ผีดิบอาละวาด

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ผีดิบอาละวาด  
คุณนายเฟอร์กุสันที่ถูกกล่าวหาว่าเป็น "ผีดิบ" ภาพวาดโดยดับเบิลยู. ที. เบนดาในนิตยสารเฮิตส์อินเตอร์เนชันแนลปี ค.ศ. 1924
ผู้ประพันธ์อาร์เธอร์ โคนัน ดอยล์
ชื่อเรื่องต้นฉบับThe Adventure of the Sussex Vampire
ผู้แปลอ. สายสุวรรณ
ประเทศสหราชอาณาจักร
สหรัฐอเมริกา
ภาษาอังกฤษ
ชุดเรื่องสั้นเชอร์ล็อก โฮมส์ ชุดบันทึกคดี
ประเภทเรื่องสั้นนวนิยายนักสืบ
วันที่พิมพ์มกราคม ค.ศ. 1924
เรื่องก่อนหน้าคนลิง 
เรื่องถัดไปพินัยกรรมประหลาด 
ข้อความผีดิบอาละวาด ที่ วิกิซอร์ซ

"ผีดิบอาละวาด" (อังกฤษ: The Adventure of the Sussex Vampire) เป็นเรื่องสั้นเรื่องหนึ่งใน 56 เรื่องที่เกี่ยวกับเชอร์ล็อก โฮมส์ เขียนโดยอาร์เธอร์ โคนัน ดอยล์ ตีพิมพ์ครั้งแรกในนิตยสารสแตรนด์ในสหราชอาณาจักรในเดือนมกราคม ค.ศ. 1924 และตีพิมพ์ในนิตยสารเฮิตส์อินเตอร์เนชันแนลในสหรัฐอเมริกาในเดือนเดียวกัน เป็นเรื่องสั้นที่รวบรวมตีพิมพ์ในหนังสือรวมเรื่องสั้น เรื่องสั้นเชอร์ล็อก โฮมส์ ชุด บันทึกคดี ในปี ค.ศ. 1927

เนื้อเรื่อง[แก้]

โฆษณาจากนิตยสารเดอะเรดิโอไทม์ฉบับวันที่ 23 ธันวาคม ค.ศ. 1923 เกี่ยวกับนิตยสารสแตรนด์ฉบับเดือนมกราคม ค.ศ. 1924 ซึ่งนำไปสู่ประกาศของ "เรื่องใหม่ของเชอร์ล็อก โฮมส์โดย เอ. โคนัน ดอยล์" ซึ่งยังไม่ได้ระบุชื่อเรื่อง
ภาพวาดจากนิตยสารสแตรนด์ในปี ค.ศ. 1924 โดยโฮเวิร์ด เอคล็อก

โฮมส์ได้รับจดหมายประหลาดที่อ้างถึงเรื่องผีดิบ (แวมไพร์) ในเช้าวันถัดมา มิสเตอร์เฟอร์กุสัน (Mr. Robert Ferguson) มายังบ้านเลขที่ 221 บี ถนนเบเกอร์เพื่อพบกับโฮมส์ เขาเชื่อว่าภรรยาคนที่สองชาวเปรูของตนดูดเลือดของบุตรชายคนเล็กที่เป็นทารกของเขา มิสเตอร์เฟอร์กุสันมีบุตรชายคนโตอายุ 15 ปีชื่อแจ็ก (Jack) ซึ่งประสบอุบัติเหตุร้ายแรงตั้งแต่ยังเด็ก แม้ว่าเขายังสามารถเดินได้แต่ก็ใช้ขาได้ไม่เต็มที่ แจ็กเคยถูกแม่เลี้ยง (ภรรยาคนที่สองของมิสเตอร์เฟอร์กุสัน) ตีสองครั้งอย่างไม่ทราบสาเหตุ ตั้งแต่ภรรยาคนที่สองของมิสเตอร์เฟอร์กุสันถูกพบว่ากำลังดูดเลือดของบุตรชายคนเล็ก เธอก็ขังตัวเองอยู่ในห้องและไม่ยอมออกมา อนุญาตให้เฉพาะโดโรเรส (Dolores) หญิงรับใช้คนสนิทให้เข้าไปได้และคอยนำอาหารไปให้

ประวัติการตีพิมพ์[แก้]

"ผีดิบอาละวาด" ตีพิมพ์ครั้งแรกในสหราชอาณาจักรในนิตยสารสแตรนด์ในเดือนมกราคม ค.ศ. 1924 และตีพิมพ์ครั้งแรกในสหรัฐอเมริกาในนิตยสารเฮิตส์อินเตอร์เนชันแนล (ในชื่อเรื่องภาษาอังกฤษว่า "The Sussex Vampire"[1]) ในเดือนเดียวกัน[2] ในนิตยสารสแตรนด์มีภาพวาดประกอบเนื้อเรื่อง 4 ภาพวาดโดยโฮเวิร์ด เค. เอคล็อก ในนิตยสารเฮิตส์อินเตอร์เนชันแนลมีภาพวาดประกอบเนื้อเรื่อง 4 ภาพวาดโดยดับเบิลยู. ที. เบนดา[3] เรื่องสั้นถูกรวมในหนังสือรวมเรื่องสั้น เรื่องสั้นเชอร์ล็อก โฮมส์ ชุด บันทึกคดี[3] ซึ่งตีพิมพ์ในสหรัฐอเมริกาและสหราชอาณาจักรในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1927[4]

อ้างอิงและบรรณานุกรม[แก้]

อ้างอิง
  1. "Hearst's International. v.45 1924 Jan-Jun". HathiTrust Digital Library. p. 30. สืบค้นเมื่อ 14 November 2020.
  2. Smith (2014), p. 186.
  3. 3.0 3.1 Cawthorne (2011), p. 157.
  4. Cawthorne (2011), p. 151.
บรรณานุกรม

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]