บ้านทุ่งมน (จังหวัดสุรินทร์)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

บ้านทุ่งมน ตำบลทุ่งมน อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์

ประวัติ[แก้]

บ้านทุ่งมน เชื่อกันว่ามีการตั้งถิ่นฐานบ้านเรือนครั้งแรกประมาณปี พ.ศ. 2310 ซึ่งมีครัวเรือนตั้งอยู่ไม่มากนัก ต่อมาราวปี พ.ศ. 2360 ประชาชนในหมู่บ้านได้เพิ่มจำนวนมากขึ้น บางทีก็มีการอพยพมาจากที่อื่นด้วย ประมาณ 20 – 30 หลังคาเรือน (พระมหาวีระ กิตฺติวณฺโณ) ประชาชนในหมู่บ้านได้ร่วมกันสร้างวัดขึ้นมา และได้อาราธนานิมนต์หลวงพ่อตุม ที่ได้จาริก ไป-กลับมาจากประเทศกัมพูชา เมื่อเดินทางผ่านบ้านคุ้มนี้ที่อยู่ทางด้านเหนือของวัดโคกจ๊ะ ชาวบ้านในชุมชนจึงได้พร้อมใจกันนิมนต์ท่านให้พำนักอยู่ที่นี่ เพื่อเป็นที่พึ่งทางใจ และร่วมกันสร้างวัดขึ้น 1 แห่ง หรือ "วัดอุทุมพร” อีกด้านหนึ่งท่านได้นำพาญาติพี่น้องอพยพย้ายจากบ้านเกิดของท่านหลายครอบครัวมาอยู่ข้างๆ วัด ด้วยที่ท่านย้ายมาจากเสราะตุมมวน มาเป็นเจ้าอาวาส

เมื่อหลวงพ่อตุมรับนิมนต์มาเป็นเจ้าอาวาสแล้ว ท่านได้ศึกษาทำเลที่ตั้งหมู่บ้าน เห็นว่ามีลักษณะภูมิประเทศคล้ายคลึงกันกับทำเลที่ตั้งของบ้านทุ่งมนเดิม ที่เรียกว่า “เสราะตุมมวนปรีขลา” เช่นมีลักษณะแหล่งน้ำ ลักษณะของพันธ์ไม้ ลักษณะดินคล้ายกันมากจึงเรียกขานชื่อหมู่บ้านแห่งนี้ว่า “เสราะตุมมวน” (สุริโย บุติมาลย์) หรืออาจสอดคล้องกับคำว่า “เสราะลูกโอ๊วตุมนิมวนโม” อันเป็นสำเนียงเรียกขานที่นำมาสู่การตั้งชื่อหมู่บ้าน (พระมหาวีระ กิตฺติวณฺโณ) และอีกความหมายหนึ่ง ( ป้าเย็น สมใจเรา เล่าว่า) มีคนเฒ่าคนแก่ผู้รู้ท่านหนึ่งเขียนหนังสือขอมเป็นคำกลอนเล่าตำนานกล่าวถึงสถานที่ต่าง ๆ ไว้ เช่น สถานที่บ้านทุ่งมน คือ “ซงต็วงมุน” แปลเป็นไทยว่า “ปักธงก่อน” หมายความว่า “ปักธงไว้เป็นสถานที่แรก” สถานที่บ้านสมุด คือ “สาบน” แปลว่า “สาบาน” สถานที่วัดสะเดารัตนาราม คือ “อังกอร์ตาลวก” แปลว่า “เมืองต้นพอก” สถานที่ขุนแก้ว คือ “เกาะแก้ว” อาจสรุปได้ว่า “เสราะตุมมวน” “เสราะลูกโอ๊วตุมนิมวนโม” หรือ “เสราะซงต็วงมุน” เป็นสำนวนที่มาของ คำว่า “บ้านทุ่งมน” ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา