ข้ามไปเนื้อหา

ประเทศไทยในโอลิมปิกฤดูหนาว 2014

นี่คือบทความคุณภาพ คลิกเพื่อดูรายละเอียดเพิ่มเติม
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ประเทศไทย
ในโอลิมปิกฤดูหนาว 2014
รหัสไอโอซีTHA
เอ็นโอซีคณะกรรมการโอลิมปิกแห่งประเทศไทย
โซชี ประเทศรัสเซีย
นักกีฬา2 คน ใน 1 ชนิดกีฬา
ผู้เชิญธงชาติคเณศ สุจริตกุล (พิธีเปิดและพิธีปิด)
เหรียญ
ทอง
0
เงิน
0
ทองแดง
0
รวม
0
การเข้าร่วมแข่งขันโอลิมปิกฤดูหนาว (ภาพรวม)

ประเทศไทยเข้าร่วมการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูหนาว 2014โซชี ประเทศรัสเซีย ระหว่างวันที่ 7–23 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2014 โดยมีนักกีฬา 2 คน ได้แก่ คเณศ สุจริตกุล และวาเนสซา วนากร ทั้งคู่แข่งขันในสกีลงเขา ประเทศไทยเข้าร่วมแข่งขันโอลิมปิกฤดูหนาวเป็นครั้งที่สาม และเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ 2006 หลังไม่ได้เข้าร่วมแข่งขันโอลิมปิกฤดูหนาว 2010แวนคูเวอร์ บริติชโคลัมเบีย ประเทศแคนาดา

เบื้องหลัง

[แก้]

ประเทศไทยเข้าร่วมการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกครั้งแรกในโอลิมปิกฤดูร้อนในปี 1952 ที่เมืองเฮลซิงกิ และได้เข้าร่วมการแข่งขันโอลิมปิกฤดูร้อนทุกครั้งนับแต่นั้นมา ยกเว้นโอลิมปิกฤดูร้อนปี 1980 ที่ถูกคว่ำบาตร[1][2] พวกเขาเข้าร่วมการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูหนาวครั้งแรกในโอลิมปิกฤดูหนาว 2002[1] ประเทศไทยเข้าร่วมการแข่งขันโอลิมปิกฤดูหนาว 2006 แต่ไม่ได้เข้าร่วมการแข่งขันโอลิมปิกฤดูหนาว 2010 ทำให้โซชีเป็นการเข้าร่วมการแข่งขันโอลิมปิกฤดูหนาวครั้งที่สามของพวกเขา[1] กีฬาฤดูหนาวชนิดเดียวที่ประเทศไทยเคยแข่งขันมาก่อนคือ สกีข้ามทุ่ง[3] ทีมประเทศไทยที่แข่งขันในโซชี ประกอบด้วยนักกีฬา 2 คน ได้แก่ คเณศ สุจริตกุล และวาเนสซา วนากร ทั้งคู่แข่งขันในสกีลงเขา[4] คเณศ สุจริตกุลได้รับเลือกให้เป็นผู้ถือธงในพิธีเปิดและพิธีปิด[5][6]

สกีลงเขา

[แก้]
วาเนสซา วนากร หรือรู้จักในชื่อ วาเนสซา เมย์ ลงแข่งขันโอลิมปิกครั้งแรกของเธอที่โซชี

ประเทศไทยมีนักกีฬาสองคน (ชายหนึ่งคน และหญิงหนึ่งคน) ในตำแหน่งที่ผ่านการคัดเลือก ตามการจัดสรรโควตาขั้นสุดท้ายที่ประกาศเมื่อวันที่ 20 มกราคม ค.ศ. 2014[7] ประเทศไทยมีนักกีฬาชายที่ผ่านเกณฑ์สองคน และเลือกส่งหนึ่งคนที่เกิดในประเทศไทยและผ่านเข้ารอบจากการแข่งขันในหลายรายการ[8] คเณศ สุจริตกุล อายุ 21 ปี ในช่วงการแข่งขันโอลิมปิกที่โซชี[4] วันที่ 19 กุมภาพันธ์ คเณศ สุจริตกุล เข้าร่วมการแข่งขันสลาลอมยักษ์ โดยเขาทำเวลาได้ 1 นาที 37.82 วินาที[9] และ 1 นาที 37.24 วินาที[10] เขาทำเวลารวมได้ 3 นาที 15 วินาที อยู่ในอันดับที่ 65 จากนักกีฬา 72 คนที่แข่งขันจบ[11][12] วันที่ 22 กุมภาพันธ์ เขาแข่งขันสลาลอมไม่จบ[13]

วาเนสซา วานากร นักไวโอลินคลาสสิกที่รู้จักในชื่อ วาเนสซา เมย์ และมีพ่อเป็นคนไทย ได้เข้าแข่งขันเพื่อประเทศโดยใช้นามสกุลพ่อของเธอ[14][15] เธอมีอายุ 35 ปีในช่วงการแข่งขัน[4] วาเนสซา วานากร ผ่านเข้ารอบในวันสุดท้ายของรอบคัดเลือก โดยดูจากผลงานการแข่งขันสี่รายการที่สโลวีเนีย ต่อมา สหพันธ์สกีนานาชาติ ตัดสินว่าการแข่งขันดังกล่าวมีการจัดฉากขึ้น เพื่อให้เธอได้รับคะแนนตามจำนวนที่จำเป็นต่อการเข้าร่วมการแข่งขันที่โซชี[16][17][18] แต่ศาลอนุญาโตตุลาการกีฬาได้พลิกคำตัดสินของสหพันธ์สกีนานาชาติ โดยส่วนหนึ่งเป็นเพราะไม่สามารถหา "หลักฐานของการบงการใด ๆ โดย วาเนสซา วานากร เอง" ให้เป็นที่พอใจต่อศาลฯ ได้[19] คณะกรรมการโอลิมปิกสากล ยืนยันผลการแข่งขันโอลิมปิกของ วาเนสซา วานากร ในเวลาต่อมา[20] และในวันที่ 24 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2016 สหพันธ์สกีนานาชาติออกแถลงการณ์ขอโทษต่อสาธารณชนต่อ วาเนสซา วานากร และจ่ายเงิน "ตามความเหมาะสม" ให้แก่เธอสำหรับค่าเสียหาย[21] วันที่ 18 กุมภาพันธ์ วานากรลงแข่งขันรายการเดียวของเธอ ซึ่งก็คือสลาลอมยักษ์ เธอทำเวลาได้ 1 นาที 44.86 วินาที[22] และ 1 นาที 42.11 วินาที[23] เธอทำเวลารวมได้ 3 นาที 26.97 วินาที[24] เธอจบการแข่งขันในอันดับที่ 67 ซึ่งเป็นอันดับสุดท้ายในบรรดานักกีฬาที่จบการแข่งขัน แม้ว่าจะมีนักกีฬาอีก 22 คนที่แข่งขันไม่จบก็ตาม โดยเธอทำเวลาได้ช้ากว่าผู้ชนะเลิศ ทินา เมซ จากสโลวีเนียกว่า 50 วินาที[25]

นักกีฬา รายการ รอบที่ 1 รอบที่ 2 รวม
เวลา อันดับ เวลา อันดับ เวลา อันดับ
คเณศ สุจริตกุล สลาลอมยักษ์ บุคคลชาย 1:37.82 73 1:37.24 65 3:15.06 65
สลาลอม บุคคลชาย แข่งขันไม่จบ
วาเนสซา วานากร สลาลอมยักษ์ บุคคลหญิง 1:44.86 74 1:42.11 67 3:26.97 67

ดูเพิ่มเติม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 1.2 "Thailand". Sports Reference. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 มีนาคม 2018. สืบค้นเมื่อ 24 กรกฎาคม 2018.
  2. "54 Boycotted in 1980". The New York Times. 10 May 1984. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 January 2018. สืบค้นเมื่อ 1 May 2018.(ต้องรับบริการ)
  3. "Thailand Winter Sports". Sports Reference. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 กรกฎาคม 2017. สืบค้นเมื่อ 24 กรกฎาคม 2018.
  4. 4.0 4.1 4.2 "Thailand at the 2014 Sochi Winter Games". Sports Reference. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 กรกฎาคม 2017. สืบค้นเมื่อ 24 กรกฎาคม 2018.
  5. "Sochi 2014 Opening Ceremony – Flagbearers" (PDF). International Olympic Committee. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 23 มีนาคม 2018. สืบค้นเมื่อ 9 กรกฎาคม 2018.
  6. "Sochi 2014 Closing Ceremony – Flagbearers" (PDF). International Olympic Committee. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 23 มีนาคม 2018. สืบค้นเมื่อ 9 กรกฎาคม 2018.
  7. "Summary of Quota allocation as per 20.01.2014" (PDF). www.fis-ski.com. FIS. 20 มกราคม 2014. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 กุมภาพันธ์ 2014. สืบค้นเมื่อ 27 มกราคม 2014.
  8. ส่งคเณศลุยศึกโอลิมปิกฤดูหนาวที่รัสเซีย7-23ก.พ.นี้. 15 January 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 January 2014. สืบค้นเมื่อ 15 January 2014.
  9. "Alpine Skiing at the 2014 Sochi Winter Games: Men's Giant Slalom Run 1". Sports Reference. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 มีนาคม 2018. สืบค้นเมื่อ 24 กรกฎาคม 2018.
  10. "Alpine Skiing at the 2014 Sochi Winter Games: Men's Giant Slalom Run 2". Sports Reference. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 มีนาคม 2018. สืบค้นเมื่อ 24 กรกฎาคม 2018.
  11. "Alpine Skiing at the 2014 Sochi Winter Games: Men's Giant Slalom". Sports Reference. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 กรกฎาคม 2018. สืบค้นเมื่อ 24 กรกฎาคม 2018.
  12. "'คเณศ'คว้าที่65 สกีอลป.ฤดูหนาว". Thairath. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 มกราคม 2025. สืบค้นเมื่อ 23 มกราคม 2025.
  13. "Alpine Skiing at the 2014 Sochi Winter Games: Men's Slalom Run 1". Sports Reference. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 กรกฎาคม 2017. สืบค้นเมื่อ 24 กรกฎาคม 2018.
  14. "Violinist Vanessa-Mae switches her bow for ski poles as she puts music on ice to compete in Winter Olympics". The Independent. Reuters. 22 มกราคม 2013. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 มกราคม 2014. สืบค้นเมื่อ 19 มกราคม 2014.
  15. "Vanessa-Mae aims for Sochi 2014". Bangkok Post. 22 January 2013. สืบค้นเมื่อ 19 January 2014.
  16. "Athlete:Vanakorn Vanessa". www.fis-ski.com. International Ski Federation. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 เมษายน 2014. สืบค้นเมื่อ 19 มกราคม 2014.
  17. Williams, Ollie (19 มกราคม 2014). "Violinist Vanessa Mae set to compete at Winter Olympics". BBC. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 มกราคม 2014. สืบค้นเมื่อ 19 มกราคม 2014.
  18. Brian Homewood. "Alpine skiing-Violinist Mae gets four-year ban over manipulation". Reuters. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 พฤศจิกายน 2014. สืบค้นเมื่อ 11 พฤศจิกายน 2014.
  19. "Vanessa-Mae has four-year competitive skiing ban overturned". The Guardian. 19 มิถุนายน 2015. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 พฤษภาคม 2017. สืบค้นเมื่อ 24 กรกฎาคม 2018.
  20. Hope, Nick (20 มกราคม 2018). "Vanessa-Mae: Violinist ends Winter Olympics bid to protect music career". BBC Online. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 มิถุนายน 2018. สืบค้นเมื่อ 24 กรกฎาคม 2018.
  21. "World skiing body settles defamation case brought by violinist Vanessa-Mae". The Guardian. 24 กุมภาพันธ์ 2016. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 พฤศจิกายน 2017. สืบค้นเมื่อ 28 มิถุนายน 2016.
  22. "Alpine Skiing at the 2014 Sochi Winter Games: Women's Giant Slalom Run 1". Sports Reference. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 ตุลาคม 2017. สืบค้นเมื่อ 24 กรกฎาคม 2018.
  23. "Alpine Skiing at the 2014 Sochi Winter Games: Women's Giant Slalom Run 2". Sports Reference. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 ตุลาคม 2017. สืบค้นเมื่อ 24 กรกฎาคม 2018.
  24. "Alpine Skiing at the 2014 Sochi Winter Games: Women's Giant Slalom". Sports Reference. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 มีนาคม 2016. สืบค้นเมื่อ 24 กรกฎาคม 2018.
  25. Chadband, Ian (18 กุมภาพันธ์ 2014). "Vanessa-Mae slowest in giant slalom to place 67th and last of the finishers at Sochi 2014 Winter Olympics". The Daily Telegraph. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 กุมภาพันธ์ 2014. สืบค้นเมื่อ 18 กุมภาพันธ์ 2014.