ท้าวอินทรสุริยา (อาบ ชูโต)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ท้าวอินทรสุริยา (อาบ ชูโต)
เกิดอาบ ชูโต
ไม่ทราบ
เสียชีวิตไม่ทราบ
มีชื่อเสียงจากพระพี่เลี้ยงใน สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร
บิดามารดาธิดาคนโตของเจ้าพระยาพลเทพ(เอี่ยม​ ชูโต)​กับท่านผู้หญิงอิ่ม

ท้าวอินทรสุริยา ชื่อเดิม อาบ ชูโต เป็นพระพี่เลี้ยงใน สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร และต่อมาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานบรรดาศักดิ์ให้เป็น ท้าวอินทรสุริยา ตำแหน่งคุณท้าวว่าการห้องวิเสท [1]

โดยสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร นั้นทรงบันทึกในจดหมายเหตุรายวัน[2] ส่วนพระองค์ ถึงคุณท้าวท่านนี้ หลายตอน บางตอนอ่านแล้วน่ารักน่าเอ็นดูทั้งพระองค์ท่านเองและคุณท้าวท่านตรัสเรียกคุณท้าวว่า “ยายอิน”


เมื่อพระชนมายุเพียง ๕ พรรษา ทรงบันทึกว่า วันเสาร์ที่ ๓๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๒๖

“วันนี้เราขี้เกียจอ่านหนังสือ ยายอินเตือนให้เราอ่าน เราร้องไห้สองหน เราอ่านเล็กน้อย กลับมายายอินล้อเรา เราชกกับยายอิน...ฯลฯ...”และ

“...ยายอินมาเล่าถึงไปดูรับแขกเมือง...“

“...เราเล่นกับยายอิน...“

ทว่าแม้จะเป็นพระพี่เลี้ยง ซึ่งใกล้ชิดสนิทสนมและดูจะโปรดมาก เมื่อยายอินของพระองค์ท่านบกพร่อง ก็ไม่ทรงเข้าข้าง แสดงว่าทรงรู้จักคิด รู้จักว่าความรับผิดชอบคืออะไร ตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์


ทรงบันทึกเมื่อวันที่ ๑๐ เมษายน พ.ศ. ๒๔๒๘ พระชนมายุย่างเข้า ๗ พรรษา ว่า

“สองโมงเศษแต่งตัวไปทรงบาตร ทูลหม่อมบนไม่ได้เสด็จลง เราทรงแทน พระแปดสิบ ข้าวไม่พอ เราออกฉุนเต็มแก่ ได้เรียกยายอินมาต่อว่า แกกลับพูดเละละ บ่ายเราไปบน เฝ้าที่สวนสวรรค์ ทูลหม่อมบนทรงก่อเขา เราทูลถึงข้าวบาตรไม่พอ รับสั่งว่าให้เราเอาตัวยายอินมาเฆี่ยนเสีย...“


วันที่ ๑๓ เมษายน ๒๔๒๘ ทรงบันทึกว่า

“...เมื่อเสด็จที่ไพศาล (พระที่นั่งไพศาลทักษิณ) รับสั่งถามยายอินเรื่องของทรงบาตร ยายอินฉุนเราใหญ่ เราไม่เข้ากับผู้ผิดแน่ เห็นอะไรก็ต้องทูลให้ทูลหม่อมบนทรงทราบ...“

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. https://writer.dek-d.com/bird711/story/viewlongc.php?id=524172&chapter=80
  2. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-01-29. สืบค้นเมื่อ 2020-01-29.
  3. ราชกิจจานุเบกษา, การถวายบังคมพระบรมรูปแลพระราชทานเครื่องราชอิศริยาภรณ์, 18 พฤศจิกายน ค.ศ. 1894, หน้า 262
  4. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลปัจจุบันฝ่ายใน เก็บถาวร 2011-11-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๒๕, ตอน ๓๙, ๒๗ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๕๑, หน้า ๑๑๕๓