ตุมเปิง
ตุมเปิง ข้าวทรงกรวย ล้อมด้วยอาหารอินโดนีเซียชนิดต่าง ๆ | |
มื้อ | จานหลัก |
---|---|
แหล่งกำเนิด | อินโดนีเซีย |
ภูมิภาค | ชวา |
ผู้สร้างสรรค์ | อาหารชวา |
อุณหภูมิเสิร์ฟ | ร้อนหรืออุณหภูมิห้อง |
ส่วนผสมหลัก | ข้าวทรงกรวย กินกับไก่ทอด เต็มเปทอด ไข่ต้ม ไข่เจียว ปลาเค็ม และถั่วลิสง |
รูปแบบอื่น | tumpeng robyong, tumpeng putih, tumpeng nasi uduk, tumpeng slametan (nasi kuning) |
ข้อมูลอื่น | คล้ายกับบายศรีในประเทศไทย |
ตุมเปิง (อินโดนีเซีย: tumpeng) เป็นอาหารประเภทข้าวที่จัดให้พูนสูงเป็นรูปกรวย โดยใช้กรวยจากใบไผ่หรือใบตองเป็นแม่พิมพ์ กินกับอาหารจานผักและเนื้อ[1] นิยมใช้ในงานเฉลิมฉลอง ข้าวที่ใช้อาจเป็นข้าวนึ่ง ข้าวมัน (นาซีอูดุก) หรือข้าวสีเหลือง (นาซีอูดุกที่เติมขมิ้น)
ประวัติ
[แก้]ชาวชวา บาหลี และมาดูราใช้ตุมเปิงเป็นอาหารสำคัญในการฉลอง ความเชื่อเกี่ยวกับตุมเปิงเกี่ยวข้องกับลักษณะทางภูมิศาสตร์ของอินโดนีเซียโดยเฉพาะเกาะชวา ที่เป็นเกาะและมีภูเขาและภูเขาไฟอยู่ตรงกลาง โดยเชื่อว่าภูเขาเหล่านั้นเป็นที่อยู่ของบรรพบุรุษและเทพเจ้า รูปกรวยถือเป็นตัวแทนของภูเขาศักดิ์สิทธิ์
ในงานเฉลิมฉลองที่เกี่ยวกับชีวิต หลังการสวด จะตัดยอดของตุมเปิงแล้วมอบให้แก่บุคคลที่สำคัญที่สุดหรืออาวุโสที่สุดในที่นั้น จากนั้นส่วนที่เหลือจะรับประทานร่วมกัน งานฉลองประจำปีที่เกี่ยวข้องกับตุมเปิงเรียก ตุมเปองัน หลายเมืองในอินโดนีเซีย เช่น ยกยาการ์ตา จะใช้ตุมเปิงในการฉลองวันชาติของอินโดนีเซียด้วยโดยเป็นการสวดเพื่อขอความปลอดภัยและสุขสงบให้แก่ประเทศ
เครื่องเคียง
[แก้]ข้าวที่พูนสูงเป็นรูปกรวยจะถูกล้อมรอบด้วยอาหารอินโดนีเซียชนิดต่าง ๆ เช่น อูรัป (ยำมะพร้าวกับผัก), ไก่ทอด, เอิมปัลเกอปุก (เนื้อทอดรสหวานและเผ็ด), อาบนซาปี (เนื้อหยอง), เซอมูร์ (เนื้อในซีอิ๊วหวาน), เตอรีกาจัง (ปลาร้ากับถั่วลิสง), กุ้งทอด, ไข่ต้ม, ไข่เจียวฉีก, เต็มเปทอด, มันฝรั่งทอด, ข้าวโพดทอด, ตับผัดพริก และอื่น ๆ
ในปัจจุบัน มีตุมเปิงที่เป็นอาหารมังสวิรัติ หรือกินกับอาหารทะเลย่าง อาหารสูตรพื้นเมืองนั้น จะสมดุลระหว่างเนื้อสัตว์ ผัก และอาหารทะเล ตุมเปิงของชาวชวามีความซับซ้อนเพราะส่วนประกอบของอาหารต้องสมดุลกันตามความเชื่อของชาวชวา
ความหลากหลาย
[แก้]- ตุมเปิงโรบียง เป็นตุมเปิงแบบของชาวชวา ใช้ในงานเฉลิมฉลองการแต่งงาน ตุมเปิงจะวางบนบากุล ซึ่งเป็นภาชนะทำจากไม้ไผ่ ด้านบนวางไข่ กะปิ หัวหอม พริกแดง
- ตุมเปิงนูจุฮ์บูลัน เป็นตุมเปิงที่ใช้ฉลองการตั้งครรภ์ครบเดือนที่ 7 ทำด้วยข้าวขาว จะมีตุมเปิงหลักอยู่ตรงกลาง ล้อมรอบด้วยตุมเปิงขนาดเล็กอีกหกอัน
- ตุมเปิงปุงกูร์ ใช้ในงานศพของผู้ที่ยังไม่ได้แต่งงานทั้งชายและหญิง ทำจากข้าวขาว ล้อมรอบด้วยอาหารที่ทำจากผักเท่านั้น
- ตุมเปิงปูติฮ์ หรือตุมเปิงขาว ใช้สีขาวซึ่งหมายถึงความซื่อสัตย์ในวัฒนธรรมชวา นิยมใช้กับสิ่งศักดิ์สิทธิ์
- ตุมเปิงนาซีกูนิง หรือตุมเปิงเหลือง ซึ่งสีเหลืองหมายถึงทองคำ คุณค่าและจิตใจสูง ใช้ในการเฉลิมฉลองที่มีความสุข รื่นเริง เช่น การเกิด หมั้น หรือแต่งงาน
- ตุมเปิงนาซีอูดุก หรือ ตุมเปิงตาชากูรัน ใช้นาซีอูดุกที่เป็นข้างหุงกับกะทิ ใช้ในงานฉลองวันประสูตินบีมุฮัมมัด
- ตุมเปิงเซเรโมเนียล เป็นตุมเปิงที่มีการดัดแปลงให้หลากหลาย ขึ้นกับความต้องการของเจ้าบ้าน
อื่น ๆ
[แก้]ใน พ.ศ. 2552 ครุฑได้กลายเป็นสัญลักษณ์ใหม่ของความเป็นอินโดนีเซีย ตุมเปิงจัดเป็นอาหารของครุฑ[2] ตึกพิพิธภัณฑ์ปูร์นาบักตีเปอร์ตีวี ในสมัยซูฮาร์โต สร้างขึ้นให้มีรูปทรงแบบตุมเปิง[3]
อ้างอิง
[แก้]แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- (อินโดนีเซีย) Resep Nasi Tumpeng เก็บถาวร 2011-07-10 ที่ archive.today
- (อินโดนีเซีย) Tips Nasi Tumpeng dari Nasi Kentjana Online เก็บถาวร 2012-04-25 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- (อังกฤษ) Nasi Tumpeng - Its Meaning and Function เก็บถาวร 2014-02-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน