นิสสัน พรีเซีย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
Nissan Presea
ภาพรวม
บริษัทผู้ผลิตNissan
เริ่มผลิตเมื่อ1990–2000
แหล่งผลิตOppama Plant, Yokosuka, Kanagawa, Japan
ผู้ออกแบบSatoshi Wada (1989)
ตัวถังและช่วงล่าง
ประเภทCompact
รูปแบบตัวถัง4-door hardtop
โครงสร้างFF layout
รุ่นที่คล้ายกันนิสสัน ไพรม์เมร่า
NX Coupe
Nissan Pulsar
Nissan Sunny
ระบบส่งกำลัง
เครื่องยนต์1.5 L I4, GA15DE
1.6 L I4, GA16DE
1.8 L I4, SR18DE
2.0 L I4, SR20DE
ระบบเกียร์4-speed automatic
5-speed manual
มิติ
ระยะฐานล้อ2,500 mm (98.4 in) (R10)
ความยาว4,420 mm (174.0 in) (R10)
ความกว้าง1,690 mm (66.5 in) (R10)
ความสูง1,320 mm (52.0 in) (R10)
ระยะเหตุการณ์
รุ่นก่อนหน้านิสสัน ลอเรล Spirit
รุ่นต่อไปนิสสัน ซิลฟี่
นิสสัน Presea

นิสสัน พรีเซีย (อังกฤษ: Nissan Presea) เป็นรถยนต์ซีดานขนาดเล็กที่ผลิตขึ้นสำหรับตลาดเอเชีย ในช่วงปี ค.ศ. 1990 - 2000 เพื่อแข่งขันกับรถซีดาน 4 ประตู ในระดับหรูหราที่เป็นที่นิยมในญี่ปุ่นในช่วงทศวรรษ 90 โดยเฉพาะ เช่น Toyota Carina ED, Toyota Corona EXiV, Subaru Legacy, Mazda (Efini) MS-8, Honda Vigor ซีดาน และ Mitsubishi Emeraude

ชื่อ "Presea" มาจากภาษาสเปน หมายถึง "อัญมณี" หรือ "สิ่งสำคัญ"

พรีเซีย R10 ถูกสร้างขึ้นโดยมีพื้นฐานเดิมมากจากแพลตฟอร์มของรถยนต์นิสสันพรีเมียรา P10 Nissan Primera โดยอบู่บนแนวคิดร่วมกันในหลายๆประการ เปรียบเหมือนเป็นรุ่นพี่น้องกันกับนิสสันพรีเซียเลยทีเดียว โดยสเปคของวัสดุภายในของพรีเซีย R10 นั้น จะมีการเพิ่มคุณภาพของวัสดุให้มีคุณภาพที่สูงขึ้น ทั้งวัสดุที่ใช้ผลิตเป็นเบาะและแผงข้างประตูถูกผลิตจากผ้าชนิดเดียวกันกับที่ใช้ในรถนิสสันบลูเบิร์ด อุปกรณ์มาตรฐานซึ่งล้ำหน้ากว่ารถในยุคเดียวกันได้แก่ ไฟหน้าอัตโนมัติ ดวงไฟเขียวรอบชุดกุญแจสตาร์ท ระบบควบคุมสภาพอากาศแบบอัตโนมัติ ระบบควบคุมอุณหภูมิดิจิตอล สามารถปรับระดับความสูงที่นั่งใน 4 ทิศทางสำหรับที่นั่งคนขับ ระบบปัดน้ำฝนกระจกบังลมหน้าสามารถกำหนดเวลาเป็นช่วง กระจกมองข้างปรับและพับเก็บด้วยไฟฟ้า จุดเด่นคือหน้าต่างของประตูรถทั้งสี่บานเป็นแบบไร้กรอบ (frameless windows) ที่สามารถพบใน NX Coupe และ Silvia โดยในรุ่นท็อปสุดจะมีดิสก์เบรก 4 ล้อพร้อม ABS และที่ปัดน้ำฝนกระจกหน้ารถด้านหลัง

เสาเอ (A-pillar) จะมีขนาดเล็กหากเทียบกับรถขนาดเล็กทั่วๆไป และเสาบี (B-Pillar) ใช้เทคนิคการออกแบบที่ทำให้ มองเห็นได้ไม่ชัดเจนนักจากภายนอกว่าเสาบีนั้นมีอยู่หรือไม่ และหากมองจากด้านในรถ เสาบีจะมีขนาดเล็กมาก โดยเหลือพื้นที่เล็กน้อยเพียงแค่กว้างพอที่จะรองรับการติดตั้งเข็มขัดนิรภัยเท่านั้น เสาซี (C-pillar) ออกแบบโดยให้เสาซีนำเอากระจกบังลมถอยห่างจากมุมโค้งของกระจกเอง เพื่อให้ตัวกระจกอ้อมออกไปทางด้านหลัง จากเทคนิคการออกแบบทำให้เกิดมุมมองจากภายในที่กว้างขึ้น โดยให้มุมมองจากภายในสู่ภายนอกที่ให้มุมมองกว้างกว่า 300 องศา โดยมีแรงบันดาลใจของการออกแบบมาจากความต้องการให้ผู้ขับมีความรู้สึกคล้ายกับกำลังนั่งในที่ที่นั่งของนักบินของเครื่องบินรบ การออกแบบภายนอกมีแนวคิดที่โค้งมนที่ปราศจากมุมตรงใดๆทั้งสิ้น การออกแบบกระจังหน้านั้นกลับฉีกแนวจากรถในยุคนั้นที่นิยมออกแบบกระจังหน้าแบบตะแกรงหรือตาข่าย จากแนวคิดดังกล่าวทำให้ได้ผลลัพธ์โดยรวมออกมาเป็นรถดูเรียบโฉบเฉี่ยวและเป็นรถแห่งอนาคตอย่างแท้จริงในยุคนั้น

ลักษณะเฉพาะ[แก้]

มิติ[แก้]

พรีเซีย R10 ถูกจัดให้อยู่ครึ่งทางระหว่าง Sunny Sentra PULSAR Bluebird และ Primera การออกในมิติภายนอกและขนาดของเครื่องยนต์เป็นไปตามระเบียบของรัฐบาลญี่ปุ่น โดยให้ผู้ซื้อได้รับความหรูหราที่สูงขึ้นจาก Bluebird และ Primera ขณะที่ยังคงให้ความประหยัดในแง่ของภาษีในรถยนต์ขนาดเล็กเช่นเดียวกันกับ Sunny Sentra และ PULSAR

เมื่อเทียบกับรถยนต์ขนาดเล็กที่สุดของเวลานั้น นิสสัน พรีเซีย R10 จะค่อนข้างยาว โดยมีความยาวอยู่ที่ 4420 มม. โดยยาวกว่า Sentra อยู่ 15 เซนติเมตร ความสูงค่อนข้างต่ำสำหรับรถยนต์ซีดานทั่วไปโดยผู้โดยสารมักจะรู้สึกว่าจำเป็นที่จะต้องก้มตัวเพื่อเข้าไปในรถ ที่มีความสูงหลังคาเพียง 1320 มม.เท่านั้น และด้วยความกว้าง 1,690 มม. ที่ถูกออกแบบให้กว้างเท่าที่จำเป็นสำหรับผู้ใหญ่ 2 ท่าน และอาจมีเด็กอีกสักคนหนึ่งสำหรับที่นั่งด้านหลัง ฐานล้อมีความยาวเพิ่มขึ้นอีกเล็กน้อยเมื่อเทียบกับซันนี่ โดยพรีเซีย R10 มีความยาวฐานล้ออยู่ที่ 2,500 มม. จึงถูกจัดให้เป็นรถยนต์ระดับชั้นนำสำหรับยุคของรถยนต์ขนาดเล็กที่อยู่ในระดับเดียวกัน เพราะทุกๆมิติความกว้างที่เพิ่มขึ้น (แม้จะเล็กน้อย) ทำให้ได้รับความสะดวกสบายที่เพิ่มขึ้น พื้นที่วางเท้าถูกจัดวางให้มีความจุสูง โดยมีความจุกว่า 300 ลิตร เนื่องด้วยวิธีการออกแบบให้เบาะหลัง (backseats) มีความแอ่นมากซึ่งทำให้ผู้โดยสารด้านหลังมีความสะดวกสบายมากขึ้น

ระบบการควบคุม[แก้]

ระบบกันสะเทือนหน้าเป็นแบบแมคเฟอร์สันสตรัท Macpherson struts ส่วนด้านหลังเป็นแบบมัลติลิงก์ที่เป็นแขนขนาน เนื่องด้วยระบบกันสะเทือนเป็นแบบอิสระทั้งสี่ล้อ รวมกับสมบัติเด่นที่มีระยะฐานล้อที่ค่อนข้างกว้าง ทำให้การขับขี่จะรู้สึกได้ถึงความมั่นใจในการขับขี่บนทางหลวงยาวๆ และความมั่นใจได้ในการเข้าโค้ง ระบบเบรกหน้าเป็นแบบดิสก์เบรก ที่ร่องระบายความร้อนบวกกับการที่มีลูกสูบเบรกแบบเดี่ยวที่มีขนาดใหญ่ เบรกหลังดิสก์เบรก และมีทั้งที่เป็นแบบดรัมเบรกโดยที่มีระบบปรับระยะเบรกอัตโนมัติ

ขนาดเครื่องยนต์[แก้]

ในประเทศญี่ปุ่น พรีเซีย R10 ส่วนใหญ่มาพร้อมกับเครื่องยนต์ทั้ง GA15DS 1498cc, 1798cc เครื่องยนต์ SR18Di และ SR20DE 1998cc สำหรับส่วนที่เหลือของโลกจะใช้เครื่อง GA16DE เครื่องยนต์ขนาด 1598cc ซึ่งเป็นเครื่องยนต์ที่มีการให้พละกำลังอย่างพอเพียงและประหยัดน้ำมันเชื้อเพลิง เนื่องด้วยมีระบบ VTC (Variable Valve Timing)และ DOHC

จุดอ่อน[แก้]

ด้วยเจตนาของทีมวิศวกรที่ออกแบบภายในรถยนต์พรีเซีย R10 ที่ต้องการความเรียบเนียนของพื้นผิวพลาสติกบางส่วนที่หน้าคอนโซนให้มีความหรูหรา ทำให้เลือกใช้เบอร์พลาสติกที่ไม่ทนทานต่อความร้อนในประเทศไทย จนเป็นเหตุให้พลาสติกเช่น กรอบของช่องลมแอร์ และช่องอากาศเหนือคอนโซลหน้ารถ มีอาการกรอบแตกและละลาย

ไฟในกันชนหน้า รุ่นที่จำหน่ายในประเทศไทยจะเป็นไฟแบบแนวนอนตามยาว หรือเรียกว่ารุ่นไฟยาว ด้วยเจตนาให้ส่องพื้นผิวมากกว่าให้กระทบสายตารถที่สวนทางมา ทำให้ตำแหน่งการจัดวางทำมุมก้มต่ำลงไปที่พื้นมาก และด้วยเลนส์ที่มีความบางทำให้เมื่อมีหินดีดกระเด็นมากระทบตามองศาของเลนส์ไฟดังกล่าวทำให้แตกร้าวได้ง่าย แต่รุ่นที่จำหน่ายในญี่ปุ่นจะเป็นรุ่นไฟสั้น ทำมุมตั้งฉากกับพื้นและเป็นหลุมลึกหลบเข้าไปในกันชนทำให้มีโอกาสถูกหินกระทบแตกน้อยกว่า แม้ความสวยงามอาจดูเป็นรองแต่ก็จูงใจให้ผู้ใช้รถในไทยเปลี่ยนไปใช้กันชนรุ่นนี้เป็นจำนวนมาก