ข้ามไปเนื้อหา

ปฏิบัติการไบติง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ปฏิบัติการไบติง
ส่วนหนึ่งของ การตีโฉบฉวยของบริติชในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง

บงรูเนวาลในช่วงการลาดตระเวนในเดือนธันวาคม ค.ศ. 1941
วันที่27–28 กุมภาพันธ์ 1942
สถานที่
บงรูเนวาล, ฝรั่งเศส
49°40′16″N 0°09′42″E / 49.6711°N 0.1618°E / 49.6711; 0.1618 (Bruneval Würzburg installation)
ผล บริติชชนะ
คู่สงคราม
 สหราชอาณาจักร นาซีเยอรมนี เยอรมนี
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ
จอห์น ฟรอสต์ ไม่ระบุ
หน่วยที่เกี่ยวข้อง
ไม่ระบุ
กำลัง
  • ทหาร 120 นาย[1][2]
  • 1 ฝูงเครื่องบินลำเลียงพลของ RAF
  • เรือสนับสนุนของราชนาวี
ทหาร ~130 นาย[3]
ความสูญเสีย
  • ถูกสังหาร 2 นาย
  • บาดเจ็บ 6 นาย
  • ถูกจับกุม 6 นาย[4][5]
  • ถูกสังหาร 5 นาย
  • บาดเจ็บ 2 นาย
  • ถูกจับกุม 2 นาย
  • สูญหาย 3 นาย[6]

ปฏิบัติการไบติง ยังเป็นที่รู้จักกันคือ การตีโฉบฉวยที่บงรูเนวาล เป็นปฏิบัติการการตีโฉบฉวยแบบร่วมกันของบริติชต่อสถานีเรดาร์ชายฝั่งของเยอรมันที่ติดตั้งอยู่ที่บงรูเนวาล(Bruneval) ทางตอนเหนือของฝรั่งเศสในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ในช่วงกลางคืนของวันที่ 27 - 28 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1942

สถานีเรดารที่ติดตั้งหลายแห่งเหล่านี้ได้ถูกระบุจากภาพถ่ายการลาดตระเวนทางอากาศของกองทัพอากาศสหราชอาณาจักร(RAF) ในช่วงปี ค.ศ. 1941 แต่ไม่ทราบถึงวัตถุประสงค์ที่แน่ชัดและลักษณะของอุปกรณ์ที่พวกเขาได้ครอบครอง นักวิทยาศาสตร์ชาวบริติชบางคนเชื่อว่าสถานีเหล่านี้เกี่ยวข้องกับการสูญเสียอย่างหนักของเครื่องบินทิ้งระเบิดของ RAF ที่ทำการโจมตีด้วยการทิ้งระเบิดต่อเป้าหมายในเขตยุโรปที่ถูกยึดครอง นักวิทยาศาสตร์ได้ร้องขอให้ทำการบุกเข้าไปในสถานที่เหล่านี้และศึกษาเทคโนโลยีที่มีอยู่ และหากเป็นไปได้ จะทำการคัดลอกและนำกลับไปที่สหราชอาณาจักรเพื่อทำการตรวจสอบเพิ่มเติม

เนื่องจากการป้องกันชายฝั่งที่กว้างขวางซึ่งถูกสร้างขึ้นโดยเยอรมันเพื่อป้องกันสถานีจากการจู่โจมทางทะเล ซึ่งเชื่อว่าการจู่โจมของหน่วยคอมมานโดจากทางทะเลจะต้องเผชิญความสูญเสียอย่างหนักและให้เวลาที่เพียงพอสำหรับฝ่ายข้าศึกในการทำลายสถานี ดังนั้นจึงมีการตัดสินใจว่าจะทำการจู่โจมด้วยการโดดร่มตามมาด้วยการอพยพทางทะเลซึ่งเป็นวิธีการที่เป็นไปได้มากที่สุดในการสร้างความประหลาดใจให้กับกองกำลังทหารที่รักษาการณ์ในสถานี ทำการยึดเทคโนโลยีในสภาพสมบูรณ์ และลดการบาดเจ็บล้มตายต่อกองกำลังจู่โจม

ในคือวันที่ 27 กุมภาพันธ์ ภายหลังจากการฝึกซ้อมอย่างหนักและเกิดความล่าช้าหลายครั้ง เนื่องจากสภาพอากาศที่ไม่เอื้ออำนวย กองร้อยของทหารโดดร่มภายใต้บัญชาการของพันตรี จอห์น ฟรอสต์ ได้ทำการโดดร่มลงในฝรั่งเศสซึ่งห่างจากจุดสถานีที่ติดตั้งเพียงไม่กี่ไมล์ จากนั้นกองกำลังหลักได้เข้าโจมตีที่วิลลา ซึ่งอุปกรณ์เรดาร์ได้ถูกเก็บขึ้น ได้สังหารสมาชิกของกองทหารเยอรมันไปหลายนายและเข้ายึดสถานีที่ภายหลังจากได้ทำการดับเพลิงช่วงสั้น ๆ

ช่างเทคนิคของ RAF พร้อมกับกองกำลังได้ทำการรื้อแผงเรดาร์ที่เวิร์ซบวร์ก และถอดชิ้นส่วนที่สำคัญหลายชิ้น หลังจากนั้นกองกำลังได้ทำการถอนตัวไปที่ชายหาดเพื่อทำการอพยพ กองกำลังทหารที่ได้รับมอบหมายให้ทำการเคลียร์ชายหาดในตอนแรกนั้นเกิดล้มเหลวที่จะทำเช่นนั้น แต่ในไม่ช้า กองกำลังเยอรมันที่รักษาการณ์อยู่ได้ถูกกำจัดด้วยความช่วยเหลือของกองกำลังหลัก กองกำลังทหารจู่โจมได้ถูกพาขึ้นโดยเรือลำเลียงพล จากนั้นได้ย้ายไปยังเรือปืนยนต์(motor gunboats) หลายลำ ซึ่งได้ส่งพวกเขากลับไปยังอังกฤษ

การตีโฉบฉวยครั้งนี้ได้ประสบความสำเร็จทั้งหมด กองทหารโดดร่มได้ประสบความสูญเสียที่ค่อนข้างน้อย และชิ้นส่วนของเรดาร์ที่พวกเขาได้นำกลับมาพร้อมกับช่างเทคนิคเรดาชาวเยอรมันที่ถูกจับกุมมาได้ ทำให้นักวิทยาศาสตร์ชาวบริติชได้เข้าใจถึงความก้าวหน้าในเรดาร์ของฝ่ายข้าศึก และสร้างมาตรการตอบโต้เพื่อต้านทานพวกเขา

อ้างอิง

[แก้]
  1. Frost, p. 46.
  2. Millar, p. 156.
  3. Harclerode, p. 210.
  4. Frost, p. 59.
  5. Millar, p. 181.
  6. Millar, p. 187.