ข้ามไปเนื้อหา

ถนนสยาม

พิกัด: 48°23′14″N 4°29′24″W / 48.387202°N 4.490125°W / 48.387202; -4.490125
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

48°23′14″N 4°29′24″W / 48.387202°N 4.490125°W / 48.387202; -4.490125

ถนนสยามในปี พ.ศ. 2548

ถนนสยาม (ฝรั่งเศส: Rue de Siam) เดิมชื่อ ถนน Saint-Pierre (ถนนนักบุญเปโตร) เป็น ถนนที่ได้รับการเปลี่ยนชื่อเป็นอนุสรณ์เนื่องในโอกาสที่สมเด็จพระนารายณ์มหาราชทรงส่งคณะทูต (นำโดยเจ้าพระยาโกษาธิบดี (ปาน)) ไปเจริญสัมพันธไมตรีกับพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งฝรั่งเศสพระราชวังแวร์ซาย โดยมีกำหนดการเข้าเฝ้าเมื่อวันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2229

คณะราชทูตสยามเดินทางมาโดยทางเรือ มาขึ้นบกที่ท่าเรือเมืองแบร็สต์นี้เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2229 ถือเป็นจุดแรกที่เข้าสู่ประเทศฝรั่งเศส และเดินทางผ่านถนนสายดังกล่าว ต่อมา ชาวเมืองจึงได้เปลี่ยนชื่อถนนเป็นถนนสยาม เพื่อระลึกถึงการเดินทางของคณะราชทูตครั้งนี้ โดยเริ่มใช้ชื่อดังกล่าวอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2354

ถนนตั้งอยู่ที่เมืองแบร็สต์ แคว้นเบรอตาญ ประเทศฝรั่งเศส นับเป็นถนนสายหลักของเมือง ในปัจจุบันสองข้างทางถนนยังเต็มไปด้วยป้ายชื่อ มีทัศนยภาพที่สวยงาม มีน้ำพุต่างระดับรวมถึงเกาะกลางถนน และเป็นเส้นทางไปสู่ศาลาว่าการเมือง

ถนนสยามนับได้ว่าเป็นถนนประวัติศาสตร์ในความสัมพันธ์ไทย-ฝรั่งเศส และถือว่าเป็นคู่กับถนนแบร็สต์ (ถนนเจริญกรุงซอย 36 หรือ ซอยโรงภาษี) ในกรุงเทพมหานคร ซึ่งสถานเอกอัครราชทูตฝรั่งเศสประจำประเทศไทยได้เสนอให้เพิ่มชื่อถนนแบร็สต์อีกชื่อหนึ่ง เนื่องจากสถานเอกอัครราชทูตฝรั่งเศสและทำเนียบเอกอัครราชทูตฝรั่งเศสในกรุงเทพฯ ตั้งอยู่บนถนนสายนี้ มีพิธีเพิ่มชื่อถนนเมื่อวันที่ 15 กุมภาพนธ์ พ.ศ. 2556 โดยเอกอัครราชทูตฝรั่งเศสประจำประเทศไทย นายกเทศมนตรีเมืองแบร็สต์ และผู้แทนรัฐบาลไทยทั้งจากกระทรวงวัฒนธรรมและผู้บริหารกรุงเทพมหานคร เข้าร่วม[1]

รูปภาพ

[แก้]

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Road to diplomacy". Bangkok Post. 15 February 2013. สืบค้นเมื่อ 13 January 2021.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]