ทรงรีโลก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

 ทรงรีโลก (อังกฤษ: Earth ellipsoid) ศัพท์ทางภูมิมาตรศาสตร์ สำหรับทรงคล้ายทรงกลมแป้น ซึ่งมีรูปร่างใกล้เคียงกับจีออยด์ (ระดับน้ำทะเล) ของโลก จุดศูนย์กลางตรงกับ จุดศูนย์กลางมวลของโลก และแกนรองตรงกับแกนหมุนของโลก

ทรงรี GRS80[แก้]

ปัจจุบันทรงรี GRS80 เป็นระบบที่ใช้กันอย่างแพร่หลายมากที่สุดในทางภูมิมาตรศาสตร์ภาพพื้นดิน รัศมี a และความแป้น f ตามแนวขั้วของทรงรี GRS80 คือ

เป็นไปไม่ได้ที่จะแยกความแตกต่างระหว่างทรงคล้ายทรงกลมที่มีความนูนแค่ประมาณ 1/300 เช่นนี้กับทรงกลมโดยสมบูรณ์ด้วยตาเปล่า อย่างไรก็ตาม เนื่องจากความบิดเบี้ยวนี้ (ความแตกต่างระหว่างรัศมีแนวศูนย์สูตรและรัศมีแนวขั้ว) อยู่ที่ประมาณ 21 กิโลเมตร ซึ่งถือเป็นค่าที่สูงมากในทางมาตรวิทยา ความแป้นเล็กน้อยที่มองไม่เห็นด้วยตาเปล่านี้เป็นสาเหตุทำให้เกิดปรากฏการณ์ต่าง ๆ บนโลก[1]

ทรงรี WGS84[แก้]

สำหรับในภูมิมาตรศาสตร์ภาคพื้นน้ำนิยมใช้ระบบ WGS84 ค่าความแป้น f ของทรงรี WGS84 นั้นแตกต่างจากทรงรี GRS80 แค่เพียงเล็กน้อยมาก

ความแตกต่างนี้เป็นเพียงประมาณ 0.105 มม. ซึ่งเป็นความแตกต่างที่ไม่ก่อให้เกิดปัญหาในทางปฏิบัติ

ทรงรี WGS84 นั้นเดิมมีต้นแบบมาจาก GRS80 แต่มีกระบวนการหาค่าตัวเลขที่แตกต่างกัน

อ้างอิง[แก้]

  1. 2-1.地球の形をどのように記載するか」日本測地学会、2018年7月15日閲覧