ทะเลวัดเดน
แหล่งมรดกโลกของยูเนสโก | |
---|---|
![]() | |
ที่ตั้ง | ทะเลเหนือในประเทศเดนมาร์ก เยอรมนี และเนเธอร์แลนด์ |
เกณฑ์การคัดเลือก | ธรรมชาติ: viii, ix, x |
อ้างอิง | 1314 |
จารึก | 2009 (คณะกรรมการสมัยที่ 33) |
การขยาย | 2011, 2014 |
ทะเลวัดเดน: 1 = อุทยานแห่งชาติเลาเวอร์เมร์ ประเทศเนเธอร์แลนด์ 2 = อุทยานแห่งชาติทะเลวัดเดนนีเดอร์ซัคเซิน ประเทศเยอรมนี 3 = อุทยานแห่งชาติทะเลวัดเดนฮัมบวร์ค ประเทศเยอรมนี 4 = อุทยานแห่งชาติทะเลวัดเดนชเลสวิช-ฮ็อลชไตน์ ประเทศเยอรมนี 5 = อุทยานแห่งชาติทะเลวัดเดน ประเทศเดนมาร์ก |
ทะเลวัดเดน (ดัตช์: Waddenzee [ˈʋɑdə(n)zeː] ( ฟังเสียง); เยอรมัน: Wattenmeer; เยอรมันต่ำ: Wattensee หรือ Waddenzee; เดนมาร์ก: Vadehavet; ฟรีเชียตะวันตก: Waadsee; ฟรีเชียเหนือ: di Heef) เป็นเขตน้ำตื้นริมฝั่งบริเวณตะวันออกเฉียงใต้ของทะเลเหนือ ตั้งอยู่ระหว่างยุโรปภาคพื้นทวีปตะวันตกเฉียงเหนือกับแนวหมู่เกาะฟรีเชียน ก่อให้เกิดบริเวณน้ำตื้นที่มีที่ลุ่มราบน้ำขึ้นถึงกับพื้นที่ชุ่มน้ำ บริเวณนี้มีความหลากหลายทางชีวภาพสูงและเป็นพื้นที่สำคัญในการผสมพันธุ์และการอพยพของนก ใน ค.ศ. 2009 ทะเลวัดเดนส่วนดัตช์และเยอรมันถูกประกาศเป็นแหล่งมรดกโลกของยูเนสโก และส่วนของเดนมาร์กค่อยถูกเพิ่มในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 2014[1][2]
ทะเลวัดเดนทอดยาวจากเด็นเฮ็ลเดอร์ทางตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศเนเธอร์แลนด์ ผ่านชะวากทะเลของประเทศเยอรมนี ไปยังชายฝั่งทางเหนือที่สกัลลิงเงินในประเทศเดนมาร์ก ซึ่งมีชายฝั่งรวม 500 กิโลเมตร (310 ไมล์) และกินพื้นที่รวมประมาณ 10,000 ตารางกิโลเมตร (3,900 ตารางไมล์) ในอดีต บริเวณนี้มักถูกน้ำท่วมรุนแรง ทำให้มีผู้เสียชีวิตหลายพันคน บางครั้งถึงขั้นเปลี่ยนรูปร่างชายฝั่ง[3][4] มีการสร้างคันดินจำนวนมาก[5]กับถนนข้ามแหล่งน้ำบางส่วน[6] และน้ำท่วมในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาทำให้มีผู้เสียชีวิตน้อยหรือไม่มีเลย (แม้ว่าจะมีคันดินกั้นน้ำบางแห่งและในพื้นที่ไม่ค่อยถูกบุกรุกในประวัติศาสตร์ที่ผ่านมาก็ตาม)[3][4] จึงทำให้เป็นการเปลี่ยนแปลงแหล่งที่อยู่ของมนุษย์มากที่สุดในโลก[7]
อ้างอิง[แก้]
- ↑ Wadden Sea World Heritage Site. Retrieved on 29 April 2010.
- ↑ "Six new sites inscribed on World Heritage List". UNESCO. สืบค้นเมื่อ 23 June 2014.
- ↑ 3.0 3.1 "Tusinder af omkomne: Se listen over historiens værste stormfloder". Fyens Stiftstidende. 8 January 2019. สืบค้นเมื่อ 15 December 2019.
- ↑ 4.0 4.1 "Stormfloder i Vadehavet". Nationalpark Vadehavet. สืบค้นเมื่อ 15 December 2019.
- ↑ https://waddensea-forum.org/images/archive/cultural-landscape/wadden-sea-comp-study_culture.pdf
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร" (PDF). เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-05-02. สืบค้นเมื่อ 2017-05-02.
- ↑ C. Michael Hogan (2011). "Wadden Sea". ใน P. Saundry; C. Cleveland (บ.ก.). Encyclopedia of Earth. Washington DC: National Council for Science and the Environment.
แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]
![]() |
วิกิท่องเที่ยว มีคำแนะนำการท่องเที่ยวสำหรับ Wadden Sea |
![]() |
คอมมอนส์ มีภาพและสื่อเกี่ยวกับ: ทะเลวัดเดน |
- Vollmer, M.; Guldberg, M.; Maluck, M.; Marrewijk, D.; Schlicksbier, G. (2001). "Landscape and Cultural Heritage in the Wadden Sea Region - Project Report" (PDF). Wadden Sea Ecosystem. 12.
- Knottnerus, Otto S. (2005). "History of human settlement, cultural change and interference with the marine environment".
- Secretariat of The Trilateral Cooperation on the Protection of the Wadden Sea
- Visit Vesterhavet – tourist information for the Danish North Sea and Wadden Sea
- Official Tourist Information for the westernmost part of the German National Park
- The Wadden Sea at the UNESCO World Heritage Centre
- Wadden Sea World Heritage
- LancewadPlan: Integrated Landscape and Cultural Heritage Management and Development Plan for the Wadden Sea Region (A collection of studies on the cultural history of the Wadden Sea Region 2004–2007, internet archive)