ปฏิบัติการกู๊ดวู้ด

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ปฏิบัติการกู๊ดวู้ด
ส่วนหนึ่งของ ยุทธการที่ก็อง

รถถังเอ็ม4 เชอร์แมนสองคัน อย่างรถถังเชอร์แมนไฟร์ฟรายซึ่งกำลังลำเลียงทหารราบและรถถังเชอร์แมน เครบ ที่รอคำสั่งเพื่อเข้ารุก ณ จุดเริ่มต้นของปฏิบัติการกู้ดวู๊ด 18 กรกฎาคม
วันที่18–20 กรกฏาคม ค.ศ. 1944
สถานที่
นอร์ม็องดี, ฝรั่งเศส
49°10′54″N 00°16′03″W / 49.18167°N 0.26750°W / 49.18167; -0.26750
ผล See Aftermath section
คู่สงคราม
 สหราชอาณาจักร  ไรช์เยอรมัน
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ
เบอร์นาร์ด มอนต์โกเมอรี
ไมลส์ เด็มป์ซีย์
จอห์น คร็อคเกอร์
ริชาร์ด โอคอนนอร์
กึนเทอร์ ฟ็อน คลูเกอ
ไฮน์ริช เอเบอร์บัค
เซ็พ ดีทริช
ฮันส์ ฟอน ออบส์เฟิลเดอร์
กำลัง
กองพลยานเกราะ 3 หน่วย (ป. รถถัง 1,100 คัน)
กอลพลทหารราบ 2 หน่วย
กองพลน้อยยานเกราะ 1 หน่วย
กองพลยานเกราะ 3 หน่วย
กองพันรถถังหนัก 2 หน่วย(รถถัง 377 คัน)
กอลพลทหารราบ 4 หน่วย
ความสูญเสีย
4,000–5,000 นาย[1][2]
รถถัง 217–500 คัน
เชลย 2,000 นาย[3]
รถถัง 75–100 คัน[4][5]
Operation Goodwood
ขอบเขตปฏิบัติการOperation as part of an offensive strategy
โดยSecond Army
วัตถุประสงค์See Aftermath section
ผู้ลงมือSecond Army, VIII Corps and supporting attacks by I Corps

ปฏิบัติการกู๊ดวู้ด เป็นการรุกของอังกฤษในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ซึ่งเกิดขึ้นในวันที่ 18 และ 20 กรกฎาคม ค.ศ. 1944 เป็นส่วนหนึ่งของการสู้รบครั้งใหญ่สำหรับเมืองก็องในนอร์ม็องดี ประเทศฝรั่งเศส วัตถุประสงค์ของปฏิบัติการคือการโจมตีอย่างมีขีดจำกัดไปยังทางใต้ จากหัวสะพานออร์น เพื่อเข้ายึดส่วนที่เหลือของก็องและสันเขาบูเกบิส(Bourguébus) ที่ไกลออกไป[6]

กู๊ดวู้ดถูกล่วงหน้าด้วยปฏิบัติการกรีนไลน์และพอมแกรนนิทในยุทธการที่โอดอนครั้งที่สอง ทางตะวันตกของก็อง เพื่อเบี่ยงเบนความสนใจของเยอรมันจากพื้นที่ทางตะวันออกของก็อง กู๊ดวู้ดได้เริ่มต้นขึ้น เมื่อกองทัพน้อยที่ 8 ของอังกฤษ พร้อมกับกองพลยานเกราะสามหน่วยได้เข้าโจมตีเพื่อยึดสันเขาบูเกบิสที่เยอรมันครองอยู่ พื้นที่ระหว่างเบรตต์วิลล์-ซูร์-แลซและ Vimont และสร้างความสูญเสียให้ได้มากที่สุดแก่เยอรมัน เมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม กองทัพน้อยที่ 1 ของอังกฤษได้ทำการเข้าโจมตีเพื่อคุ้มครองหมู่บ้านหลายแห่งในทางตะวันออกของกองทัพน้อยที่ 8 ทางด้านตะวันตก กองทัพน้อยที่ 2 ของแคนา่ดาได้เปิดฉากปฏิบัติการแอตแลนติก ประสานงานร่วมกับกู๊ดวู้ดเพื่อเข้ายึดชานเมืองก็องทางใต้ของแม่น้ำออร์น เมื่อปฏิบัติการสิ้นสุดลงในวันที่ 20 กรกฏาคม กองพลยานเกราะได้บุกทะลวงแนวป้องกันด้านนอกของเยอรมันและรุกเข้าไปได้เพียง 7 ไมล์ (11 กิโลเมตร) แต่ถูกหยุดชะงักไว้ไม่ไกลจากสันเขาบูเกบิส มีเพียงรถหุ้มเกราะเท่านั้นที่ได้เจาะทะลวงทางใต้และเลยสันเขาไปได้

แม้ว่ากู๊ดวู้ดได้ประสบความล้มเหลวในเป้าหมายหลัก แต่ได้บีบบังคับให้เยอรมันคอยรักษารูปขบวนที่ทรงพลังไว้ต้านทานอังกฤษและแคนาดาบนปีกตะวันออกของหัวหาดนอร์ม็องดี และปฏิบัติการคอบรา ซึ่งกองทัพที่หนึ่งของสหรัฐได้เข้าโจมตี ซึ่งเริ่มต้นขึ้น เมื่อวันที่ 25 กรกฏาคม ทำให้การป้องกันของเยอรมันอ่อนแอลงจนพังทะลายลง[6]


อ้างอิง[แก้]

  1. Trew & Badsey 2004, p. 97.
  2. Buckley 2014, p. 109.
  3. Trew & Badsey 2004, pp. 96–97.
  4. Tamelander & Zetterling 2004, p. 289.
  5. Jackson 2006, p. 113.
  6. 6.0 6.1 Trew & Badsey 2004, p. 64.