ปรากฏการณ์โอดางิริ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
นักแสดงโจ โอดางิริซึ่งเป็นที่มาของชื่อ "ปรากฏการณ์โอดางิริ"

ปรากฏการณ์โอดางิริ (อังกฤษ: Odagiri effect; ญี่ปุ่น: オダギリ効果โรมาจิOdagiri kōka) เป็นปรากฏการณ์ทางโทรทัศน์ที่รายการหนึ่ง ๆ ดึงดูดผู้ชมผู้หญิงจำนวนมากเกินความคาดหมาย เนื่องจากรายการดังกล่าวมีนักแสดงชายหรือตัวละครชายที่มีเสน่ห์มาร่วมรายการ ตั้งชื่อตามโจ โอดางิริ นักแสดงชาวญี่ปุ่นซึ่งรับบทแสดงในซีรีส์โทกูซัตสึปี พ.ศ. 2543 เรื่อง มาสค์ไรเดอร์คูกะ[1][2] ชื่อปรากฏการณ์ถูกนำไปใช้อย่างจงใจในบางรายการ และมักใช้ในอนิเมะแนวกีฬาหรือแนวไอดอล[3][4]

ต้นกำเนิด[แก้]

คำว่า "ปรากฏการณ์โอดางิริ" มีต้นกำเนิดมาจาก มาสค์ไรเดอร์คูกะ ซึ่งเป็นซีรีส์โทรทัศน์โทกูซัตสึ ที่มีกลุ่มเป้าหมายเป็นเด็กและวัยรุ่นตอนต้น อย่างไรก็ตาม โปรดิวเซอร์พบว่ารายการนี้ดึงดูดผู้ชมกลุ่มใหญ่ได้ 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มเด็กอายุระหว่าง 4 ถึง 12 ปี ซึ่งเป็นกลุ่มเป้าหมายของซีรีส์ตั้งแต่แรก และกลุ่มผู้หญิงอายุประมาณ 30 ปี รายการนี้ดึงดูดบรรดาแม่ ๆ ของเด็ก ๆ ที่เห็นว่านักแสดงนำคือโจ โอดางิริมีเสน่ห์ดึงดูดใจ ต่อจากนั้นโอดางิริก็ยิ่งมีชื่อเสียงในหน้าที่การงานมากขึ้น ในขณะที่ซีรีส์ภาคต่อ มาสค์ไรเดอร์อากิโตะ ก็พยายามสร้างปรากฏการณ์ขึ้นมาใหม่โดยคัดเลือกนักแสดงชายที่มีเสน่ห์สามคนมารับบทนำ เป็นอีกครั้งที่รายการนี้ดึงดูดผู้ชมที่เป็นผู้หญิงจำนวนมาก แม้ว่าผู้ชมในระยะยาวซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้ชายจะไม่เห็นด้วยก็ตาม[1][2]

การใช้ในอนิเมะ[แก้]

คำว่า "ปรากฏการณ์โอดางิริ" ถูกใช้กันอย่างแพร่หลายในซีรีส์อนิเมะแนวกีฬาและไอดอล อนิเมะที่มีการกล่าวถึงปรากฏการณ์โอดางิริ เช่น คุโรโกะ นายจิดพลิกสังเวียนบาส, ชมรมว่ายน้ำอิวาโทบิ, โอตาคุปั่นสะท้านโลก, เดส์, เดอะ พรินซ์ ออฟ เทนนิส, พรินซ์ออฟสไตรก์, ออลเอาต์!, เชียร์บอยส์!!, ยูริ!!! on ICE, พลังอักษะ เฮตาเลีย และ บินัง โคโก ชิคีว โบเอบุ เลิฟ![3][5][6] รายการอนิเมะเหล่านี้หลายรายการดึงดูดฟูโจชิ แฟนดอมยาโออิ และชายเป็นเกย์ส่วนหนึ่ง[4]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 Clements, Jonathan; Tamamuro, Motoko (2003). The Dorama Encyclopedia: A Guide to Japanese Drama Since 1953. Stone Bridge Press. p. 182. ISBN 1880656817.
  2. 2.0 2.1 Clements, Jonathan (2013). Anime: A History. British Film Institute, Palgrave Macmillan. p. 142. ISBN 978-1-84457-390-5.
  3. 3.0 3.1 Orsini, Lauren (February 18, 2015). "Sports anime and the Odagiri Effect". Otaku Journalist. สืบค้นเมื่อ December 15, 2016.
  4. 4.0 4.1 Orsini, Lauren (December 21, 2016). "What is a Fujoshi?". Anime News Network. สืบค้นเมื่อ December 21, 2016.
  5. Orsini, Lauren (July 18, 2016). "DAYS: Episodes 1–3". Anime News Network. สืบค้นเมื่อ December 15, 2016.
  6. Wolf, Ian (January 5, 2017). "Feature: A Guide to the Odagiri Effect". Anime UK News. สืบค้นเมื่อ January 6, 2017.