ติ้วขน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ติ้วขน
สถานะการอนุรักษ์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Plantae
ไม่ได้จัดลำดับ: Angiosperms
ไม่ได้จัดลำดับ: Eudicots
ไม่ได้จัดลำดับ: Rosids
อันดับ: Malpighiales
วงศ์: Hypericaceae
สกุล: Cratoxylum
สปีชีส์: C.  formosum
ชื่อทวินาม
Cratoxylum formosum
Benth. & Hook. f. ex Dyer

ติ้วขน หรือ ผักติ้ว (ชื่อวิทยาศาสตร์: Cratoxylum formosum) ภาษาลาวเรียก "ไม้ติ้ว" (ໄມ້ຕີ້ວ) ภาษามลายูเรียก "มัมปัต" (mampat) ภาษาเวียดนามเรียก "ถั่ญหงั่ญแด็ป" (thành ngạnh đẹp) เป็นไม้ผลัดใบขนาดเล็ก เปลือกต้นสีเทา เปลือกชั้นในมียางสีน้ำตาล ใบเดี่ยว ใบอ่อนสีชมพูอ่อนหรือแดง กลีบดอกบางสีชมพู ออกดอกในฤดูหนาว พบได้ตั้งแต่พม่า ลาว เวียดนาม จีนตอนใต้ บรูไน กัมพูชา อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และไทย ยอดและใบอ่อนรับประทานเป็นผักได้ ยางและใบใช้เป็นยาสมุนไพร เปลือกใช้เป็นสีย้อมผ้า ให้สีน้ำตาล ในประเทศลาว ใช้เผาถ่าน[1] และใช้กินเป็นผัก

สารสกัดด้วยน้ำของติ้วขนสามารถกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันของปลานิลโดยปลานิลที่เลี้ยงด้วยอาหารที่ผสมสารสกัดจากติ้วขนในอัตราส่วน 1.5 % (w/w) จะมีภูมิคุ้มกันแบบไม่จำเพาะ (nonspecific immune response) สูงขึ้น[2]

อ้างอิง[แก้]

  • ไซมอน การ์ดเนอร์ พินดา สิทธิสุนทร และวิไลวรรณ อนุสารสุนทร. ต้นไม้เมืองเหนือ. กรุงเทพฯ: โครงการจัดพิมพ์คบไฟ. 2543
  1. "Charcoal maker rewards villagers for growing mai tiew". Vientiane Times. 2011-06-21.
  2. พงศ์ศักดิ์ รัตนชัยกุลโสภณ และ ปาริชาติ พุ่มขจร. 2553. การใช้สมุนไพรในการป้องกันและรักษาโรคในปลา[ลิงก์เสีย] วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ปีที่12 ฉบับที่ 4 กรกฎาคม 2553 63 -71