ปัญจายตีราช

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ปัญจายตีราช (ฮินดี: पंचायती राज; อักษรโรมัน: panchayati raj) เป็นระบบการเมืองเอเชียใต้ ซึ่งส่วนใหญ่พบในอินเดีย ปากีสถาน และเนปาล "ปัญจายตี" มีความหมายตามตัวอักษรว่า ที่ประชุม (อยต) ซึ่งประกอบด้วยผู้อาวุโสที่มีสติปัญญาและได้รับความเคารพนับถือจำนวนห้าคน (ปญฺจ) ที่เลือกและได้รับการยอมรับโดยชุมชนหมู่บ้าน แต่เดิมแล้ว ที่ประชุมนี้มีหน้าที่ตัดสินข้อพิพาทระหว่างบุคคลกับหมู่บ้าน รัฐบาลอินเดียสมัยใหม่มีกลไกบริหารแบบกระจายอำนาจจำนวนมากไปถึงระดับหมู่บ้าน โดยให้อำนาจปัญจายตีหมู่บ้านที่ได้รับเลือกเข้ามา[1]

ปัญจายตีราชเป็นระบบการปกครองโดยมีปัญจายตีหมู่บ้านเป็นหน่วยพื้นฐานของการบริหาร แบ่งออกได้เป็นสามระดับ ได้แก่ หมู่บ้าน เขต (block) และอำเภอ

คำว่า "ปัญจายตี" เป็นคำที่ค่อนข้างใหม่ เพิ่งจะถือกำเนิดขึ้นระหว่างการปกครองของอังกฤษ "ราช" ตามตัวอักษรหมายถึงการปกครองหรือรัฐบาล มหาตมา คานธีสนับสนุนปัญจายตี อันเป็นรูปแบบกระจายอำนาจของรัฐบาลซึ่งหมู่บ้านแต่ละแห่งรับผิดชอบต่อกิจการของตนเอง ดังที่เป็นรากฐานของระบบการเมืองอินเดีย

ปัญจายตีได้รับการยอมรับโดยรัฐบาลรัฐในช่วงคริสต์ศตวรรษ 1950 และ 1960 เมื่อมีการผ่านกฎหมายสถาปนาปัญจายตีในหลายรัฐ นอกจากนี้ยังพบการสนับสนุนในรัฐธรรมนูญอินเดีย ด้วยการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญครั้งที่ 73 ในปี พ.ศ. 2535 เพื่ออำนวยความสะดวกแก่แนวคิดดังกล่าว รัฐบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2535 ยังมีส่วนที่กล่าวถึงข้อกำหนดสำหรับการมอบอำนาจการปกครองและหน้าที่แก่ปัญจายตีทั้งในการเตรียมแผนการพัฒนาเศรษฐกิจและความยุติธรรมทางสังคมและการนำไปปฏิบัติที่เกี่ยวข้องกับยี่สิบเก้าหัวข้อที่บรรจุในหมายกำหนดที่สิบเอ็ดของรัฐธรรมนูญ[2]

อ้างอิง[แก้]

  1. Rohit Mullick & Neelam Raaj (9 September 2007). "Panchayats turn into kangaroo courts". The Times of India.
  2. India 2007, p. 696, Publications Division, Ministry of Information and Broadcasting, Government of India