ข้ามไปเนื้อหา

โรงแรมเมอเวนพิค บีดีเอ็มเอส เวลเนส รีสอร์ท กรุงเทพ

พิกัด: 13°44′51″N 100°32′50″E / 13.74750°N 100.54722°E / 13.74750; 100.54722
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก ปาร์คนายเลิศ)
โรงแรมเมอเวนพิค บีดีเอ็มเอส เวลเนส รีสอร์ท กรุงเทพ
โรงแรมเมอเวนพิค บีดีเอ็มเอส เวลเนส รีสอร์ท กรุงเทพ เมื่อ พ.ศ. 2565
โรงแรมเมอเวนพิค บีดีเอ็มเอส เวลเนส รีสอร์ท กรุงเทพตั้งอยู่ในกรุงเทพมหานคร
โรงแรมเมอเวนพิค บีดีเอ็มเอส เวลเนส รีสอร์ท กรุงเทพ
ข้อมูลทั่วไป
ที่ตั้ง2/14 ถนนวิทยุ แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร
พิกัด13°44′51″N 100°32′50″E / 13.74750°N 100.54722°E / 13.74750; 100.54722
แล้วเสร็จพ.ศ. 2526
เจ้าของบริษัท กรุงเทพดุสิตเวชการ จำกัด (มหาชน)

โรงแรมเมอเวนพิค บีดีเอ็มเอส เวลเนส รีสอร์ท กรุงเทพ (อังกฤษ: Mövenpick BDMS Wellness Resort Bangkok) เป็นโรงแรมที่ตั้งอยู่บนถนนวิทยุ เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร มีห้องพักจำนวน 293 ห้อง โรงแรมยังมีคลินิกสุขภาพด้วย[1]

ประวัติ

[แก้]

พื้นที่ดั้งเดิมของโรงแรมนี้เป็นของนายเลิศ หรือต่อมาคือ พระยาภักดีนรเศรษฐ (เลิศ เศรษฐบุตร) นายเลิศเป็นเจ้าของที่ดินมากมายในพระนคร เขาตัดสินใจขยายพื้นที่ออกไป ด้วยการซื้อที่ดินแถวสุขุมวิทในสมัยต้นรัชกาลที่ 6 ซึ่งสมัยนั้นเป็นทุ่งนาที่เรียกว่า ทุ่งบางกะปิ มีราคาตารางวาละ 8 สตางค์ โดยได้ตั้งใจพัฒนาพื้นที่ประมาณ 60 ไร่ แถวเพลินจิตเป็นบ้านพักตากอากาศ มีการสร้างเรือนสักหลังใหญ่ใน พ.ศ. 2458 รวมถึงขุดคลองสมคิดหน้าบ้านเชื่อมต่อกับคลองแสนแสบ และจ้างสถาปนิกชาวอิตาลีออกแบบสวนหย่อม นายเลิศยังเปิดให้คนทั่วไปเข้าชมในวันอาทิตย์ และให้ลูกเสือเข้ามาพักแรม[2] คนทั่วไปเรียกว่า ปาร์คนายเลิศ ส่วนเรือนไม้สัก เรียกว่า บ้านปาร์ค[3]

ต่อมาเลอศักดิ์ สมบัติศิริ ซึ่งเป็นบุตรสาวของนายเลิศ ได้กันพื้นที่ราว 15 ไร่ จากพื้นที่ทั้งหมด 33 ไร่ ที่เดิมเคยเป็นบ้านที่พักอาศัยส่วนตัวของตระกูล เพื่อมาสร้างโรงแรมจำนวน 338 ห้อง เปิดให้บริการมาตั้งแต่ พ.ศ. 2526 บริหารโดยกลุ่มฮิลตัน โดยใช้ชื่อว่า โรงแรมฮิลตัน อินเตอร์เนชั่นแนล บางกอก ณ ปาร์คนายเลิศ ต่อมามีการปรับโฉมและและได้บริษัทแรฟเฟิลส์ อินเตอร์เนชั่นแนล เข้ามาบริหาร ภายใต้ชื่อ โรงแรมปาร์ค นายเลิศ กรุงเทพ แรฟเฟิลส์ อินเตอร์เนชั่นแนล และ โรงแรมสวิสโฮเต็ล ปาร์ค นายเลิศ ตามลำดับ[4]

เดวิด คาร์ราดีน เสียชีวิตภายในห้องพักของโรงแรมแห่งนี้ เมื่อวันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2552[5]

บริษัท กรุงเทพดุสิตเวชการ จำกัด (มหาชน) (BDMS) ซื้อที่ดินโครงการปาร์คนายเลิศและที่ดินรวม 15 ไร่ผ่านตลาดหลักทรัพย์เมื่อวันที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2559 มูลค่ารวม 10,800 ล้านบาท ประกอบด้วย อาคารโรงแรมสวิสโฮเต็ล ปาร์ค นายเลิศ อาคาร Promenade และสิ่งปลูกสร้างอื่น ๆ รวม 15 ไร่[6] ต่อมา พ.ศ. 2562 กรุงเทพดุสิตเวชการได้ร่วมมือกับเครือเมอเวนพิคซึ่งเป็นเครือโรงแรมสัญชาติสวิส โดยใช้ชื่อว่า "โรงแรมเมอเวนพิค บีดีเอ็มเอส เวลเนส รีสอร์ท กรุงเทพ"[7]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Mövenpick BDMS Wellness Resort Bangkok มิติใหม่การพักผ่อนคู่ดูแลสุขภาพใจกลางกรุงเทพฯ". แกลมไทยแลนด์.
  2. "บ้านปาร์คนายเลิศ : เรือนไม้สักร้อยกว่าปีใจกลางเพลินจิต ของนักธุรกิจเจ้าของกิจการ รถเมล์ขาวนายเลิศ". เดอะคลาวด์.
  3. "บ้านปาร์คนายเลิศ". ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน).
  4. "ปิดฉากรร.ปาร์คนายเลิศ ทายาทรุ่น 4'สมบัติศิริ'ขายทิ้ง". ฐานเศรษฐกิจ.
  5. "Autopsy: David Carradine Died by Asphyxiation - ABC News". ABC News.
  6. "10,800 ล้านบาท ปิดตำนาน 130 ปี "ปาร์คนายเลิศ"". ผู้จัดการออนไลน์.
  7. "Bangkok's Nai Lert Park Hotel to revitalise as a Mövenpick wellness resort | TTG Asia".