ประตูตะระบา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ประตูตะระบา
ประตูตะระบา ช่วงปี ค.ศ. 1890

ประตูตะระบา (พม่า: သရပါ တံခါး, สัทอักษรสากล: [θəɹəbà dəɡá]) เป็นประตูเมืองพุกามเพียงแห่งเดียวที่ยังหลงเหลืออยู่ ประตูตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของเมืองเก่า แม้พงศาวดารพม่าจะยืนยันว่าเมืองพุกามได้เสริมสร้างป้อมปราการในปี ค.ศ. 849 หลักฐานการตรวจอายุคาร์บอนของฐานกำแพงหลักคือราว ค.ศ. 1020[1] หากเมืองนี้ได้รับการเสริมป้อมปราการในคริสต์ศตวรรษที่ 9 ตามที่พงศาวดารระบุ ป้อมปราการเหล่านั้นจะต้องสร้างด้วยวัสดุที่มีความคงทนน้อยกว่า เช่น โคลน

ในปัจจุบันประตูประกอบด้วยศาลอิฐสองหลัง แต่ละหลังตั้งตรงข้ามกัน ซึ่งเป็นนะผู้พิทักษ์สองตนชื่อ มินมหาคีรี และ นะมะดอจี้ ซึ่งกล่าวว่าถูกประหารชีวิตตามคำสั่งของกษัตริย์[2]

เอกสารสามมิติ[แก้]

โครงการซามานิ จากมหาวิทยาลัยเคปทาวน์ ประเทศแอฟริกาใต้ เสนอบริการด้านเอกสารเชิงพื้นที่แก่อนุสรณ์สถานในพุกาม เพื่อตอบสนองต่อความเสียหายที่เกิดจากเหตุแผ่นดินไหว สิงหาคม ค.ศ. 2016 รวมถึงประตูตะระบา[3][4][5]

อ้างอิง[แก้]

  1. Aung-Thwin (2005) : 38
  2. Pictorial Guide to Pagan
  3. CR hub: preserving Bagan temple by Zamani Project (ภาษาอังกฤษ), เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-12-19, สืบค้นเมื่อ 2019-09-26
  4. "Site - Bagan". zamaniproject.org. สืบค้นเมื่อ 2019-09-27.
  5. "Laser Scanning for Heritage Conservation - Bagan, Myanmar -". lidarnews.com (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2017-07-01. สืบค้นเมื่อ 2019-09-26.
  • Pictorial Guide to Pagan. Rangoon: Ministry of Culture. 1975 [1955].
  • Aung-Thwin, Michael (2005). The mists of Rāmañña: The Legend that was Lower Burma (illustrated ed.). Honolulu: University of Hawai'i Press. ISBN 9780824828868.
  • วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ ประตูตะระบา