ดาราศาสตร์รังสีแกมมา
ดาราศาสตร์รังสีแกมมา (อังกฤษ: Gamma-ray astronomy) เป็นการศึกษาวัตถุทางดาราศาสตร์ในช่วงความยาวคลื่นที่สั้นที่สุดของสเปกตรัมแม่เหล็กไฟฟ้า โดยใช้กล้องโทรทรรศน์รังสีแกมมา เช่น กล้องโทรทรรศน์อวกาศคอมป์ตัน แหล่งกำเนิดรังสีแกมมาที่ตรวจจับได้โดยมากมาจากการเกิดแสงวาบรังสีแกมมา ซึ่งเป็นรังสีแกมมาที่แผ่ออกจากวัตถุเพียงชั่วไม่กี่มิลลิวินาทีหรืออาจนานหลายพันวินาทีก่อนที่มันจะสลายตัวไป แหล่งกำเนิดรังสีแกมมาชั่วคราวเช่นนี้มีจำนวนกว่า 90% ของแหล่งกำเนิดรังสีแกมมาทั้งหมด มีแหล่งกำเนิดรังสีแกมมาเพียง 10% เท่านั้นที่เป็นแหล่งกำเนิดแบบถาวร ได้แก่ พัลซาร์ ดาวนิวตรอน และวัตถุที่อาจกลายไปเป็นหลุมดำได้ เช่น นิวเคลียสดาราจักรกัมมันต์
ดูเพิ่ม[แก้]
แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]
![]() |
บทความเกี่ยวกับดาราศาสตร์หรือจักรวาลวิทยานี้ยังเป็นโครง คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียได้โดยการเพิ่มเติมข้อมูล ดูเพิ่มที่ สถานีย่อย:ดาราศาสตร์ |