บริการสุขภาพในสหราชอาณาจักร
บริการสุขภาพในสหราชอาณาจักร เป็นกิจการที่อำนาจเป็นของท้องถิ่นในประเทศอังกฤษ ไอร์แลนด์เหนือ สกอตแลนด์ และเวลส์ ในแต่ละประเทศยังประกอบด้วยบริการสุขภาพที่รัฐเป็นผู้อุดหนุนเป็นของตนเอง ภายใต้งบประมาณจากรัฐบาลและรัฐสภาคนละส่วนกัน ในแต่ละประเทศจึงมีนโยบายสุขภาพ ลำดับขั้นความสำคัญ และการจัดสรรงบประมาณที่แตกต่างกัน นับตั้งแต่การกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น[1][2] บริการสุขภาพในทั้งสี่ประเทศสามารถดูเพิ่มที่บริการสุขภาพในประเทศอังกฤษ, เวลส์, สกอตแลนด์ และไอร์แลนด์เหนือ
ถึงแม้จะมีระบบบริการสุขภาพที่แยกกันในแต่ละประเทศ ประสิทธิภาพการทำงานของบริการสุขภาพแห่งชาติ (เอ็นเอชเอส) ทั่วทั้งสหราชอาณาจักรสามารถนำมาวัดเพื่อเปรียบเทียบกับชาติอื่น ๆ ได้ ในปี 2017 รายงานของกองทุนเครือจักรภพจัดอันดับให้สหราชอาณาจักรมีระบบบริการสุขภาพที่ดีที่สุดในโลกพัฒนาแล้ว และดีที่สุดในสาขากระบวนการดูแล (Care Process ได้แก่ ประสิทธิภาพ, ความปลอดภัย, การประสานงาน, การมีผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง) และความเท่าเทียม[3] นอกจากนี้สหราชอาณาจักรยังได้รับการจัดอันดับว่าดีที่สุดในรายงานของปี 2007, 2010 และ 2014[4][5][6]
ระบบการรักษาประคับประครองของสหราชอาณาจักรยังได้รับการจัดอันดับให้ดีที่สุดในโลกตามรายงานของอีคอโนมิสต์อินเทลลิเจนซ์ยูนิต[7] ในขณะที่อัตราการรอดชีวิตของผู้ป่วยมะเร็งในปี 2005–2009 ในสหราชอาณาจักรต่ำกว่ามาตรฐานของยุโรปอยู่สิบปี[8] อย่างไรก็ตาม ในปีถัด ๆ มาก็เพิ่มสูงขึ้น[9][10] ในปี 2015 สหราชอาณาจักรอยู่อันดับที่ 14 จาก 35 ประเทศ ในดัชนีผู้บริโภคสุขภาพยุโรปประจำปี[11] อย่างไรก็ตาม ดัชนีดังกล่าวถูกวิพากษ์วิจารณ์ถึงความแม่นยำโดยนักวิชาการ[12]
ในข้อมูลปี 2018 ของโออีซีดี ระบุว่าสหราชอาณาจักรจัดสรรงบประมาณสุขภาพให้ประชากรอยู่ที่ 3,121 ปอนด์ต่อหัว[13] การใช้จ่ายสำหรับบริการสุชภาพเทียบเป็นสัดส่วนของจีดีพีสูงขึ้นตลอดตั้งแต่ปี 1997 (ในปี 1997 อยู่ที่ 6.8%) โดยในปี 2019 อยู่ที่ 10.2 % ของจีดีพี[14][15] ในปี 2017 สหราชอาณาจักรใช้จ่ายค่าบริการสุขภาพ 2,989 ปอนด์ต่อหัว คิดเป็นประมาณค่ากลางของประเทศในกลุ่มโออีซีดี[16]
ลักษณะร่วม
[แก้]บริการสุขภาพแห่งชาติ (เอ็นเอชเอส) ของแต่ละประเทศมีแพทย์ทั่วไป (จีพี) ในการให้บริการการแพทย์ปฐมภูมิ และส่งต่อการรักษาไปยังบริการขั้นต่อไปหากจำเป็น ส่วนโรงพยาบาลมีหน้าที่ให้บริการที่เฉพาะทางยิ่งขึ้น รวมถึงการให้บริการแก่ผู้ป่วยโรคจิตเวชและการให้บริการการแพทย์ฉุกเฉิน เภสัชชุมชน (community pharmacy) เป็นของเอกชนแต่จะมีข้อตกลงร่วมกับบริการสุขภาพแต่ละแห่งเพื่อให้บริการยาสั่ง
ระบบบริการสุขภาพสาธารณะยังให้บริการรถพยาบาลโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายหากผู้ป่วยต้องพบแพทย์โดยการเดินทางต้องใช้บริการที่รถพยาบาลมีให้ (เช่น การพยุงสัญญาณชีพ) หรือเมื่อผู้ป่วยไม่สามารถเดินทางด้วยขนส่งสาธารณะ บริการเหล่านี้โดยทั่วไปได้รับการช่วยเหลือเมื่อจำเป็นโดยบริการรถพยาบาลของอาสาสมัคร เช่น สภากาชาดอังกฤษ, สมาคมรถพยาบาลเซนต์แอนดรูว์, รถพยาบาลเซนต์จอห์น เป็นต้น นอกจากนี้ บริการขนส่งผู้ป่วยทางอากาศยังมีให้บริการโดยบริการขนส่งพยาบาลสก็อตในประเทศสกอตแลนด์ และบริการอื่น ๆ ตามพื้นที่[17][18] ในกรณีฉุกเฉินเฉพาะ การขนส่งผู้ป่วยทางอากาศอาจให้บริการโดยกองทัพบก เรือ อากาศ หรือตามที่มีพร้อมให้บริการในโอกาสนั้น ๆ[19]
สำหรับบริการทันตกรรม ทันตแพทย์สามารถคิดค่าบริการผู้ป่วยในระบบเอ็นเอชเอสได้ตามอัตราค่าบริการที่กำหนดไว้ในแต่ละประเทศ ในขณะที่ผู้ป่วยที่พบทันตแพทย์นอกเหนือจากระบบเอ็นเอชเอส จะต้องจ่ายค่าใช้จ่ายเองทั้งหมด ประมาณครึ่งหนึ่งของรายได้ของทันตแพทย์ในประเทศอังกฤษมาจากเงินอุดหนุนของเอ็นเอชเอส[20]
สำหรับการซื้อยา เอ็นเอชเอสมีอำนาจทางการตลาดที่สูงมากถึงขั้นที่มีผลต่อราคายาในตลาดโลก และโดยทั่วไปจะประเมินและพยายามทำให้ราคาต่ำ[21] และมีหลายประเทศที่เลียนแบบหรือปรับใช้ระบบการประเมินยาของสหราชอาณาจักร[22]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "'Huge contrasts' in devolved NHS". BBC News. 28 August 2008. สืบค้นเมื่อ 27 July 2014.
- ↑ "NHS now four different systems". BBC News. 2 January 2008. สืบค้นเมื่อ 27 July 2014.
- ↑ "Mirror, Mirror 2017: International Comparison Reflects Flaws and Opportunities for Better U.S. Health Care". www.commonwealthfund.org. สืบค้นเมื่อ 1 August 2019.
- ↑ "Mirror, Mirror on the Wall: An International Update on the Comparative Performance of American Health Care | Commonwealth Fund". www.commonwealthfund.org (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 1 August 2019.
- ↑ "Mirror, Mirror on the Wall: How the Performance of the U.S. Health Care System Compares Internationally, 2010 Update". Commonwealth Fund. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-04-11. สืบค้นเมื่อ 16 June 2014.
- ↑ "Mirror, Mirror on the Wall, 2014 Update: How the U.S. Health Care System Compares Internationally". Commonwealth Fund.
- ↑ "Quality of Death Index 2015: Ranking palliative care across the world". The Economist Intelligence Unit. 6 October 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-06-17. สืบค้นเมื่อ 8 October 2015; "UK end-of-life care 'best in world'". BBC. 6 October 2015. สืบค้นเมื่อ 8 October 2015.
- ↑ Allemani, Claudia; และคณะ (2015). "Global surveillance of cancer survival 1995–2009: analysis of individual data for 25 676 887 patients from 279 population-based registries in 67 countries (CONCORD-2))". The Lancet. 385 (9972): 977–1010. doi:10.1016/S0140-6736(14)62038-9. hdl:10447/129931. PMC 4588097. PMID 25467588; "UK cancer survival rates trail 10 years behind other European countries". The Guardian. 24 March 2015. สืบค้นเมื่อ 19 October 2015.
- ↑ "UK cancer death rates after diagnosis drop 10% in ten years". The Guardian. 4 February 2016. สืบค้นเมื่อ 4 February 2016; "Cancer death rates fall by almost 10 per cent in 10 years". Cancer Research UK. สืบค้นเมื่อ 4 February 2016.
- ↑ "Bowel cancer death rate falling faster in the UK than in most other EU countries". Cancer Research UK. 7 October 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-04-11. สืบค้นเมื่อ 31 October 2015; "Cancer survival in England is improving – but still lagging behind similar countries". Cancer Research UK. 5 August 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-04-11. สืบค้นเมื่อ 31 October 2015; "How to improve cancer survival" (PDF). The King's Fund. June 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-12-22. สืบค้นเมื่อ 19 October 2015; "Cancer mortality trends: 1992–2020" (PDF). Macmillan. May 2013. สืบค้นเมื่อ 19 October 2015; "Improving Outcomes: A Strategy for Cancer" (PDF). Department of Health, Public Health England. December 2014. สืบค้นเมื่อ 31 October 2015.; "Cancer Survival in England: Adults Diagnosed 2008 to 2012, followed up to 2013". Office for National Statistics. สืบค้นเมื่อ 19 October 2015
- ↑ "Outcomes in EHCI 2015" (PDF). Health Consumer Powerhouse. 26 January 2016. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 6 June 2017. สืบค้นเมื่อ 27 January 2016.
- ↑ Cylus, Jonathan; Nolte, Ellen; Figueras, Josep; McKee, Martin (9 February 2016). "What, if anything, does the EuroHealth Consumer Index actually tell us?". BMJ. Retrieved 10 February 2016.
- ↑ "Swindells: They aren't 'your' patients". Health Service Journal. 24 September 2019. สืบค้นเมื่อ 19 November 2019.
- ↑ "Healthcare expenditure, UK Health Accounts provisional estimates - Office for National Statistics". www.ons.gov.uk. สืบค้นเมื่อ 2021-10-11.
- ↑ OECD, "Health Expenditure". Accessed 10 February 2016.
- ↑ "How does UK healthcare spending compare with other countries?". Office of National Statistics. 29 August 2019. สืบค้นเมื่อ 5 October 2019.
- ↑ "Wiltshire Air Ambulance". Wiltshire Air Ambulance. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 May 2010. สืบค้นเมื่อ 28 April 2011.
- ↑ "Air Ambulance Association". Air Ambulance Association. สืบค้นเมื่อ 28 April 2011.
- ↑ "RAF flight 'saved couple's baby'". BBC News. 21 November 2006. สืบค้นเมื่อ 28 April 2011.
- ↑ Triggle, Nick (3 June 2007). "Call for dentists' NHS-work quota". BBC News. London. สืบค้นเมื่อ 5 January 2010.
- ↑ "The UK has much to fear from a US trade agreement". www.newstatesman.com (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 5 June 2019.
- ↑ "US takes aim at the UK's National Health Service". POLITICO. 4 June 2019. สืบค้นเมื่อ 5 June 2019.