ตัวกินมดซิลกี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก ตัวกินมดซิลกี้)
ตัวกินมดซิลกี
สถานะการอนุรักษ์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Mammalia
อันดับใหญ่: Xenarthra
อันดับ: Pilosa
อันดับย่อย: Vermilingua
วงศ์: Cyclopedidae
สกุล: Cyclopes
Gray, 1821
สปีชีส์: C.  didactylus
ชื่อทวินาม
Cyclopes didactylus
(Linnaeus, 1758) [2]
ชนิดย่อย
ชนิดย่อย[3]
  • Cyclopes didactylus catellus Thomas, 1928
  • Cyclopes didactylus didactylus (Linnaeus, 1758)
  • Cyclopes didactylus dorsalis (Gray, 1865)
  • Cyclopes didactylus eva Thomas, 1902
  • Cyclopes didactylus ida Thomas, 1900
  • Cyclopes didactylus melini Lönnberg, 1928
  • Cyclopes didactylus mexicanus Hollister, 1914
แผนที่แสดงการกระจายพันธุ์
ชื่อพ้อง[4]
  • Myrmecophaga didactyla Linnaeus, 1758

ตัวกินมดซิลกี้ หรือ ตัวกินมดขนนุ่ม หรือ ตัวกินมดแคระ (อังกฤษ: Silky anteater, Pygmy anteater[3]; ชื่อวิทยาศาสตร์: Cyclopes didactylus) เป็นตัวกินมดชนิดหนึ่ง จัดเป็นเพียงชนิดเดียวเท่่านั้นที่อยู่ในสกุล Cyclopes[3] และเป็นเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในวงศ์ Cyclopedidae ที่ยังคงดำรงเผ่าพันธุ์มาจนถึงปัจจุบัน เพราะอีกสกุลหนึ่ง คือ Palaeomyrmidon นั้นได้สูญพันธุ์ไปแล้วตั้งแต่ยุคไมโอซีนที่อาร์เจนตินา[5]

ตัวกินมดซิลกี้ เป็นตัวกินมดที่มีขนาดเล็กที่สุดในโลก มีความยาวตั้งแต่ปลายปากจรดปลายหาง 35-40 เซนติเมตรเท่านั้น พบกระจายพันธุ์ในป่าของอเมริกากลาง จนถึงตอนเหนือของอเมริกาใต้ในหลายประเทศ แบ่งออกได้เป็น 7 ชนิดย่อย (ดูในตาราง) พบได้ในหลายประเภทของป่า ตั้งแต่ป่าชายเลนในที่ราบต่ำ จนถึงที่ราบสูงที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเล 1,500 เมตร (4,900 ฟุต)[1]

ตัวกินมดซิลกี้ มีขนที่อ่อนนุ่มตลอดทั้งตัวสีเทาจนถึงสีเหลือง และมีสีที่หลากหลายออกไปตามแต่ละชนิดย่อย ตามีขนาดเล็กสีดำ มีกรงเล็บหน้าที่แหลมคมใช้สำหรับปีนป่ายต้นไม้ เนื่องจากเป็นตัวกินมดที่อาศัยและหากินบนต้นไม้เป็นหลัก โดยมักจะหากินบนปลา่ยยอดไม้สูง อาหารที่กินจะเป็น มด เป็นอาหารหลัก เป็นสัตว์ที่หากินในเวลากลางคืน ขณะที่เวลากลางวันจะนอนหลับด้วยการขดตัวเป็นวงกลมเหมือนลูกบอลบนต้นไม้[6]

ขณะขดตัวหลับเป็นวงกลมบนต้นไม้

ตัวกินมดซิลกี้ สามารถใช้ปลายหางในการเกาะเกี่ยวต้นไม้เพื่อทรงตัวได้เป็นอย่างดี จึงสามารถป่ายปีนต้นไม้หรือกิ่งไม้ได้เป็นอย่างดี แม้กระทั้งตีลังกาห้อยหัวลงมา และสามารถที่จะยืนด้วยสองขาหลัง ชูขาหน้าและกรงเล็บได้ด้วยเพื่้อเป็นการป้องกันตัว[6]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 จาก IUCN
  2. Linnæus, Carl (1758). Systema naturæ per regna tria naturæ, secundum classes, ordines, genera, species, cum characteribus, differentiis, synonymis, locis. Tomus I (ภาษาละติน) (10 ed.). Holmiæ: Laurentius Salvius. p. 35. สืบค้นเมื่อ 23 November 2012.
  3. 3.0 3.1 3.2 จาก itis.gov
  4. Linnaeus, C. (1758). Systema Naturae per regna tria naturæ, secundum classes, ordines, genera, species, cum characteribus, differentiis, synonymis, locis, Tomus I. Editio decima, reformata. Holmiæ: impensis direct. Laurentii Salvii. i–ii, 1–824 pp : page 35. doi: 10.5962/bhl.title.542
  5. Hayssen, V., et al. (2012). "Cyclopes didactylus (Pilosa: Cyclopedidae)". Mammalian Species 44 (1): 51–58. doi:10.1644/895.1.
  6. 6.0 6.1 Anteaters, "Nick Baker's Weird Creatures" .สารคดีทางอนิมอลพลาเน็ต ทางทรูวิชั่นส์: พุธที่ 10 เมษายน 2556

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Cyclopes didactylus ที่วิกิสปีชีส์