ผักกระชับ
ผักกระชับ | |
---|---|
![]() | |
Xanthium strumarium | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Plantae |
ไม่ได้จัดลำดับ: | Angiosperms |
ไม่ได้จัดลำดับ: | Eudicots |
ไม่ได้จัดลำดับ: | Asterids |
อันดับ: | Asterales |
วงศ์: | Asteraceae |
วงศ์ย่อย: | Asteroideae |
เผ่า: | Heliantheae |
สกุล: | Xanthium |
สปีชีส์: | Xanthium strumarium |
ชื่อทวินาม | |
Xanthium strumarium L. | |
Subspecies | |
ชื่อพ้อง | |
Xanthium canadense Mill. |
ผักกระชับ ชื่อวิทยาศาสตร์: Xanthium strumarium; rough cocklebur[1] clotbur, common cocklebur, large cocklebur, woolgarie bur) จังหวัดเชียงใหม่ เรียก หญ้าผมยุ่ง จังหวัดราชบุรี เรียก ขี้ครอก เป็นพืชฤดูเดียวอยู่ใน วงศ์ทานตะวัน[2] คาดว่ามีถิ่นกำเนิดในอเมริกาเหนือ และแพร่กระจายตามธรรมชาติทั่วโลก[3][4]
ผักกระชับเป็นผักพื้นบ้านของจังหวัดระยอง ต้นอ่อนใส่ในแกงส้ม กินกับน้ำพริก หรือผัดน้ำมันหอย ใช้เป็นยาได้โดยถอนทั้งรากมาต้มอาบแก้ผื่นแพ้ ต้มกินแก้ไซนัสอักเสบ นอกนั้นยังแก้อาการปวดฟันได้ [5]เมล็ดของผักกระชับมีสารอัลคาลอยด์ที่เป็นพิษต่อสัตว์ เรียก carboxyatratyloside[6]
พืชนี้มีฤทธิ์ทางยา[7] ใช้เป็นยาพื้นบ้านใน เอเชียใต้ และการแพทย์แผนจีน ในภาษาเตลูกู เรียกพืชนี้ว่ามารูลา มาตางี พืชชนิดนี้เกี่ยวข้องกับการเสียชีวิตอย่างน้อย 19 คนและเจ็บป่วย 76 คนใน สิลเหต บังกลาเทศ เมื่อ พ.ศ. 2550 มีคนรับประทานพืชนี้จำนวนมากเพราะความอดอยากระหว่างเกิดน้ำท่วมในช่วงมรสุมและไม่มีพืชอื่นรับประทาน อาการได้แก่ อาเจียน อารมณ์เปลี่ยนแปลง และไม่มีสติ[8]
Xanthium strumarium - MHNT
อ้างอิง[แก้]
- ↑ "BSBI List 2007". Botanical Society of Britain and Ireland. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (xls)เมื่อ 2015-01-25. สืบค้นเมื่อ 2014-10-17.
- ↑ Everitt, J.H.; Lonard, R.L.; Little, C.R. (2007). Weeds in South Texas and Northern Mexico. Lubbock: Texas Tech University Press. ISBN 0-89672-614-2.
- ↑ Atlas of Florida Vascular Plants (อังกฤษ)
- ↑ Calflora Taxon Report 8367 Xanthium strumarium L.
- ↑ http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1450225268
- ↑ Islam MR, Uddin MZ, Rahman MS, Tutul E, Rahman MZ, Hassan MA, Faiz MA, Hossain M, Hussain M, Rashid MA (Dec 2009). "Ethnobotanical, phytochemical and toxicological studies of Xanthium strumarium L". Bangladesh Medical Research Council Bulletin. 35 (3): 84–90. doi:10.3329/bmrcb.v35i3.3658. PMID 20922910.
- ↑ Kamboj Anjoo, Saluja Ajay Kumar "Phytopharmacological review of Xanthium strumarium L. (Cocklebur) 2010 | Volume: 4 | Issue Number: 3 | Page: 129-139
- ↑ Gurley ES, Rahman M, Hossain MJ, Nahar N, Faiz MA, Islam N, Sultana R, Khatun S, Uddin MZ, Haider MS, Islam MS, Ahmed BN, Rahman MW, Mondal UK, Luby SP (2010). "Fatal outbreak from consuming Xanthium strumarium seedlings during time of food scarcity in northeastern Bangladesh". PLOS ONE. 5 (3): e9756. Bibcode:2010PLoSO...5.9756G. doi:10.1371/journal.pone.0009756. PMC 2841199. PMID 20305785.