ข้ามไปเนื้อหา

ด้วงก้นกระดก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

Rove beetles
ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: Rhaetian–Recent
Rove beetles of western Eurasia
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ แก้ไขการจำแนกนี้
โดเมน: ยูแคริโอต
Eukaryota
อาณาจักร: สัตว์
Animalia
ไฟลัม: สัตว์ขาปล้อง
Arthropoda
ชั้น: แมลง
Insecta
อันดับ: อันดับด้วง
Coleoptera
อันดับย่อย: Polyphaga
Polyphaga
อันดับฐาน: Staphyliniformia
Staphyliniformia
วงศ์ใหญ่: Staphylinoidea
Staphylinoidea
วงศ์: Staphylinidae
Staphylinidae
Lameere, 1900
Subfamilies
Paederus littoralis, Portugal

ด้วงก้นกระดก หรือ ด้วงปีกสั้น หรือ ด้วงก้นงอน (ชื่อวิทยาศาสตร์: Paederus fuscipes Curtis) เป็นด้วงขนาดเล็กประมาณ 7 มิลลิเมตร ส่วนหัวมีสีดำ ปีกสีน้ำเงินเข้ม และส่วนท้องมีสีส้มมีความสามารถในการเคลื่อนไหวได้รวดเร็ว และมักจะงอส่วนท้องส่ายขึ้นลงเมื่อเกาะอยู่กับพื้น จึงมักเรียกว่า "ด้วงก้นกระดก" จัดอยู่ในอันดับ Coleoptera วงศ์ Staphylinidae พบกระจายทั่วโลก กว่า 20 ชนิด สำหรับชนิดที่พบได้ในประเทศไทย ด้วงชนิดนี้อาศัยบริเวณพงหญ้าที่มีความชื้น ชอบออกมาเล่นไฟ จะมีมากโดยเฉพาะในฤดูฝน

พิษ

[แก้]

ด้วงชนิดนี้สามารถปล่อยสารที่เรียกว่า พีเดอริน (Paederin) ออกมา สารชนิดนี้มีความเป็นพิษทำลายเนื้อเยื่อ ผู้ที่สัมผัสลำตัวด้วงชนิดนี้จะมีอาการปวดแสบปวดร้อน คัน ในรายที่เป็นมาก อาจมีไข้ปวดศีรษะ หากเข้าตาอาจทำให้ตาบอดได้ แผลจะมีลักษณะเป็นทางยาว อาจจะพบเป็นตุ่มใส (vesicle) อาการเหล่านี้จะหายเองได้ภายใน 7-10 วัน ควรทำความสะอาดแผลและปิดปากแผลเพื่อป้องกันการติดเชื้อ อาจใช้ยาสมานแผลพวกยาแก้แพ้ได้ เบื้องต้นหลังจากทราบว่าสัมผัสด้วงชนิดนี้ควรล้างด้วยน้ำสะอาดทันที หากอาการไม่ดีขึ้นให้พบแพทย์

ทางการเกษตร

[แก้]

มีประโยชน์ในทางเป็นการควบคุมการระบาดของแมลงศัตรูพืช โดยด้วงก้นกระดกจะช่วยกำจัดไข่หนอนผีเสื้อ ทำลายไข่และหนอนของแมลงวัน

อ้างอิง

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]