ปลาโนรีครีบสั้น
หน้าตา
(เปลี่ยนทางจาก ปลาโนรีหลังเหลือง)
ปลาโนรีครีบสั้น | |
---|---|
ปลาโนรีครีบสั้นในประเทศไทย เมื่อปี ค.ศ. 2000 | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Animalia |
ไฟลัม: | Chordata |
ชั้น: | Actinopterygii |
อันดับ: | Perciformes |
วงศ์: | Chaetodontidae |
สกุล: | Heniochus |
สปีชีส์: | H. singularius |
ชื่อทวินาม | |
Heniochus singularius Smith & Radcliffe, 1911 |
ปลาโนรีครีบสั้น หรือ ปลาโนรีหลังเหลือง (อังกฤษ: Singular bannerfish, Philippine kabubu) เป็นปลาทะเลชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Heniochus singularius ในวงศ์ปลาผีเสื้อ (Chaetodontidae)
มีรูปร่างคล้ายกับปลาโนรีครีบยาว (H. acuminatus) ซึ่งอยู่ในสกุลเดียวกัน แต่มีรูปร่างใหญ่กว่า มีครีบบนหลังสั้นกว่ามากและบริเวณท้ายลำตัวมีสีออกเหลืองเข้มกว่า [1]
มีขนาดโตเต็มที่ยาวประมาณ 30 เซนติเมตร พบในความลึกประมาณ 2-40 เมตร ชอบอยู่ในแหล่งน้ำที่ค่อนข้างขุ่นกว่าปลาโนรีชนิดอื่น กระจายพันธุ์ในมหาสมุทรแปซิฟิก ได้แก่ หมู่เกาะอันดามัน, มหาสมุทรอินเดีย, ซามัว, ทะเลญี่ปุ่น และนิวแคลิโดเนีย เป็นต้น
เป็นปลาที่แลดูแล้วไม่สวยเหมือนปลาโนรีชนิดอื่น ๆ แต่ก็นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม โดยถูกจับปะปนมากับปลาโนรีชนิดอื่น[2]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ [https://web.archive.org/web/20160305195546/http://www.manager.co.th/Travel/ViewNews.aspx?NewsID=9530000036933 เก็บถาวร 2016-03-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ปลาโนรี ธงทิวใต้ทะเลลึก / วินิจ รังผึ้ง จากผู้จัดการออนไลน์]
- ↑ Singular Bannerfish (โนรีเขา)[ลิงก์เสีย]
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อที่เกี่ยวข้องกับ ปลาโนรีครีบสั้น