ปลาหัวตะกั่วทองคำ
ปลาหัวตะกั่วทองคำ | |
---|---|
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Animalia |
ไฟลัม: | Chordata |
ชั้น: | Actinopterygii |
อันดับ: | Cyprinodontiformes |
วงศ์: | Aplocheilidae |
สกุล: | Aplocheilus |
สปีชีส์: | A. lineatus |
ชื่อทวินาม | |
Aplocheilus lineatus (Valenciennes, 1846) | |
ชื่อพ้อง | |
|
ปลาหัวตะกั่วทองคำ หรือชื่อที่เรียกในวงการปลาสวยงามว่า ปลามังกรน้อย (อังกฤษ: Striped panchax, Golden wonder killifish, Malabar killi) เป็นปลาน้ำจืดขนาดเล็กชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Aplocheilus lineatus อยู่ในวงศ์ปลาหัวตะกั่ว หรือ วงศ์ปลาคิลลี่ (Aplocheilidae)
มีรูปร่างทั่วไปคล้ายกับปลาหัวตะกั่ว (A. panchax) ซึ่งอยู่ในสกุลเดียวกัน ซึ่งพบในภูมิภาคเอเชียอาคเนย์ แต่สำหรับปลาหัวตะกั่วทองคำนั้นจะพบในตอนใต้ของประเทศอินเดีย และศรีลังกา
มีขนาดความยาวเต็มที่ประมาณ 10 เซนติเมตร จัดเป็นปลาชนิดหนึ่งในวงศ์นี้ที่มีขนาดใหญ่ ตัวผู้มีครีบที่แหลมยาวคล้ายหอกกว่าตัวเมีย และมีแถบสีแดงและดำบริเวณครีบ ซึ่งตัวเมียไม่มี
เป็นปลาที่มีสีสันสวยงามมากชนิดหนึ่ง โดยจะมีสีเหลืองทองสว่างไสวไปทั่วทั้งตัว อันเป็นที่มาของชื่อเรียก ขณะที่บางตัวที่มีสีซีดจะเป็นสีเขียวหรือขาวจาง ๆ
เป็นปลาที่นิยมเลี้ยงกันเป็นปลาสวยงาม โดยเฉพาะในตู้ไม้น้ำ หรือเลี้ยงเดี่ยว ๆ ซึ่งสามารถเพาะขยายพันธุ์ในที่เลี้ยงได้แล้ว โดยเป็นปลาที่ออกไข่แพร่พันธุ์ง่าย ปลาจะวางไข่ติดกับไม้น้ำ ไข่จะมีเส้นใยพันอยู่รอบ ใช้เวลาฟักเป็นตัวราว 12-14 วัน ปลามีอายุยืนยาวได้ถึง 4 ปี โดยมีช่วงเว้นระยะการวางไข่ราว 2 สัปดาห์[1]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Aplocheilus lineatus (อังกฤษ)". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-06-17. สืบค้นเมื่อ 2011-10-04.
{{cite web}}
: ระบุ|accessdate=
และ|access-date=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ|archivedate=
และ|archive-date=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ|archiveurl=
และ|archive-url=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help)
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- Aplocheilus lineatus - Golden Wonder Panchax เก็บถาวร 2011-01-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน