ตาณฑวะ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เทวรูปศิวนาฏราช จากทมิฬนาฑู ประเทศอินเดีย

ตาณฑวะ หรือ ตาณฑวัม หรือ ตาณฑวนาฏยัม (Tāṇḍava natyam) หมายถึงการร่ายรำอันศักดิ์สิทธิ์ของพระศิวะ[1][2][3][4] โดยตาณฑวะท่าทางต่าง ๆ มีการบรรยายไว้ในตำราสันสกฤต นาฏยศาสตร์ ตาณฑวะที่เป็นการร่ายรำและการแสดงที่เปี่ยมสุขจะเรียกว่า "อานันทตาณฑวะ" (ตาณฑวะเปี่ยมสุข) ส่วนถ้าเป็นตาณฑวะที่ดุดัน รุนแรง จะเรียกว่า "ราวทระ" (Raudra) หรือ "รุทรตาณฑวะ" (Rudra Tandava) นอกจากนี้ยังมีตาณฑวะแบบต่าง ๆ อีกที่ปรากฏในเอกสารของฮินดู รวมถึงอานันทตาณฑวะ, ตริปุรตาณฑวะ, สันธยาตาณฑวะ, สังหารตาณฑวะ, กาลีตาณฑวะ หรือ กาลิกาตาณฑวะ, อุมาตาณฑวะ, ศิวตาณฑวะ, กฤษณตาณฑวะ และ โคทาวรีตาณฑวะ หรือ คาวรีตาณฑวะ[5]

"ศิวตาณฑวะ" หรือตาณฑวะของพระศิวะ มีการบรรยายไว้ว่าคือการร่ายรำอันทรงพลัง และเป็นต้นกำเนิดของวัฏฏะการเกิดและการสิ้นสุด ในธรรมเนียมไศวะสิทธานตะนับถือบูชาพระศิวะปางนาฏราช[6]เป็นเทพเจ้าสูงสุดแห่งการร่ายรำ

ในนาฏศิลป์อินเดีย[แก้]

ในการแสดงกตัก นาฏศิลป์ของอินเดียใต้ นิยมแสดงตาณฑวะอยู่สามรูป ตือ กฤษณตาณฑวะ, ศิวตาณฑวะ และ ราวณตาณฑวะ และบางครั้งอาจเพิ่ม กาลิกาตาณฑวะ ซึ่งอาจพบได้บ่อยเช่นกัน[7][8] ส่วน ภารตนาฏยัม และ กุจีปุฑี มีแตกต่างบ้างในกฤษณตาณฑวะ[9]

ส่วนนาฏศิลป์มณีปุรีสามารถแบ่งชนิดได้สองแบบ คือ "ตาณฑวะ" (ขึงขังจริงจัง, มักเกี่ยวกับพระศิวะ, ศากติ หรือพระกฤษณะ ในการแสดงเนื้อหาเกี่ยวกับการยุทธ) หรือ ลัสยา (lasya; ปราณีตอ่อนช้อย,[10] มักเกี่ยวกับตำนานรักพระกฤษณะกับพระราธา)[11][12]

อ้างอิง[แก้]

  1. "MW Cologne Scan". www.sanskrit-lexicon.uni-koeln.de. สืบค้นเมื่อ 2021-06-06.
  2. James Lochtefeld (2002), The Illustrated Encyclopedia of Hinduism, , Rosen Publishing, ISBN 978-0823931798, pages 687
  3. "Tandava | Indian dance". Encyclopedia Britannica (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2021-06-06.
  4. Dalal 2014, p. 407.
  5. Manohar Laxman Varadpande 1987, p. 154.
  6. Joyce Burkhalter Flueckiger (23 February 2015). Everyday Hinduism. John Wiley & Sons. p. 74. ISBN 978-1118528181.
  7. Classical and Folk Dances of India. Marg Publications. 1963. p. 43. There are three types of Tandavas generally used in Kathak, namely, Krishna Tandava, Shiva Tandava and Ravana Tandava, but sometimes a fourth variety - Kalika Tandava, is also recognised .
  8. Marie Joy Curtiss (1970). Kathak, Classical Dance of India. University of the State of New York. p. 12.
  9. Lavanya Vemsani (13 June 2016). Krishna in History, Thought, and Culture: An Encyclopedia of the Hindu Lord of Many Names: An Encyclopedia of the Hindu Lord of Many Names. ABC-CLIO. p. 220. ISBN 9781610692113. Bharatanatyam and Kuchipudi developed a style of dance known as Tandava, a set of vigorous dance moves mainly performed with brisk movements of the feet, which was once said to have been performed by the child Krishna while he deafeated the sepant Kaliya in Kalind lake in Brindavan.
  10. Vimalakānta Rôya Caudhurī (2000). The Dictionary of Hindustani Classical Music. Motilal Banarsidass. p. 80. ISBN 978-81-208-1708-1.
  11. Reginald Massey 2004, pp. 193–194.
  12. Saryu Doshi 1989, pp. xvi–xviii, 44–45.