นักเต้นแบกโลง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
นักเต้นแบกโลง
ที่เกิดPrampram, ประเทศกานา
ช่วงปีพ.ศ. 2558 - ปัจจุบัน
สมาชิก
  • เบนจามิน ไอดู
  • นานา โอตาเฟรยา
เว็บไซต์Nana Otafrija Pallbearing & Waiting Services

นักเต้นแบกโลงเป็นกลุ่มชนชาวกานาที่ประกอบอาชีพแบกโลงศพในเมือง Prampram ใกล้ชายฝั่งในภูมิภาคเกรเตอร์แอคครา ตอนใต้ของประเทศกานา นอกจากนี้ยังยังได้รับการว่างจ้างให้ไปประกอบพิธีทั่วประเทศและในต่างประเทศอีกด้วย[1][2][3][4] โดยพวกเขาตั้งกลุ่มขึ้นในท้องถิ่นว่า Nana Otafrija Pallbearing and Waiting Service หรือ Dada awu.[5][6][7]

กลุ่มของพวกเขาเริ่มเป็นรู้จักในวงกว้างเมื่อบีบีซีได้เผยแพร่เรื่องราวของพวกเขาในปี พ.ศ. 2560[8] ต่อมาภาพการเต้นแบกโลงบางส่วนจากคลิปข่าวดังกล่าวกลายมาเป็นมีมบนอินเทอร์เน็ตในช่วงต้นปี พ.ศ. 2563 ท่ามกลางการระบาดทั่วของไวรัสโคโรนา พ.ศ. 2562–2563

ต้นกำเนิด[แก้]

กลุ่มนักเต้นแบกโลงเริ่มต้นนำโดยเบนจามิน ไอดู ซึ่งเดิมทีได้เริ่มตั้งกลุ่มรับแบกโลงศพรูปแบบปกติ ต่อมาเขามีแนวความคิดที่ใส่การเต้นรำลงไปในการแบกโลงของพวกเขา โดยเป็นการเพิ่มมูลค่าในงานของเขาขึ้นจากปกติด้วย[9] กลุ่มนักเต้นแบกโลงนี้เริ่มที่เป็นที่รู้จักครั้งแรกในปี พ.ศ. 2560 จากรายงานข่าวของบีบีซี เวิลด์นิวส์[10]

ในวัฒนธรรมร่วมสมัย[แก้]

ในช่วงปลายเดือนมีนาคม พ.ศ. 2563 DigiNeko ยูทูบเบอร์ได้อัปโหลดวิดีโอของกลุ่มนักเต้นแบกโลงประกอบจังหวะกับเพลง Astronomia ลงบนยูทูบ ทำให้เกิดเป็นกระแสบนอินเทอร์เน็ตอย่างมาก ต่อมาในเดือนเมษายน กลุ่มนักเต้นแบกโลงเป็นที่รู้จักในฐานะมีมตลกร้าย กล่าวคือวิดีโอจะเริ่มด้วยภาพของผู้คนกำลังจะประสบอุบัติเหตุแล้วภาพจะตัดไปยังคลิปของนักเต้นแบกโลงขณะกำลังปฏิบัติหน้าที่ (เสมือนว่าผู้ประสบเหตุในคลิปก่อนหน้าได้อยู่ในพิธีนี้แล้ว) กลายเป็นคลิปที่มีทำซ้ำ ดัดแปลง และอัปโหลดลงบนยูทูบ เรดดิต และติ๊กต๊อกเป็นจำนวนมาก[11] โดยคลิปมักจะประกอบจังหวะกับเพลง "Astronomia" ที่แต่งโดย Tony Igy นักดนตรีชาวรัสเซียและรีมิกซ์โดย Vicetone ดูโอ้ชาวดัตช์ แม้ในบางครั้งจะใช้เพลง "You Know I'll Go Get" โดยดีเจ Haning และ Rizky Ayuba (เป็นเพลงฉบับรีมิกซ์ของเพลง Finally Found You ที่แต่งโดย Enrique Iglesias) หรือเพลงทรับเบิลอิสอะเฟรนด์ของเล็งกา[12] โดยมีมนี้มักใช้เกี่ยวกับการระบาดทั่วของไวรัสโคโรนา พ.ศ. 2562–2563 ซึ่งทำให้มีมนี้เป็นที่แพร่หลายมากขึ้นอีกด้วย[13]

ในประเทศบราซิลมีมนี้ได้กลายเป็นที่แพร่หลายจนลงบนป้ายโฆษณาขนาดใหญ่ริมถนนที่มีภาพของนักเต้นแบกโลงพร้อมข้อความประกกอบ 'stay home or dance with us' (อยู่บ้านหรือเต้นกับพวกเรา)[14] ในเดือนพฤษภาคม ทางกลุ่มนี้ได้เผยแพร่วิดีโอพร้อมข้อความประกอบที่พวกเขาได้รับการกล่าวถึงข้างต้นเพื่อเน้นย้ำให้ผู้ชมเลือกที่จะ "อยู่บ้านหรือเต้นกับพวกเรา"[15]

ผู้นำพรรค Libertarian party ในจอร์เจีย "Girchi" ได้แต่งกายด้วยชุด Chokha อันเป็นชุดประจำชาติจอร์เจีย และทำวิดีโอในรูปแบบดังกล่าว[16]

ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2563 ดอนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐ ได้แชร์วิดีโอกลุ่มนักเต้นแบกโลงฉบับที่ตัดต่อลงบนสื่อสังคมของเขา[17]เพื่อตอบโต้การให้สัมภาษณ์ของโจ ไบเดิน[18] ซึ่งโจเคยดำรงตำแหน่งรองประธานาธิบดีในสมัยบารัก โอบามาเป็นประธานาธิบดี และกำลังเป็นตัวแทนพรรคเดโมแครตที่เข้าชิงตำแหน่งประธานาธิบดีในการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐ พ.ศ. 2563 โดยในวิดีโอดังกล่าว สัญลักษณ์การรณรงค์การเลือกโจถูกแปะติดกับโลงศพในคลิปนั้น

ดูเพิ่มเติม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. "How Prampram pallbearers became an international sensation - and a meme". April 17, 2020.
  2. BroBible. "Comedy May Have Officially Peaked With The 'Dancing Pallbearers' Meme And It Couldn't Have Happened At A Better Time". BroBible (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2020-04-08.
  3. "Dancing Pallbearers". Know Your Meme. สืบค้นเมื่อ 2020-04-08.
  4. "The dancing pallbearers meme showcases failures of epic proportions". The Daily Dot (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2020-04-05. สืบค้นเมื่อ 2020-04-08.
  5. "Funeral dancers for hire". BBC News (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2020-04-19.
  6. "How Prampram pallbearers became an international sensation - and a meme". The Ghana Report (ภาษาอังกฤษ). 2020-04-17. สืบค้นเมื่อ 2020-04-19.
  7. Quaye, Jacqueline Johnson (2020-04-16). "From Ghana to Global Superstars: The Dancing pallbearers from Prampram". AmeyawDebrah.com (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2020-04-24.
  8. "Africa Live: Def Jam comes to Africa to 'invest in talent'". BBC News (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). สืบค้นเมื่อ 2020-05-27.
  9. "Ghanaians really know how to celebrate when someone dies". Metro (ภาษาอังกฤษ). 2017-07-27. สืบค้นเมื่อ 2020-04-08.
  10. "Ghana's dancing pallbearers bring funeral joy". BBC (ภาษาอังกฤษ). 2017-07-26. สืบค้นเมื่อ 2020-04-20.
  11. Kaur, Loveleen (2020-04-04). "Ghana's Dancing Pallbearers Inspire Memes & Jokes Online". Storypick (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). สืบค้นเมื่อ 2020-04-08.
  12. Amter, Charlie (April 30, 2020). "Tracing the 'Coffin Dance' Meme Music's Path From Russia to Ghana to the World". Variety. สืบค้นเมื่อ May 19, 2020.
  13. Paquette, Danielle (April 25, 2020). "The sudden rise of the coronavirus grim reaper: Ghana's dancing pallbearers". The Washington Post. สืบค้นเมื่อ May 19, 2020.
  14. Nunoo, Favour (17 April 2020). "'Stay home or dance plus us' – How dancing Ghana pallbearers turn Covid-19 sensation". BBC News Pidgin.
  15. Scribner, Herb (7 May 2020). "In new video, viral Ghana coffin dancers warn everyone to 'stay home or dance with us'". Deseret News.
  16. “გირჩის ცეკვა კუბოთი” (ვიდეო)
  17. "Pres. Trump's Facebook Page". Facebook. สืบค้นเมื่อ 2020-05-27.
  18. Reimann, Nicholas (22 May 2020). "Biden Facing Backlash After Suggesting 'You Ain't Black' If You Support Trump". Forbes.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]