ข้ามไปเนื้อหา

ปลาหมอลิฟวิงสโตน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ปลาหมอลิฟวิงสโตน
ปลาตัวผู้ขนาดโตเต็มวัย
ปลาขนาดเล็ก
สถานะการอนุรักษ์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ แก้ไขการจำแนกนี้
โดเมน: ยูแคริโอต
Eukaryota
อาณาจักร: สัตว์
Animalia
ไฟลัม: สัตว์มีแกนสันหลัง
Chordata
ชั้น: ปลาที่มีก้านครีบ
Actinopterygii
อันดับ: Cichliformes
Cichliformes
วงศ์: Cichlidae
Cichlidae
สกุล: ปลาหมอลายเมฆ
Nimbochromis
(Günther, 1894)
สปีชีส์: Nimbochromis livingstonii
ชื่อทวินาม
Nimbochromis livingstonii
(Günther, 1894)
ชื่อพ้อง
  • Hemichromis livingstonii Günther, 1894
  • Astatotilapia livingstonii (Günther, 1894)
  • Cyrtocara livingstonii (Günther, 1894)
  • Haplochromis livingstonii (Günther, 1894)
  • Paratilapia livingstonii (Günther, 1894)

ปลาหมอลิฟวิงสโตน (อังกฤษ: Livingston's cichild; ชื่อวิทยาศาสตร์: Nimbochromis livingstonii) ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลาหมอสี (Cichlidae)

จัดเป็นปลาหมอลายเมฆ หรือปลาหมอในสกุล Nimbochromis ชนิดหนึ่ง อาศัยอยู่ในทะเลสาบมาลาวี และแหล่งน้ำใกล้เคียง โดยเฉพาะทางตอนใต้ โดยชื่อวิทยาศาสตร์นั้นตั้งขึ้นเพื่อเป็นเกียรติแก่ เดวิด ลิฟวิงสโตน นักสำรวจทวีปแอฟริกาชาวสกอต[2]

เป็นปลาที่มีลวดลายสีน้ำตาลเข้มอยู่บนพื้นลำตัวสีขาวหรือสีครีมเด่นชัด มีขนาดโตเต็มที่ประมาณ 20-25 เซนติเมตร ตัวผู้มีขนาดใหญ่กว่าตัวเมีย โดยใช้สีและลวดลายที่โดดเด่นนี้ในการปรับสีสันให้กลมกลืนกับสภาพแวดล้อม เพื่อใช้ในการล่าเหยื่อ โดยจะปรับสีลำตัวให้กลมกลืนกับพื้นทราย และแกล้งทำเป็นตายด้วยการนอนนิ่ง ๆ เมื่อมีปลาขนาดเล็กว่ายผ่านเข้ามา ก็จะฮุบด้วยความรวดเร็ว และกลับไปนอนนิ่ง ๆ อีกครั้ง ซึ่งชื่อในภาษาพื้นเมืองเรียกปลาหมอลิฟวิงสโตนว่า "คาลิงโกโน" (kalingono) หมายถึง "นอนหลับ" และอาจจัดว่าเป็นปลาเพียงชนิดเดียวที่โลกที่สามารถกระทำเช่นนี้ได้ [3]

ปลาหมอลิฟวิงสโตนตัวผู้ในช่วงผสมพันธุ์จะมีสีสันสวยงามเป็นพิเศษ สีพื้นบริเวณลำตัวที่เป็นสีขาวก็จะกลายเป็นสีฟ้าหรือบางครั้งก็เป็นสีน้ำเงิน ในธรรมชาติชอบทำรังและวางไข่บนพื้นทรายใกล้กับโขดหิน ปลาตัวผู้จะปล่อยน้ำเชื้อออกมาผสมกับไข่ก่อน จากนั้นตัวเมียค่อยอมไข่เหล่านั้นไว้ในปาก ซึ่งผิดกับปลาหมอสีอมไข่ทั่วไปที่มักอมไข่ก่อนแล้วค่อยปล่อยน้ำเชื้อเข้าปฏิสนธิ

นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม โดยใช้ชื่อว่าเป็นปลาหมอลายเมฆที่มีสีสันสวยงามที่สุด โดยพฤติกรรมในที่เลี้ยงมักจะไม่ค่อยทำแกล้งตายเหมือนปลาในธรรมชาติ[2]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Konings, A.; Kazembe, J.; Makocho, P.; Mailosi, A. (2019). "Nimbochromis livingstonii". IUCN Red List of Threatened Species. 2019: e.T60910A155045068. doi:10.2305/IUCN.UK.2018-2.RLTS.T60910A155045068.en. สืบค้นเมื่อ 20 November 2021.
  2. 2.0 2.1 หน้า 102, ปลาหมอลายเมฆ และผองเพื่อน (ตอนที่ 2) โดย พิชิต ไทยยืนวงษ์. "ปลาสวยงาม". เทคโนโลยีชาวบ้าน วันที่ 01 กันยายน พ.ศ. 2552 ปีที่ 21 ฉบับที่ 462
  3. "สารคดี BBC : เปิดโลกกว้างแอฟริกา ตอนที่ 11 คลิป 2/2". ช่อง 7. 29 November 2014. สืบค้นเมื่อ 30 November 2014.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Nimbochromis livingstonii ที่วิกิสปีชีส์