปัญโญภาโส มีปัญญาเป็นแสงสว่างจึงได้ลิ้มรสแห่งธรรม". https://www.posttoday.com (ภาษาอังกฤษ). 2010-07-18. {{cite web}}: แหล่งข้อมูลอื่นใน |website= (help)
  5. "หลวงปู่แปลง สุนทโร วัดป่าอุดมสมพร อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร". ๑๐๘ พระเกจิ. 2020-12-03.