ตะกวดใต้
ตะกวดใต้ | |
---|---|
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Animalia |
ไฟลัม: | Chordata |
ชั้น: | Reptilia |
อันดับ: | Squamata |
อันดับย่อย: | Lacertilia |
วงศ์: | Varanidae |
สกุล: | Varanus |
สกุลย่อย: | Empagusia |
สปีชีส์: | V. nebulosus |
สปีชีส์ย่อย: | V. b. nebulosus |
Trinomial name | |
Varanus bengalensis nebulosus (Gray, 1931) [1] | |
ชื่อพ้อง | |
|
ตะกวดใต้[2] หรือ ตะกวดลายเมฆ (อังกฤษ: Clouded monitor; ชื่อวิทยาศาสตร์: 'Varanus nebulosus) เป็นสัตว์เลื้อยคลานขนาดใหญ่จำพวกกิ้งก่าชนิดหนึ่ง ในวงศ์ Varanidae
เป็นกิ้งก่าชนิดหนึ่งที่มีความคล้ายคลึงกับตะกวด (V. bengalensis) มีลักษณะทางกายภาพโดยทั่วไปคล้ายกับตะกวด แต่ต่างกันที่สี, ลาย และลักษณะของเกล็ดบริเวณเหนือตาและลำตัว เป็นต้น อีกทั้งมีพฤติกรรมการหากินที่แตกต่างออกไปจากตะกวด คือ มักชอบหากินและอาศัยอยู่บนต้นไม้ ขณะที่ตะกวดจะหากินตามพื้นดินมากกว่า[3] เป็นสัตว์ที่กินซากได้เหมือนตะกวดหรือเหี้ย (V. salvator) แต่จะกินอาหารจำพวกแมลง, ไส้เดือนดิน รวมถึงพืชผักต่าง ๆ เช่น ยอดมะพร้าว เป็นหลักมากกว่า[4] และเป็นสัตว์ที่หากินในเวลากลางวัน.[5]
พบกระจายพันธุ์ในประเทศไทย, มาเลเซีย, พม่า, ภูมิภาคอินโดจีน, สิงคโปร์, ชวา, สุมาตรา มีขนาดโตเต็มที่ได้ถึง 1.5 เมตร[6][7]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ GBIF.org
- ↑ "Identity Thailand_5 พ.ย. 57 (นัท,ฟลุ๊ค & ไอซ์,เทวี)". ยูทิวบ์. 6 November 2014. สืบค้นเมื่อ 13 June 2015.
- ↑ "การศึกษานิเวศวิทยาของเหี้ย และผลกระทบจากการใช้ประโยชน์ในโครงการศึกษาวิจัยและพัฒนาสิ่งแวดล้อมแหลมผักเบี้ย อันเนื่องมาจากพระราชดำริ (วิทยานิพนธ์)" (PDF). มหาวิทยาลัยศิลปากร. สืบค้นเมื่อ 13 June 2015.
- ↑ เหี้ย...นักกำจัดซากผู้มีชีวิต. สารคดี สัตว์ คน เมือง ทางช่องนาว: เสาร์ที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2560
- ↑ Traeholt, C. (April 1997). Effect of masking the parietal eye on the diurnal activity and body temperature of two sympatric species of monitor lizards, Varanus s. salvator and Varanus b. nebulosus Journal of Comparative Physiology B 167(3):177-184. [1][ลิงก์เสีย]
- ↑ Kingsnake.com
- ↑ Lizards of Southeast Asia : Clouded Monitor - Varanus bengalensis nebulosus
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Varanus nebulosus ที่วิกิสปีชีส์