ตะพาบแก้มแดง
ตะพาบแก้มแดง | |
---|---|
สภาพเมื่อยังเล็กอยู่ | |
สถานะการอนุรักษ์ | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Animalia |
ไฟลัม: | Chordata |
ชั้น: | Reptilia |
อันดับ: | Testudines |
วงศ์: | Trionychidae |
วงศ์ย่อย: | Trionychinae |
สกุล: | Dogania Gray, 1844 |
สปีชีส์: | D. subplana |
ชื่อทวินาม | |
Dogania subplana (Geoffroy, 1809) | |
ชื่อพ้อง | |
|
ตะพาบแก้มแดง (อังกฤษ: Malayan solf-shell turtle; ชื่อวิทยาศาสตร์: Dogania subplana) เป็นตะพาบชนิดหนึ่งที่พบได้ในประเทศไทย จัดเป็นตะพาบขนาดเล็กที่สุดเป็นอันดับสองที่พบในประเทศไทย (เล็กที่สุด คือ ตะพาบหับพม่า (Lissemys scutata)) กระดองสีเทาเข้มมีจุดสีดำทั่วไป หัวสีเทานวลมีรอยเส้นสีดำตลอดตามแนวกระดูกสันหลังจนถึงส่วนท้ายกระดอง มีสีแดงที่แก้มและข้างคอ เมื่อยังเล็กมีจุดสีดำคล้ายดวงตากระจายไปทั่วกระดองเห็นชัดเจน ตะพาบที่พบที่จังหวัดตากและกาญจนบุรีมีสีเข้มกว่าและไม่มีสีแดงที่แก้ม มีจมูกยาว หางสั้น และมีขาเล็ก
จัดเป็นตะพาบเพียงชนิดเดียวที่อยู่ในสกุล Dogania[2]
ขนาดโตเต็มที่กระดองยาวประมาณ 1 ฟุต หนักประมาณ 15 กิโลกรัม
ถิ่นที่อยู่อาศัย พบในพม่า, มาเลเซีย, บรูไน, สุมาตรา, อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ สำหรับประเทศไทยพบบ้างที่จังหวัดตาก, กาญจนบุรี และพบมากทางภาคใต้ แถบจังหวัดชุมพร และจังหวัดนครศรีธรรมราช ชอบอยู่ในห้วยหนอง คลองบึงทั่วไป และมีชุกชุมตามลำธารบนภูเขา การสืบพันธุ์ออกไข่ครั้งละ 3-7 ฟอง
ปัจจุบันเป็นสัตว์น้ำคุ้มครองตามประกาศของกรมประมง และสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535 โดยมีชื่อเรียกในภาษาอีสานว่า "ปลาฝาดำ"[3]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Asian Turtle Trade Working Group 2000. Dogania subplana. 2006 IUCN Red List of Threatened Species. (Retrieved on July 9, 2007.)
- ↑ "itis.gov". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-07-04. สืบค้นเมื่อ 2010-11-16.
- ↑ "ตะพาบแก้มแดง". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-05-14. สืบค้นเมื่อ 2010-11-16.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Dogania subplana ที่วิกิสปีชีส์