ทรีบิวต์ (อัลบั้มยานนี)
Tribute | ||||
---|---|---|---|---|
อัลบั้มบันทึกการแสดงสด และอัลบั้มเพลงโดย | ||||
วางตลาด | 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540 | |||
บันทึกเสียง | มีนาคม พ.ศ. 2540 – พฤษภาคม พ.ศ. 2540 | |||
แนวเพลง | บทเพลงบรรเลง อีซีลีเซ็นนิง ดนตรีร่วมสมัยสำหรับผู้ใหญ่ | |||
ความยาว | 67:13 | |||
ค่ายเพลง | เวอร์จิ้นเรคคอร์ดส์ | |||
โปรดิวเซอร์ | ยานนี | |||
อันดับความนิยมจากนักวิจารณ์ดนตรี | ||||
ลำดับอัลบั้มของยานนี | ||||
|
ทรีบิวต์ (อังกฤษ: Tribute) เป็นอัลบั้มและวีดิทัศน์บันทึกการแสดงสดของยานนี ในดนตรีแนวนิวเอจ ถ่ายทำและบันทึกการแสดงในประเทศอินเดีย และประเทศจีน ระหว่างเดือนมีนาคม – พฤษภาคม พ.ศ. 2540
ทรีบิวต์เป็นอัลบั้มเพลงในรูปแบบแพคเก็ตอัลบั้ม ออกวางจำหน่ายในวันที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540 ความยาว 67:13 นาที โดย เวอร์จิ้นเรคคอร์ดส์ ทรีบิวต์ เป็นอัลบั้มบันทึกการแสดงสดของยานนีในบริเวณทัชมาฮาลและพระราชวังต้องห้าม ซึ่งต่อมาภายหลังได้นำการแสดงทั้งสองแห่ง มาตัดต่อและรวมรวมเป็นอัลบั้ม
ประวัติ
[แก้]ทรีบิวต์เป็นอัลบั้มและบันทึกการแสดงสดของยานนี สำหรับการทัวร์คอนเสิร์ตในแถบทวีปเอเชีย ซึ่งสถานที่ในการแสดง ถ่ายทำและบันทึกการแสดงครั้งนี้ เป็นสถานที่หวงห้ามของทั้งสองประเทศ แต่ยานนีเป็นหนึ่งในนักดนตรีชาวตะวันตกไม่กี่คน ที่ได้รับอนุญาตเป็นกรณีพิเศษจากประเทศอินเดียให้เข้าทำการแสดงและถ่ายทำบันทึกการแสดงที่บริเวณทัชมาฮาล หนึ่งในเจ็ดสิ่งมหัศจรรย์ของโลก โดยการแสดงเป็นส่วนหนึ่งของการเฉลิมฉลองรอบปีที่ห้าสิบของการประกาศอิสรภาพของอินเดีย[1]
ต่อมายานนีได้รับอนุญาตจากประเทศจีน ให้เข้าทำการแสดงและบันทึกการแสดงที่บริเวณพระราชวังต้องห้ามในประเทศจีน มีผู้ชมประมาณ 4,000 ที่นั่ง ซึ่งหลายร้อยที่นั่งสงวนไว้สำหรับเจ้าหน้าที่จีน[2] คอนเสิร์ตได้รับคำสั่งให้มีความดังไม่เกิน 40 เดซิเบล ก่อนการแสดงนี้ยานนีได้เปิดการแสดงที่สนามกีฬาในนครเซี่ยงไฮ้และกว่างโจวซึ่งบัตรจำหน่ายหมดทั้งสองรอบ ต่อมาในปีนั้น เขาได้กล่าวว่าผู้ชมที่นั่นเป็นที่สุดในอาชีพของเขา[2]
ในการแสดงชุด ทรีบิวต์ มีอาร์เมน อะนาสเซียน เป็นวาทยกรผู้ควบคุมวง และร่วมบรรเลงไวโอลินในการแสดงครั้งนี้อีกด้วย Tribute ใช้วงดนตรีหลักและนักดนตรีของยานนี ร่วมบรรเลงพร้อมกับวงออร์เคสตรา โดยมีคาเรน บริกกส์ นักไวโอลิน หนึ่งในนักดนตรีหลักของยานนี แสดงการเดี่ยวไวโอลินคู่กับการเป่าซูปราโน แซกโซโฟนของเปโดร เอสตาเช ในเพลง Renegade และฟลุตในเพลงNightinagle ซึ่งได้รับเสียงปรบมือจากผู้ชมชาวอินเดียและชาวจีนเป็นอย่างมาก
ทรีบิวต์ มีนักร้องประสานเสียงร่วมการแสดงและร่วมร้องเพลงในเพลง Love Is All ได้แก่ Lynn, Mcneill และเพลง Niki Nana (We're One) ซึ่งมีการนำเอาแซกโซโฟนไม้ไผ่ขนาดยาว เครื่องดนตรีพื้นเมืองของออสเตรเลีย มาร่วมประกอบการแสดงครั้งนี้ด้วย
นอกจากเพลง Love Is All , Niki Nana ใน Tribute แล้ว ยังมีเพลงที่ได้รับความนิยมเช่น Tribute Waltz in 7/8 และ Nightingale
อัลบั้ม
[แก้]Renegade | |
ตัวอย่างบทเพลง Renegade จากอัลบั้มและบันทึกการแสดงสด Tribute แทรคที่ 3 ความยาว 7:14 นาที |
Tribute ได้รับความนิยมและเสียงตอบรับพอสมควร จากคะแนนโหวตของนิตยสารบิลบอร์ด และไต่ชาร์ตอัลบั้มเพลงยอดนิยม โดยอยู่ในอันดับที่ 21 ในการจัดอันดับคะแนนความนิยมของนิตยสารบิลบอร์ด ในปี พ.ศ. 2540[3]
รายชื่อเพลง
[แก้]ลำดับที่ | รายชื่อเพลง | โปรดิวเซอร์ | เวลา |
---|---|---|---|
1. | "Deliverance" | ยานนี | 8:33 |
2. | "Adagio in C Minor" | ยานนี | 3:50 |
3. | "Renegade" | ยานนี | 7:14 |
4. | "Dance With a Stranger" | ยานนี | 6:45 |
5. | "Tribute" | ยานนี | 6:40 |
6. | "Prelude" | ยานนี | 2:27 |
7. | "Love Is All" (Lynn, Mcneill, Yanni) | ยานนี | 5:25 |
8. | "Southern Exposure" | ยานนี | 6:48 |
9. | "Waltz in 7/8" | ยานนี | 5:32 |
10. | "Nightingale" | ยานนี | 5:44 |
11. | "Niki Nana (We're One)" (Sterling, Yanni) | ยานนี | 8:15 |
นักดนตรี
[แก้]ทรีบิวต์ใช้วงดนตรีจำนวน 2 วงแสดงร่วมกัน ได้แก่วงดนตรีหลักของยานนี และวงออร์เคสตรา โดยมีอาร์เมน อะนาสเซียน ทำหน้าที่เป็นวาทยกรผู้ควบคุมวงดนตรีในการแสดง และร่วมบรรเลงไวโอลินในการแสดงครั้งนี้ด้วย
โดยนักดนตรีที่ร่วมแสดงในการแสดงชุด Tribute ในวงดนตรีหลักของยานนี มีดังนี้
- คาเรน บริกสส์ (Karen Briggs) (ไวโอลิน)
- ดาเนียล เด ลอส เรเยส (Daniel de los Reyes) (เครื่องดนตรีให้จังหวะ)
- เปโดร เอวตาเช (Pedro Eustache) (ฟลุต,ซูปราโน แซกโซโฟน, แซกโซโฟนไม้ไผ่)
- ริช ฟิเอราบรัชชนี (Ric Fierabracci) (กีตาร์เบส)
- มิง ฟรีแมน (Ming Freeman) (คีย์บอร์ด)
- เดวิด ฮัดสัน (David Hudson) (ดิดเกอรีดู)
- เรมอน สตาญาโร (Ramon Stagnaro) (กีตาร์, ชารังโก)
- โจเอล เทเลอร์ (Joel Taylor) (กลองดรัม)
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Karp, Jonathan (20 มีนาคม 1997). "Yanni detractors say concerts sound ominous for Taj Mahal". The Wall Street Journal. สืบค้นเมื่อ 20 มกราคม 2021.
- ↑ 2.0 2.1 Chu, Henry (30 พฤษภาคม 1997). "Yanni opens the door to the Forbidden City". Los Angeles Times. สืบค้นเมื่อ 19 มกราคม 2021.
- ↑ "Yanni Albums". Music Charts Archive. สืบค้นเมื่อ 11 มิถุนายน 2022.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]