ข้ามไปเนื้อหา

บันทึกลับของแอนน์ แฟรงค์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
บันทึกลับของแอนน์ แฟรงค์
ภาพปกฉบับพิมพ์ครั้งแรก ค.ศ. 1948
ผู้ประพันธ์อันเนอ ฟรังค์
ชื่อเรื่องต้นฉบับHet Achterhuis (The Annex)
ผู้แปลB. M. Mooyaart-Doubleday
สังวร ไกรฤกษ์ (แปลไทย)
ศิลปินปกHelmut Salden
ประเทศเนเธอร์แลนด์
ภาษาดัตช์
หัวเรื่อง
ประเภทอัตชีวประวัติ, การก้าวผ่านวัย, วรรณกรรมยิว
สำนักพิมพ์Contact Publishing [nl]
ไทย สำนักพิมพ์ผีเสื้อ
วันที่พิมพ์25 มิถุนายน ค.ศ. 1947
ไทย พ.ศ. 2542
พิมพ์ในภาษาอังกฤษ
1952
รางวัลLe Monde's 100 Books of the Century
OCLC1432483
949.207
LC ClassDS135.N6
ข้อความต้นฉบับ
Het Achterhuis (The Annex) ที่ Dutch วิกิซอร์ซ

บันทึกลับของแอนน์ แฟรงค์ (อังกฤษ: The Diary of a Young Girl) เป็นหนังสือที่สร้างขึ้นจากสมุดบันทึกประจำวันภาษาดัตช์ของอันเนอ ฟรังค์ ขณะที่เธอและครอบครัวต้องหลบซ่อนตัวอยู่เป็นเวลาเกือบสองปี เพื่อหลบหนีการล่าชาวยิวในเนเธอร์แลนด์ขณะตกอยู่ภายใต้การควบคุมของนาซีเยอรมนีระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ครอบครัวของอันเนอ ฟรังค์ ถูกจับตัวได้ในปี ค.ศ. 1944 และส่งไปยังค่ายกักกันชาวยิว อันเนอผู้เขียนเสียชีวิตด้วยโรคไข้รากสาดใหญ่ในค่ายกักกันแบร์เกิน-เบลเซินใน ค.ศ. 1945 มีป คีสและBep Voskuijlกู้คืนสมุดบันทึกประจำวันของอันเนอขึ้นมา ต่อมาเมื่อสิ้นสุดสงคราม มีปนำสมุดบันทึกไปให้ออทโท ฟรังค์ พ่อของเธอ ซึ่งเป็นคนเดียวในครอบครัวที่รอดชีวิต ก่อนนำบันทึกนี้ออกเผยแพร่ต่อสาธารณะ

สมุดบันทึกประจำวันนี้ได้รับการตีพิมพ์ถึงมากกว่า 70 ภาษา หนังสือได้รับการตีพิมพ์ครั้งแรกโดยสำนักพิมพ์ Contact Publishing ในกรุงอัมสเตอร์ดัม ใน ค.ศ. 1947 ใช้ชื่อเรื่องในภาษาดัตช์ว่า Het Achterhuis: Dagboekbrieven van 12 Juni 1942 – 1 Augustus 1944 (ห้องลับ : บันทึกประจำวันตั้งแต่ 12 มิถุนายน 1942 - 1 สิงหาคม 1944) หนังสือเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์โดยกว้างขวางและเป็นที่นิยมอย่างรวดเร็วหลังจากฉบับแปลภาษาอังกฤษออกจำหน่ายใน ค.ศ. 1952 ใช้ชื่อเรื่องว่า Anne Frank: The Diary of a Young Girl พิมพ์โดยสำนักพิมพ์ Doubleday & Company ในสหรัฐ และโดยสำนักพิมพ์ Vallentine Mitchell ในอังกฤษ หนังสือเล่มนี้ถือว่าเป็นหนึ่งในหนังสือยอดเยี่ยมแห่งศตวรรษที่ 20[1][แหล่งอ้างอิงอาจไม่น่าเชื่อถือ][2][3][4][5][6]

ลิขสิทธิ์สมุดจดบันทึกภาษาดีตช์ที่ตีพิมพ์ใน ค.ศ. 1947 หมดอายุในวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 2016 หลังผู้เขียนเสียชีวิต 70 ปี เนื่องด้วยกฎทั่วไปของกฎหมายลิขสิทธิ์ในสหภาพยุโรป ทำให้หนังสือฉบับภาษาดัตช์สามารถเผยแพร่ทางออนไลน์ได้[7][8]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Best (100) Books of the 20th Century] #8". Goodreads.
  2. "Top 10) definitive book(s) of the 20th century". The Guardian.
  3. "50 Best Books defining the 20th century". PanMacMillan.com.[ลิงก์เสีย]
  4. "List of the 100 Best Non-Fiction Books of the Century, #20". National Review. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 December 2018. สืบค้นเมื่อ 28 July 2009.
  5. Books of the Century: War, Holocaust, Totalitarianism. New York Public Library. 1996. ISBN 978-0-19-511790-5.
  6. "Top 100 Books of the 20th century, while there are several editions of the book. The publishers made a children's edition and a thicker adult edition. There are hardcovers and paperbacks, #26". Waterstone's. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-12-25. สืบค้นเมื่อ 2023-05-12.
  7. Attard, Isabelle (1 January 2016). "Vive Anne Frank, vive le Domaine Public" [Long live Anne Frank, long live the Public Domain] (ภาษาฝรั่งเศส). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-06-29. สืบค้นเมื่อ 8 July 2019. The files are available in TXT and ePub format.
  8. Avenant, Michael (5 January 2016). "Anne Frank's diary published online amid dispute". It Web. สืบค้นเมื่อ 8 January 2016.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]