ปลาซิวหนู

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ปลาซิวหนู
สถานะการอนุรักษ์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Actinopterygii
อันดับ: Cypriniformes
วงศ์: Cyprinidae
สกุล: Boraras
สปีชีส์: B.  urophthalmoides
ชื่อทวินาม
Boraras urophthalmoides
(Kottelat, 1991)
ชื่อพ้อง
  • Rasbora urophthalmoides
ซิวหนู พบบริเวณป่าพรุ ที่อำเภอเจาะไอร้อง จังหวัดนราธิวาส โดยนายแพทย์วรกานต์ รุ่งประเสริฐ

ปลาซิวหนู (อังกฤษ: Least rasbora, Exclamation-point rasbora; ชื่อวิทยาศาสตร์: Boraras urophthalmoides) เป็นปลาซิวชนิดหนึ่ง อยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae)

มีลักษณะคล้ายปลาซิวชนิดอื่น แต่มีขนาดเล็กกว่ามาก หัวและตามีขนาดโต ปากมีขนาดเล็ก ครีบและเกล็ดมีขนาดใหญ่ หัวและลำตัวมีสีส้มหรือแดงอมส้ม มีแถบสีดำพาดตามแนวยาวกลางลำตัว โคนหางมีจุดสีคล้ำ

มีขนาดโตเต็มที่ประมาณ 1.5-2 เซนติเมตร มีพฤติกรรมอยู่รวมตัวกันเป็นฝูงขนาดใหญ่และว่ายขึ้นมาใกล้ผิวน้ำ ในแหล่งน้ำที่นิ่งมีหญ้าและพืชน้ำขึ้นหนาแน่น และน้ำมีสภาพเป็นกรดเล็กน้อย (pH ต่ำกว่า 7 เล็กน้อย) เช่น น้ำในป่าพรุ เป็นต้น

จัดเป็นปลาที่พบได้น้อยในแหล่งที่อยู่ในธรรมชาติ โดยพบกระจายทั่วไปในภูมิภาคอินโดจีน สำหรับในประเทศไทยพบเพียงไม่กี่แห่ง อาทิ พื้นที่ชุ่มน้ำชายฝั่งทะเลใกล้ปากแม่น้ำเจ้าพระยา ในที่ราบลุ่มภาคกลางของประเทศ เป็นต้น [2]

นิยมเลี้ยงกันเป็นปลาสวยงาม ซึ่งสามารถเพาะขยายพันธุ์ได้แล้วในที่เลี้ยง[3]

ฝูงซิวหนู พบที่อำเภอระแงะ จังหวัดนราธิวาส โดยนายแพทย์วรกานต์ รุ่งประเสริฐ

อ้างอิง[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]