ข้ามไปเนื้อหา

น้ำตกอิเทอร์นัลเฟลม

พิกัด: 42°42.1059′0″N 78°45.1025′0″W / 42.70177°N 78.75171°W / 42.70177; -78.75171
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
น้ำตกอิเทอร์นัลเฟลม
ดวงไฟหลังม่านน้ำตกในฤดูใบไม้ผลิ ค.ศ. 2009
น้ำตกอิเทอร์นัลเฟลมตั้งอยู่ในรัฐนิวยอร์ก
น้ำตกอิเทอร์นัลเฟลม
ที่ตั้งน้ำตกในรัฐนิวยอร์ก
ที่ตั้งสวนสาธารณะเชสต์นัตริดจ์
เทศมณฑลอิรี, รัฐนิวยอร์ก
พิกัดภูมิศาสตร์42°42.1059′0″N 78°45.1025′0″W / 42.70177°N 78.75171°W / 42.70177; -78.75171
ชนิดCascade
ความสูงทั้งหมด30 ฟุต (9.1 เมตร)[1]
สายน้ำต้นทางShale Creek, tributary to Eighteen Mile Creek

น้ำตกอิเทอร์นัลเฟลม (อังกฤษ: Eternal Flame Falls) เป็นน้ำตกขนาดเล็กในสวนสาธารณะเชสต์นัตริดจ์ รัฐนิวยอร์ก ความพิเศษของน้ำตกแห่งนี้คือบริเวณฐานหลังม่านน้ำตกจะมีการลุกไหม้ของดวงไฟซึ่งเกิดจากการทับถมของแก๊สธรรมชาติ โดยดวงไฟนั้นสามารถลุกไหม้ได้ตลอดปีและสามารถดับได้ในบางครั้งแต่หลังจากดับได้ไม่นานมันก็จะกลับมาลุกไหม้ใหม่อีกครั้ง

น้ำตกอิเทอร์นัลเฟลมยังได้รับการกล่าวถึงในหนังสือ Secret Places ของนักสิ่งแวดล้อมนามว่าบรูซ เคิร์ชเนอร์

สภาพปัจจุบัน

[แก้]

น้ำตกแห่งนี้เป็นสถานที่ได้รับความสนใจจากประชาชนและสื่อมวลชนจำนวนมากจึงได้มีการปรับปรุงเส้นทางที่ใช้ในการเดินทางเพื่อรองรับนักท่องเที่ยวจำนวนมาก[2]ซึ่งทำให้มีผลกระทบตามมาคือการลอบทิ้งขยะ มลพิษ และผลกระทบต่าง ๆ ที่มาพร้อมกับนักท่องเที่ยว[1] รวมไปถึงมีการวางแผนสร้างสนามกอล์ฟใน ค.ศ. 2012 จนทำให้เกิดมีการประท้วงอีกด้วย[3][4]

ใน ค.ศ. 2014 น้ำตกแห่งนี้ได้เป็นจุดสนใจของสถานที่ท่องเที่ยวที่ยังไม่ได้รับการตั้งชื่อ ซึ่งได้มีการถ่ายทอดลงในช่องเกี่ยวกับการท่องเทียวโดยทอรี เบลเลกี[5]

องค์ประกอบและแหล่งที่มาของแก๊ส

[แก้]

นักธรณีวิทยาจากมหาวิทยาลัยอินดีแอนา บลูมมิงตัน สถาบันธรณีฟิสิกส์แห่งชาติอิตาลี และสถาบันธรณีฟิสิกส์และภูเขาไฟแห่งชาติได้เข้าทำการศึกษาใน ค.ศ. 2013 เพื่อทำการศึกษาว่าแก๊สธรรมชาติที่มาจากไฮโดรคาร์บอนที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติส่งผลต่อแก๊สเรือนกระจกในชั้นบรรยากาศอย่างไร

และพวกเขาได้ค้นพบว่า "macro seep" ที่น้ำตกแห่งนี้มีปริมาณอีเทนและโพรเพนมากกว่าแก๊สธรรมชาติอื่น ๆ ประมาณร้อยละ 35 ซึ่งมันจะทำให้มีสัดส่วนของแก๊สมีเทนมากขึ้น[6] อีกทั้งพวกเขายังค้นพบอีกว่าน้ำตกแห่งนี้จะมีการปล่อยแก๊สมีเทนถึง 1 กิโลกรัมต่อวัน[7]

นักวิจัยได้ตั้งข้อสังเกตว่า "micro seeps" น่าจะมาจากชั้นหินดินดานที่อยู่ใต้ดินลึกประมาณ 400 เมตร และคาดว่าแก๊สเหล่านี้สามารถซึมออกมาบนผิวดินได้ก็เพราะเกิดจากการมีกิจกรรมทางธรณีวิทยาต่าง ๆ ในบริเวณนั้น[6]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 Conheady, Matt. "Eternal Flame Falls, Orchard Park – Waterfall Photos, Maps, Information". Nyfalls.com. สืบค้นเมื่อ January 21, 2015.
  2. Cernavskis, Andra (July 10, 2014). "Eternal Flame draws crowds to Orchard Park". The Buffalo News. สืบค้นเมื่อ January 21, 2015.
  3. "Eternal Flame Falls: Nature Burning Brightly". WGRZ.com. March 21, 2012. สืบค้นเมื่อ January 21, 2015.[ลิงก์เสีย]
  4. Spencer, Naomi (January 26, 2012). "Discs cease flying near Eternal Flame Falls". Orchard Park Bee. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-02-22. สืบค้นเมื่อ January 24, 2015.
  5. Colmerauer, Catherine (August 21, 2014). "Travel Channel to highlight eternal flame in new series". Orchard Park Bee. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-09-24. สืบค้นเมื่อ April 11, 2015.
  6. 6.0 6.1 "Geologists study mystery of 'eternal flames'". IU News Room: Indiana University. May 9, 2013. สืบค้นเมื่อ January 21, 2015.
  7. Etiopea, Giuseppe; Drobniakc, Agnieszka; Schimmelmannd, Arndt (May 2013). "Natural seepage of shale gas and the origin of 'eternal flames' in the Northern Appalachian Basin, USA". Marine and Petroleum Geology. 43: 178–186. doi:10.1016/j.marpetgeo.2013.02.009. สืบค้นเมื่อ 21 January 2015.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]