ดาราจักรแคระ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ภาพดาราจักร Sextans A ในกลุ่มท้องถิ่น ซึ่งรวมถึงดาราจักรขนาดใหญ่ที่มีมวลมากคือแอนดรอเมดาและทางช้างเผือก ดาราจักรแห่งนี้อยู่ห่างออกไปราง 4 ล้านปีแสง ฉากหลังสีเหลืองสว่างคือทางช้างเผือก

ดาราจักรแคระ (อังกฤษ: Dwarf Galaxy) คือดาราจักรขนาดเล็กที่มีดาวฤกษ์อยู่เพียงไม่กี่พันล้านดวง ซึ่งนับว่าเป็นจำนวนน้อยหากเทียบกับกาแล็กซีทางช้างเผือกของเราที่มีดาวฤกษ์อยู่ราว 2-4 แสนล้านดวง ในบางครั้งเมฆแมเจลแลนใหญ่ซึ่งมีดาวฤกษ์อยู่ราว 3 หมื่นล้านดวง ก็ถูกนับว่าเป็นดาราจักรแคระด้วย ในกลุ่มท้องถิ่นของเรามีดาราจักรแคระอยู่หลายแห่ง ซึ่งมักโคจรไปรอบๆ ดาราจักรที่ใหญ่กว่า เช่น ทางช้างเผือก ดาราจักรแอนดรอเมดา และดาราจักรไทรแองกูลัม รายงานการวิจัยเมื่อไม่นานมานี้[1] แสดงให้ทราบว่าดาราจักรแคระเหล่านี้อาจเกิดขึ้นจากแรงไทดัลในระหว่างวิวัฒนาการช่วงแรกๆ ของทางช้างเผือกกับดาราจักรแอนดรอเมดา ดาราจักรแคระที่ได้รับผลกระทบจากแรงไทดัลทำให้ดาราจักรแตกตัวและเกิดปฏิกิริยาแรงโน้มถ่วงระหว่างกัน สายธารของสสารในดาราจักรถูกดึงออกจากดาราจักรต้นกำเนิดของมัน รวมถึงกลดของสสารมืดที่อยู่รอบๆ[2]

ดาราจักรทางช้างเผือกมีดาราจักรแคระโคจรอยู่รอบๆ จำนวน 14 ดาราจักร จากการค้นพบเมื่อเร็วๆ นี้ทำให้นักดาราศาสตร์เชื่อว่า กระจุกดาวทรงกลมที่ใหญ่ที่สุดในทางช้างเผือก คือ โอเมกาคนครึ่งม้า ที่จริงเป็นแกนกลางของดาราจักรแคระแห่งหนึ่งที่มีหลุมดำอยู่ที่ใจกลาง[3] (ดูรายละเอียดเพิ่มที่ ทางช้างเผือก)

ดาราจักรแคระสามารถมีรูปร่างได้หลายแบบ ได้แก่

นอกจากนี้ ยังมีชื่อเรียกล่าสุดที่ใช้เรียกดาราจักรที่เล็กกว่าและจางกว่าดาราจักรแคระ ว่า ดาราจักรฮอบบิท (Hobbit Galaxy)[4][5]

อ้างอิง[แก้]

  1. Metz, M (2007) Dwarf-spheroidal satellites: are they of tidal origin? http://arxiv.org/abs/astro-ph/0701289
  2. New Recipe for Dwarf Galaxies: Start with Leftover Gas Newswise, เก็บข้อมูลเมื่อ 20 กุมภาพันธ์, 2009.
  3. UPI, Black hole found in Omega Centauri,10 เมษายน 2008.
  4. http://www.space.com/scienceastronomy/070115_mm_hobbit_galaxies.html
  5. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-03-28. สืบค้นเมื่อ 2008-05-19.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]