บาเกะ-ดานูกิ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
"ทานูกิ"จากกาซุ เฮียกกิ ยาเงียวโดยเซกิเอ็ง โทริยามะ

บาเกะ-ดานูกิ (ญี่ปุ่น: 化け狸โรมาจิBake-danuki) เป็นหนึ่งในโยไกที่พบในคติชนและตำนานญี่ปุ่น ซึ่งมักเชื่อมโยงกับจิ้งจอกแรคคูนญี่ปุ่นหรือ ทานูกิ

ถึงแม้ว่า ทานูกิ เป็ยสัตว์ที่มีตัวตนจริง แต่ บาเกะ-ดานูกิ ที่ปรากฏในวรรณกรรมเป็นสัตว์ที่ประหลาด และแม้แต่เหนือธรรมชาติ โดยปรากฏในวรรณกรรมแรกสุดในบทเกี่ยวกับจักรพรรดินีซูอิโกะใน นิฮงโชกิ ดังตัวอย่างในข้อความนี้ "ในฤดูใบไม้ผลิสองเดือน มีทานูกิในแถบชนบทของมุตสึ (春二月陸奥有狢)[1] พวกมันจะแปลงร่างเป็นมนุษย์และร้องเพลง (化人以歌)"[2][3][4] บาเกะ-ดานูกิยังปรากฏในวรรณกรรมคลาสสิกต่าง ๆ เช่น นิฮงเรียวอิกิ[3][5][6] และอูจิชูอิโมโนงาตาริ[3] ในบางภูมิภาคของญี่ปุ่น บาเกะ-ดานูกิ มีชื่อเสียงจากการมีทักษะคล้ายกับ คิตสึเนะ (สุนัขจิ้งจอก): พวกมันสามารถแปลงร่างเป็นวัตถุหรือมนุษย์[3][6] และสามารถเข้าสิงมนุษย์ได้[3][7]

ลักษณะ[แก้]

ภาพวาดโบราณของปีศาจทานูกิ

ทานูกิ เป็นสัตว์ที่ชาวญี่ปุ่นเชื่อว่า เป็นปีศาจที่สามารถแปลงร่างได้ โดยใช้ใบไม้แปะไว้ที่หน้าผาก โดยความเชื่อนี้ปรากฏให้เห็นบ่อย ๆ ตามสื่อในวัฒนธรรมร่วมสมัยต่าง ๆ อย่างการ์ตูนญี่ปุ่น เช่น ปอมโปโกะ ทานูกิป่วนโลก ใน ค.ศ. 1994 เป็นต้น[8] โดยเชื่อว่าเป็นสัตว์ที่ชอบดื่มเหล้าสาเก แต่จะไม่ซื้อเหล้าสาเกให้เปลืองเงินแต่จะใช้วิธีการแปลงร่างหลอกเอาเหล้ามาดื่ม รักสนุก และจะชอบหลอกมนุษย์ด้วยการแปลงลูกอัณฑะให้มีขนาดใหญ่ด้วย[9]

ความเชื่อของมนุษย์ต่อทานูกิ[แก้]

เชื่อว่าความเชื่อเรื่องทานูกิของญี่ปุ่นได้รับอิทธิพลมาจากจีนพร้อมกับความเชื่อเรื่องปีศาจจิ้งจอก ซึ่งในจีนแทบไม่มีความเชื่อเรื่องทานูกิอยู่เลย แต่มีการสับสนในชนิดของสัตว์เมื่อถึงญี่ปุ่น[9]

โดยคำว่า "狸" เป็นคำคุณศัพท์ในภาษาจีนกลางสมัยใหม่ (ออกเสียง "หลี่") เดิมมีความหมายถึงสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดกลาง เช่น แมว เป็นหลัก แต่เมื่อคำนี้ได้ถูกนำมาใช้ในญี่ปุ่น ปัญญาชนชาวญี่ปุ่นไม่อาจหาสัตว์ที่เหมาะสมที่จะนำมาใช้ได้ จึงใช้ไปในความหมายทั่วไปเช่น ทานูกิ, แมวดาว, แบดเจอร์ยุโรป, เพียงพอน และกระรอกบินยักษ์ญี่ปุ่น[10][11]

รูปปั้นชิงารากิยะกิ

ปัจจุบันในญี่ปุ่น มักปรากฏเครื่องปั้นดินเผารูปทานูกิยืนสองขา พุงป่อง สวมหมวกฟาง มือข้างนึงถือขวดเหล้าสาเก และอีกข้างถือถุงเงินที่ยังไม่ได้ใช้ประดับอยู่ตามหน้าร้านเหล้า ร้านอาหาร หน้าวัดหรือศาลเจ้า บ้านเรือนทั่วไป หรือกระทั่งข้างทางถนน นัยว่าเป็นสัญลักษณ์แห่งความโชคดีเหมือนมาเนกิเนโกะ ซึ่งรูปปั้นดินเผานี้ชื่อ "ชิงารากิยากิ" (信楽焼き) มีแหล่งผลิตเพียงแห่งเดียวเท่านั้น คือ เมืองชิงารากิ อำเภอโคกะ จังหวัดชิงะ[12]

อ้างอิง[แก้]

  1. Dōbutsu Yōkaitan. p. 106.
  2. The translation of this into modern Japanese can be found on page 13 of ญี่ปุ่น: 『DISCOVER妖怪 日本妖怪大百科 VOL.07』โรมาจิDiscover Yōkai Nihon Yōkai Daihyakka. Furthermore, the 「狢」 in the document here are not mujina, but rather, signify tanuki
  3. 3.0 3.1 3.2 3.3 3.4 Dōbutsu Yōkaitan. Vol. 2. pp. 105–139.
  4. Murakami, Kenji (2008). "ญี่ปุ่น: 妖怪となった狐と狸โรมาจิYōkai to natta kitsune to tanuki". ใน 講談社コミッククリエイト (บ.ก.). Discover Yōkai Nihon Yōkai Daihyakka 妖怪 日本妖怪大百科. KODANSHA Official File Magazine. Vol. 07. Kōdansha. p. 15. ISBN 978-4-06-370037-4.
  5. Tanuki to sono sekai. pp. 209–212.
  6. 6.0 6.1 Gensō sekai no jūnintachi. pp. 235–240.
  7. Sano, Kenji; และคณะ. Minkan shinkō jiten. p. 184.
  8. Clements, Jonathan; McCarthy, Helen (2006). The Anime Encyclopedia. California: Stone Bridge Press. ISBN 1-933330-10-4.
  9. 9.0 9.1 Tanuki – Japanese God of Restaurateurs, Japanese Buddhism & Shintoism Photo Dictionary (อังกฤษ)
  10. Dōbutsu Yōkaitan. p. 106.
  11. The translation of this into modern Japanese can be found on page 13 of ญี่ปุ่น: 『DISCOVER妖怪 日本妖怪大百科 VOL.07』โรมาจิDiscover Yōkai Nihon Yōkai Daihyakka. Furthermore, the 「狢」 in the document here are not mujina but rather, signify tanuki
  12. Gordenker, Alice (25 July 2008). "Tanuki genitals". The Japan Times. สืบค้นเมื่อ 3 March 2013.