ข้ามไปเนื้อหา

ปลาน้ำฝาย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ปลาน้ำฝาย
ปลาน้ำฝายหลังดำ (S. stejnegeri) ถือเป็นชนิดแรกที่ค้นพบในสกุลนี้
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Actinopterygii
อันดับ: Cypriniformes
วงศ์: Cyprinidae
สกุล: Sikukia
Smith, 1931
ชนิด
ดูในเนื้อหา

ปลาน้ำฝาย เป็นปลาน้ำจืดสกุลหนึ่ง ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) ใช้ชื่อสกุลว่า Sikukia (/สี-กุก-เอีย/)

ลักษณะ

[แก้]

มีลักษณะเหมือนปลาในวงศ์นี้ส่วนใหญ่ แต่มีขนาดเล็ก หัวมีขนาดเล็ก จะงอยปากสั้นทู่ ไม่มีหนวด มีเยื่อไขมันเหมือนวุ้นอยู่รอบ ๆ ดวงตา เกล็ดมีสีเงิน ครีบต่าง ๆ โปร่งแสง

ถูกค้นพบและอนุกรมวิธานโดย ฮิว แมคคอร์มิค สมิธ ที่คลองสีกุกในเขตจังหวัดชัยนาท (ปัจจุบันนิยมเรียกว่า "แม่น้ำน้อย") เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน ค.ศ. 1931 จึงตั้งชื่อสกุลให้สอดคล้องกับสถานที่ค้นพบ

มีทั้งหมด 4 ชนิด โดยชนิดที่พบบ่อยมี 2 ชนิด พบกระจายพันธุ์ทั่วไปในคลองและแม่น้ำสายใหญ่ในประเทศไทย เช่น แม่น้ำเจ้าพระยา, แม่น้ำโขง และพบได้จนถึงตอนใต้ของจีน[1]

ชนิด

[แก้]

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. สมโภชน์ อัคคะทวีวัฒน์ หน้า 173, สาระน่ารู้ปลาน้ำจืดไทย เล่ม ๑ (พ.ศ. 2547) ISBN 974-00-8701-9
  2. "Sikukia". ระบบข้อมูลการจำแนกพันธุ์แบบบูรณาการ.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Sikukia ที่วิกิสปีชีส์