ทะเลสาบตัมบลีงัน
ทะเลสาบตัมบลีงัน | |
---|---|
ปูราในทะเลสาบตัมบลีงัน | |
ที่ตั้ง | อำเภอบูเลเล็ง จังหวัดบาหลี ประเทศอินโดนีเซีย |
พิกัด | 8°15′25″S 115°05′49″E / 8.257056°S 115.097003°E |
ชนิด | ทะเลสาบปล่องภูเขาไฟ |
ชื่อในภาษาแม่ | ᬤᬦᬸᬢᬫ᭄ᬩᭂᬮᬶᬗᬦ᭄ |
ประเทศในลุ่มน้ำ | อินโดนีเซีย |
ช่วงยาวที่สุด | 2 กิโลเมตร (1.2 ไมล์) |
ช่วงกว้างที่สุด | 1.1 กิโลเมตร (0.68 ไมล์) |
พื้นที่พื้นน้ำ | 1.6 ตารางกิโลเมตร (0.62 ตารางไมล์) |
ความลึกสูงสุด | 90 เมตร (300 ฟุต) |
ปริมาณน้ำ | 0.027 ลูกบาศก์กิโลเมตร (0.0065 ลูกบาศก์ไมล์) |
ความสูงของพื้นที่ | 1,217 เมตร (3,993 ฟุต) |
เมือง | หมู่บ้านกูบุก |
ทะเลสาบตัมบลีงัน (บาหลี: Danu Tamblingan / ᬤᬦᬸᬢᬫ᭄ᬩᭂᬮᬶᬗᬦ᭄; อินโดนีเซีย: Danau Tamblingan) เป็นทะเลสาบปล่องภูเขาไฟในอำเภอบูเลเล็ง จังหวัดบาหลี ประเทศอินโดนีเซีย ตั้งอยู่บนเชิงเขาเลอซุง (Lesung) ในหมู่บ้านมุนดุก ตำบลบันจาร์ อำเภอบูเลเล็ง ทะเลสาบนี้เป็นหนึ่งในสามทะเลสาบในพื้นที่เดียวกัน อีกสองแห่งคือทะเลสาบบูยัน (Buyan) และทะเลสาบบราตัน (Bratan) ทะเลสาบตัมบลีงันรายล้อมด้วยป่าดงดิบหนาทึบ ปรากฏหลักฐานทางโบราณคดีอายุศตวรรษที่ 10 ที่ชี้ให้เห็นว่ามีการดำรงอยู่ของอารยธรรมในแถบนี้ รัฐบาลได้กำหนดให้พื้นที่โดยรอบทะเลสาบเป็นพื้นที่คุ้มครองโดยไม่ให้มีการพัฒนาพื้นที่เนื่องจากเป็นสถานที่ที่มีความสำคัญทางนิเวศวิทยา และทางศาสนาและวัฒนธรรม[1]
ในบรรดาสามทะเลสาบที่กล่าวมาข้างต้นนั้น ทะเลสาบตัมบลีงันเป็นทะเลสาบที่เล็กที่สุด[2] ตั้งอยู่ที่ความสูงเกิน 1,000 เมตรจากระดับน้ำทะเล ทำให้ทะเลสาบมีสภาพอากาศแบบแอลป์[3] ในป่าดงดิบที่รายล้อมทะเลสาบนั้นสามารถพบสายพันธุ์กล้วยไม้และลิงมาคากบนชายฝั่งของทะเลสาบมีเพียงหมู่บ้านเดียวเท่านั้น คือหมู่บ้านกูบุก (Gubug) ซึ่งอยู่บนชายฝั่งทางใต้ของทะเลสาบ[2]
ชายฝั่งของทะเลสาบยังเต็มไปด้วยโบสถ์พราหมณ์แบบบาหลีเก่าแก่กระจัดกระจายกันไป โบสถ์หลังหลักคือปูราดาเลิมตัมบลีงัน (Pura Dalem Tamblingan) บนชายฝั่งตะวันออก ปรากฏการกล่าวถึงปูรานี้เป็นครั้งแรกในศตวรรษที่ 10 ในจารึกทองแดงที่ค้นพบในโกเบล็ก (Gobleg) [4] โบสถ์หลังอื่น ๆ ที่น่าจะมีอายุพอ ๆ กัน คือ ปูราเอิมบัง (Pura Embang) และปูราตูกังติมบัง (Pura Tukang Timbang) [5] คำว่า ดาเลิม (dalem) ในชื่อของปูราดาเลิมตัมบลีงัน เป็นคำเรียกโบสถ์ชนิดที่ไว้ประกอบพิธีจำพวกพิธีศพและพิธีการเปลี่ยนผ่าน ในธรรมเนียมหมู่บ้านบาหลีนิยมสร้างโบสถ์ดาเลิมไว้อยู่ปลายทิศใต้ (kelod) ของตัวหมู่บ้าน[4]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Luh De Suriyani. "Ecosystem in Tamblingan, Buyan lakes threatened". The Jakarta Post. April 25 2011
- ↑ 2.0 2.1 Auger 2001, pp. 140–1.
- ↑ Ottersen 2016, p. 122.
- ↑ 4.0 4.1 Ottersen 2016, p. 125.
- ↑ Surya 2012, pp. 140–1.
บรรณานุกรม
[แก้]- Auger, Timothy, บ.ก. (2001). Bali & Lombok. Eyewitness Travel Guides. London: Dorling Kindersley. ISBN 0751368709.
- Ottersen, Carl (2016). The Great Guide to Bali: For Tablets. Great Guides. Folkestone: No Trees Publishing.
- Surya, D. (2012). Bali dan Sekitarnya [Bali and Surrounding] (ภาษาอินโดนีเซีย). ISBN 9781480078611.