บัญญัติว่าด้วยสิทธิพื้นฐานของพลเมือง
บัญญัติสิทธิ (อังกฤษ: Bill of rights คือรายชื่อสิทธิที่ถือโดยรัฐว่าเป็นสิทธิสำคัญและจำเป็นที่จะต้องมี วัตถุประสงค์ของการออกบัญญัติดังว่าก็เพื่อเป็นการพิทักษ์สิทธิที่ระบุจากการล่วงละเมิดโดยรัฐบาล คำว่า “บัญญัติสิทธิ” มีต้นรากมาจากบริเตนใหญ่ที่หมายถึงร่างพระราชบัญญัติฉบับที่ได้รับการอนุมัติจากรัฐสภาแห่งสหราชอาณาจักรในปี ค.ศ. 1689
บัญญัติสิทธิที่เป็นส่วนหนึ่งของบทบัญญัติอื่นจะเป็นอุปกรณ์ที่แยกจากการควบคุมของฝ่ายนิติบัญญัติ บัญญัติสิทธิอย่างเป็นทางการของหลายประเทศถือว่าเป็นบทบัญญัติที่มีอำนาจเหนือองค์กรนิติบัญญัติ แต่ก็เป็นไปได้ที่บทบัญญัติสิทธิเหล่านี้อาจจะมาอ่อนตัวลงเมื่อรัฐบาลออกบทบัญญัติอื่นที่อนุมัติโดยรัฐบาลต่อมา และไม่จำเป็นต้องได้รับการอนุมัติในการที่จะเปลี่ยนแปลงได้
บัญญัติสิทธิที่เป็นอิสระจากบทบัญญัติอื่น ฉะนั้นจึงสามารถเปลี่ยนแปลงหรือเพิกถอนโดยองค์กรผู้เสนอได้ ซึ่งไม่ใช่บัญญัติสิทธิตามรัฐธรรมนูญ
บัญญัติสิทธิฉบับสำคัญ
[แก้]- ประมวลกฎหมายฮัมมูราบี, ประมวลกฎหมายที่มีอายุถึง 4,000 ปีที่ระบุกฎและบทลงโทษที่มีผลบังคับใช้กับมนุษย์ทุกคน ที่แปลตรงตัวว่า “จารึกบนหิน” ประมวลกฎหมายฮัมมูราบีเป็นหนึ่งในประมวลกฎหมายจากยุคนั้นจากตะวันออกกลาง
- รัฐธรรมนูญของเอเธนส์โบราณ ก่อตั้งประชาธิปไตยเอเธนส์ ให้สิทธิในการเลือกผู้นำ และ ฝ่ายการปกครองของรัฐบาลที่เขียนโดยไคลสเธนีส (508 ปีก่อนคริสต์ศักราช, กรีซ)
- มหากฎบัตร (ค.ศ. 1215; อังกฤษ)
- ประมวลกฎหมายดูชัน (ค.ศ. 1349; เซอร์เบีย)
- ข้อตกลงคอนเวนตา (โปแลนด์) (ค.ศ. 1573; โปแลนด์)
- ข้อตกลงเฮนรี (Henrician Articles, ค.ศ. 1573; โปแลนด์)
- ฎีกาสิทธิ (Petition of Right, ค.ศ. 1628; อังกฤษ)
- พระราชบัญญัติสิทธิ ค.ศ. 1689 (อังกฤษ) and คำร้องอ้างสิทธิ ค.ศ. 1689 (สกอตแลนด์) ร่างพระราชบัญญัติทั้งสองฉบับนี้มีผลบังคับใช้ในอาณานิคมบริติขทั้งหมด แต่ต่อมาก็กลายมาเป็นส่วนหนึ่งของกฎหมายของประเทศอาณานิคมเมื่อประกาศตนเป็นชาติ เช่นเมื่อพระราชบัญญัติสิทธิของอาณานิคมออสเตรเลีย ค.ศ. 1865 ได้รับการยืนยันโดยพระราชบัญญัติเวสต์มินสเตอร์ ค.ศ. 1931
- พระราชบัญญัติสิทธิแห่งเวอร์จิเนีย (มิถุนายน ค.ศ. 1776)
- บทนำของคำประกาศอิสรภาพแห่งสหรัฐอเมริกา (กรกฎาคม ค.ศ. 1776)
- คำประกาศสิทธิของมนุษย์และของพลเมือง (ค.ศ. 1789; ฝรั่งเศส)
- รัฐบัญญัติสิทธิแห่งสหรัฐอเมริกาต่อรัฐธรรมนูญแห่งสหรัฐอเมริกา (เขียนเสร็จ ค.ศ. 1789, อนุมัติ ค.ศ. 1791)
- รัฐธรรมนูญแห่งประเทศกรีซ (ค.ศ. 1822; Epidaurus)
- รัฐธรรมนูญแห่งประเทศฟินด์แลนด์ (ค.ศ. 1919)[ต้องการอ้างอิง]
- ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (ค.ศ. 1948)
- รัฐธรรมนูญแห่งประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน ว่าด้วยสิทธิและหน้าที่ของพลเมืองของประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน (ค.ศ. 1949)
- อนุสัญญาแห่งยุโรปว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (ค.ศ. 1950)
- สิทธิพื้นฐานของพลเมืองอินเดีย (ค.ศ. 1950)
- นัยยะบัญญัติสิทธิ (ทฤษฎีใน กฎหมายรัฐธรรมนูญแคนาดา)
- รัฐบัญญัติสิทธิแห่งแคนาดา (ค.ศ. 1960)
- ประกาศสิทธิและอิสรภาพแคนาดา (ค.ศ. 1982)
- มาตราที่ 5 ของรัฐธรรมนูญแห่งประเทศบราซิล (ค.ศ. 1988)
- บัญญัติสิทธิแห่งประเทศนิวซีแลนด์ (ค.ศ. 1990)
- กฤษฎีกาสิทธิแห่งฮ่องกง (ค.ศ. 1991)
- รัฐธรรมนูญแห่งประเทศแอฟริกาใต้ มาตรา 2: บัญญัติสิทธิ (ค.ศ. 1996)
- พระราชบัญญัติสิทธิ ค.ศ. 1998 (สหราชอาณาจักร)
- บัญญัติสิทธิเบื้องต้นแห่งสหภาพยุโรป (ค.ศ. 2006)
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- See transcript of the original U.S. Bill of Rights from the National Archives.
- Bill of Rights in various formats with audio.
- A New British Bill of Rights: The Case For เก็บถาวร 2009-11-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- Human Rights Act for Australia, Amnesty International Australia เก็บถาวร 2010-03-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน