บาโยเน็ตตา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
บาโยเน็ตตา
ผู้พัฒนาPlatinumGames[a]
ผู้จัดจำหน่าย
กำกับฮิเดกิ คามิยะ
อำนวยการผลิต
ยูซูเกะ ฮาชิโมโตะ
  • อากิโกะ คุโรดะ (วียู)
  • ฮิโตชิ ยามางามิ (วียู)
  • อัตสึชิ คุโรโอกะ (พีซี)
ออกแบบ
  • ฮิโรชิ ชิบาตะ
  • มาซาอากิ ยามาดะ
ศิลปินมาริ ชิมาซากิ
เขียนบทฮิเดกิ คามิยะ
แต่งเพลง
รายชื่อผู้แต่งเพลง
เครื่องเล่นเพลย์สเตชัน 3, เอกซ์บอกซ์ 360, วียู, วินโดวส์, นินเท็นโด สวิตช์, เพลย์สเตชัน 4, เอกซ์บอกซ์วัน
วางจำหน่าย
29 ตุลาคม ค.ศ. 2009
  • เพลย์สเตชัน 3, เอกซ์บอกซ์ 360
    • JP: 29 ตุลาคม ค.ศ. 2009
    • NA: 5 มกราคม ค.ศ. 2010
    • AU: 7 มกราคม ค.ศ. 2010
    • EU: 8 มกราคม ค.ศ. 2010
    วียู[1]
    • JP: 20 กันยายน ค.ศ. 2014
    • NA/EU: 24 ตุลาคม ค.ศ. 2014
    • AU: 25 ตุลาคม ค.ศ. 2014
    วินโดวส์
    • ทั่วโลก: 11 เมษายน ค.ศ. 2017
    นินเท็นโด สวิตช์
    • ทั่วโลก: 16 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2018[2]
    • JP: 17 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2018
    เพลย์สเตชัน 4, เอกซ์บอกซ์วัน
    • ทั่วโลก: 18 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2020
    • JP: 28 พฤษภาคม ค.ศ. 2020 (เพลย์สเตชัน 4)
แนวแอ็กชัน, เดินฟัน
รูปแบบเดี่ยว

บาโยเนตต้า หรือ เบโยเน็ตตะ (อังกฤษ: Bayonetta, ญี่ปุ่น: ベヨネッタโรมาจิBeyonetta) เป็นวิดีโอเกมแนวแอกชันที่สร้างโดย แพลตตินัมเกมส์ (Platinum Games) ของฮิเดะกิ คะมิยะ ผู้สร้างเกม เดวิลเมย์คราย โดยมีเซก้าเป็นผู้จัดจำหน่าย วางจำหน่ายในระบบเพลย์สเตชัน 3 และเอกซ์บอกซ์ 360

เนื้อเรื่อง[แก้]

นานมาแล้ว มีเผ่าพันธุ์ชาวยุโรปสองกลุ่ม คือ แม่มดอัมบรา (Umbra Witch) ผู้พำนักแห่งความมืด และปราชญ์ลูเมน (Lumen Sage) ผู้ควบคุมแสงสว่าง คอยเฝ้าสังเกตความเป็นไปผ่านช่วงเวลาต่างๆ และคอยรักษาสมดุลในพลังของแต่ละฝ่ายไปพร้อมกัน อย่างไรก็ตาม วันหนึ่ง สมดุลนั้นก็ถูกทำลาย เป็นจุดเริ่มต้นของการเกิดสงครามครั้งใหญ่ขี้นบนโลก จากนั้น เผ่าอัมบราก็ถูกลบหายไป เหลือเพียงแค่บาโยเนตต้า ผู้หลับใหลโดยสมบูรณ์ อยู่ใต้ก้นบึ้งอันมืดมิดและเหน็บหนาวของทะเลสาบเท่านั้น ที่สามารถหลบมาจากการต่อสู้ครั้งนั้นมาได้ ห้าร้อยปีผ่านพ้น เธอตื่นขึ้นมา และพบว่าตนเองได้สูญเสียความทรงจำ โดยที่มีเพียงสิ่งเดียวที่จำได้คือ "เธอเป็นแม่มด" ...เพื่อจะคืนความทรงจำที่เลือนหาย บาโยเนตต้าจึงจำเป็นต้องเข้าร่วมในสงครามการต่อสู้ครั้งใหม่ ของแสงสว่างและความมืดอีกครั้ง...

ตัวเกมอิงเรื่องจากความเชื่อของชาวคริสเตียนผสมกับวัฒนธรรมยุโรป ตัวอย่างหนึ่งที่เห็นได้ชัดคือชื่อบอสรองของเกมที่ตั้งชื่อตามคุณธรรมพื้นฐานสี่ประการของคริสเตียน ได้แก่ Iustitia (ความยุติธรรม) Fortitudo (ความอดทน) Sapienta (ความรอบคอบ) และ Temperantia (ความพอประมาณ)

การต่อสู้[แก้]

ในเกมจะแบ่งออกเป็น 18 ตอน (Chapter) (ปฐมบท ตอนปกติ 16 ตอน และปัจฉิมบท) การต่อสู้ในแต่ละองก์จะแบ่งออกเป็นบท (Verse) โดยในการต่อสู้ตัวเอกสามารถใช้อาวุธที่มีหลากหลาย ทั้งอาวุธของตนเอง อาวุธของศัตรู หรือของสำคัญที่สามารถเปิดทางสู่พื้นที่ถัดไปก็ใช้เป็นอาวุธได้ นอกจากนี้ยังมีเวลามนต์ (Witch Time) เป็นระบบสำคัญในเกมนี้ ตัวเอกสามารถควบคุมเวลาให้ช้าลง ช่วยในสถานการณ์คับขันได้

การโจมตีมอนสเตอร์ปกตินั้นจะมีสิ่งพิเศษที่เรียกว่า การลงทัณฑ์ (Torture Attack) โดยการกดปุ่มตามที่ขึ้นระหว่างการต่อสู้ ตัวเอกก็สามารถใช้การลงทัณฑ์วิธีต่างๆ เช่น กิโยติน ม้าไม้ ช่วยกำจัดศัตรูได้ โดยวิธีการทรมานจะแตกต่างตามเทวดาแต่ละตัว นอกจากนี้ ในการต่อสู้กับบอสใหญ่แต่ละองก์ เมื่อพลังชีวิตของบอสใกล้หมด บาโยเนตต้าก็สามารถใช้ท่าสุดยอด (Climax) ที่เป็นการสร้างอสูรจากเส้นผมของเธอ เพื่อกำจัดศัตรูปิดท้าย

การตอบรับ[แก้]

ด้วยตัวเกมมีฉากการฆ่าเทพและเทวดาซึ่งมีความรุนแรงมาก การสนทนาที่มีคำไม่สุภาพปรากฏ และภาพบางช่วงของตัวเอกที่อยู่ในสภาพเกือบเปลือย เกมจึงได้เรตสำหรับผู้เล่นอายุ 17 ปีขึ้นไป อย่างไรก็ตามเกมในเวอร์ชัน เอกซ์บอกซ์ 360 ก็ได้คะแนน 40 เต็มจากนิตยสารแฟมิซือ เป็นเกมที่ 12

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. "Bayonetta for Wii U - Nintendo @ E3". E3.nintendo.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 14, 2014. สืบค้นเมื่อ August 19, 2014.
  2. Polygon (December 7, 2017). "Bayonetta 1 + 2 are heading to Nintendo Switch". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 8, 2017. สืบค้นเมื่อ December 8, 2017.


อ้างอิงผิดพลาด: มีป้ายระบุ <ref> สำหรับกลุ่มชื่อ "lower-alpha" แต่ไม่พบป้ายระบุ <references group="lower-alpha"/> ที่สอดคล้องกัน