บริษัทข้ามชาติ
บทความนี้ต้องการข้อความอธิบายความสำคัญที่กระชับ และสรุปเนื้อหาไว้ย่อหน้าแรกของบทความ |
บริษัทข้ามชาติ หรือ บรรษัทข้ามชาติ (อังกฤษ: multinational corporation หรือ multinational company)
ความหมาย
[แก้]บริษัทข้ามชาติเกิดจากแนวคิดของการเกิดการขายแบบแฟรนไชส์ โดยจุดเริ่มต้นมาจากการนำเอาภูมิความรู้ที่มีอยู่ดั้งเดิมของบุคคลหนึ่งหรือกลุ่มหนึ่งเอามาแจกจ่าย(ขาย)ให้กับกลุ่มหรือบุคคลอื่นๆ นำไปใช้ในเชิงธุรกิจหรือพานิชย์
อธิบายความหมายของการขายแบบนี้ได้อย่างง่ายๆ ว่า เป็นการขายแบบ ขยายสาขา นั่นเอง ดังนั้น ธุรกิจแบบ บริษัทข้ามชาติ ก็คือการขยายตัวของการค้าแบบขยายสาขาที่มุ่งผลสำเร็จไปที่การลงทุนนอกประเทศ โดยที่จุดมุ่งหมายสูงสุดก็คือ การเข้าควบคุมตลาดในรายการขายสินค้าของตนอย่างโลกาภิวัตน์
ประเภท
[แก้]เราอาจจะแบ่งประเภทของบริษัทข้ามชาติออกเป็นสามแบบดังนี้
- บริษัทข้ามชาติแนวดิ่ง บริษัทข้ามชาติประเภทนี้นั้น จะมีศูนย์กลางอยู่ที่ประเทศแม่เป็นหลัก แล้วจะผลิตของออกไปขายยังต่างประเทศด้วยการเปิดเป็น outlet หรือ ร้านสาขา หรือที่เราเรียกกันว่า ตัวแทนจำหน่าย
- บริษัทข้ามชาติแนวนอน บริษัทข้ามชาติประเภทนี้นั้น จะมีศูนย์กลางการผลิตอยู่หลากหลายที่ โดนส่วนมากจะมองการลงทุน ณ ประเทศที่วัตถุดิบราคาถูกและค่าแรงไม่สูงมากนัก เช่น จีน หรือ อินเดีย เป็นต้น
- บริษัทข้ามชาติแบบหลากหลาย ประเภทนี้นั้นจะเป็นการผสมผสานแนวทางการผลิต และการลงทุน ระหว่างแบบแนวนอน และแนวดิ่งเข้าด้วยกัน
ความแตกต่างของบริษัทข้ามชาติแนวนอนและแนวดิ่ง
[แก้]สิ่งสำคัญอันดับแรกสุดที่แตกต่างของสองประเภทนี้คือ สินค้าและบริการ ที่ทั้งสองประเภทผลิต แบบแนวนอนนั้น จะผลิตสินค้าและบริการประเภทเดียว ไม่หลากหลาย ในขณะที่ แบบแนวดิ่งนั้นจะหลากหลายกว่า
บริษัทข้ามชาติกับการ outsource
[แก้]การ outsource นับเป็นมิติใหม่ของวงการบริษัทข้ามชาติ นั่นคือ การเข้ามาของบริษัทยักษ์ใหญ่ของวงการอุตสาหกรรมการผลิตในประเทศโลกที่สาม หรือประเทศกำลังพัฒนา เหตุผลที่การลงทุนในประเทศเหล่านั้นน่าสนใจก็เป็นเพราะว่า จะสามารถลดค่าใช้จ่ายต่างๆ ลงไปได้เยอะมาก ซึ่งรวมไปถึงการที่บริษัทสามารถผลิตอุปกรณ์หรือชิ้นส่วนต่างๆ ได้ตลอด 24 ชั่วโมง นั่นหมายความว่า ในขณะที่ประเทศประเทศหนึ่งนอนหลับอยู่ การผลิตในอีกประเทศก็กำลังดำเนินการตามขั้นตอนอยู่เรื่อยๆ ไม่มีวันหยุด