ปลาโมลา
ปลาโมลา ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: ไมโอซีนยุคปลาย ถึง ปัจจุบัน[1] | |
---|---|
ปลาแสงอาทิตย์ (Mola mola) ในพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำ | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Animalia |
ไฟลัม: | Chordata |
ชั้น: | Actinopterygii |
อันดับ: | Tetraodontiformes |
วงศ์: | Molidae |
สกุล: | Mola Kölreuter, 1766 |
ชนิด | |
|
ปลาโมลา เป็นสกุลของปลาทะเลกระดูกแข็งขนาดใหญ่สกุล Mola จัดอยู่ในวงศ์ปลาแสงอาทิตย์ (Molidae)
โดยคำว่า Mola มาจากภาษาละติน แปลว่า "หินโม่" [2]
ปลาโมลา เป็นปลารูปร่างลักษณะประหลาด เนื่องจากมีรูปร่างเป็นทรงกลม ส่วนหัวมีขนาดใหญ่จนดูคล้ายมีแต่เพียงหัวอย่างเดียว ขณะที่ส่วนครีบต่าง ๆ ถูกหดสั้นลง โดยส่วนครีบหลังมีขนาดใหญ่ตั้งยาวขึ้นไปข้างบน และครีบก้นให้มีขนาดใหญ่ยื่นยาวลงมาด้านล่างลำตัว เมื่อว่ายน้ำจะใช้ครีบทั้ง 2 โบกไปมา ในขณะครีบข้างลำตัวทรงโค้งจะมีขนาดเล็กและบาง ๆ เท่านั้น ขณะที่ครีบหางจะหดสั้นเข้ามาติดตอนท้ายของลำตัวที่หดสั้นจนดูว่าเป็นปลาที่มีแต่ส่วนหัว
ปลาโมลา เป็นปลาที่มีขนาดใหญ่ อาจยาวได้ถึง 3.2 เมตรหรือ 4 เมตร และมีน้ำหนักมากกว่า 2 ตัน จัดเป็นปลาที่ว่ายน้ำได้ช้ามากด้วย มีผิวหนังที่หนาและยืดหยุ่น เป็นปลาที่มีปรสิตเกาะตามลำตัวมากถึง 40 ชนิด ดังนั้น จึงมีพฤติกรรมลอยตัวอยู่นิ่ง ๆ กลางน้ำเพื่อให้ปลาขนาดเล็กต่าง ๆ มาเกาะกินปรสิตตามตัว รวมถึงกระทั่งลอยไปถึงผิวน้ำเพื่อให้นกนางนวลจิกกินปรสิตด้วย[3]
การจำแนก
[แก้]แบ่งออกได้เป็น 4 ชนิด ใน 2 สกุล ได้แก่[4]
- Mola mola (Linnaeus, 1758) (ปลาแสงอาทิตย์, ปลาโมลา โมลา)
- Mola ramsayi (Giglioli, 1883) (ปลาแสงอาทิตย์ใต้)
- Mola tecta (Nyegaard, 2017) (ปลาฮูดวิงเกอร์โมลา)[5]
และยังมีอีก 2 ชนิดที่อยู่เพียงสกุลเดียว
- Ranzania laevis (Pennant, 1776) (ปลาแสงอาทิตย์เล็ก)
- Masturus lanceolatus (Liénard, 1840) (ปลาแสงอาทิตย์หางแหลม)
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Sepkoski, J. (2002). "A compendium of fossil marine animal genera". Bulletins of American Paleontology. 364: 560. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-05-10. สืบค้นเมื่อ 2014-06-30.
- ↑ "ระทึกขวัญกับปลา Mola Mola หนักราว 1 ตัน @ Bali". โอเคเนชั่น. September 2009. สืบค้นเมื่อ 30 June 2014.[ลิงก์เสีย]
- ↑ "ท่องโลกกว้าง: สัตว์ทะเลสุดแปลก". ไทยพีบีเอส. 18 June 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-07-05. สืบค้นเมื่อ 30 June 2014.
{{cite web}}
: ระบุ|archivedate=
และ|archive-date=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ|archiveurl=
และ|archive-url=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help) - ↑ "Molidae". ระบบข้อมูลการจำแนกพันธุ์แบบบูรณาการ. สืบค้นเมื่อ 30 June 2014.
- ↑ หน้า 14 ประชาชื่น - วิทยาการ - ไอที, 'ซันฟิช' ปลาประหลาด ผู้มีชีวิตแสนเศร้า. มติชนปีที่ 40 ฉบับที่ 14388: วันพุธที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2560