ดอดจ์ ไวเปอร์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ดอดจ์ ไวเปอร์
ภาพรวม
บริษัทผู้ผลิตดอดจ์
เริ่มผลิตเมื่อพ.ศ. 2535-2553
พ.ศ. 2556-2560
ตัวถังและช่วงล่าง
ประเภทรถยนต์นั่งสมรรถนะสูง (Sport cars)
รูปแบบตัวถังคูเป้ 2 ประตู
เปิดประทุน 2 ประตู
รุ่นที่คล้ายกันเมอร์เซเดส-เบนซ์ เอสแอลเอส-คลาส
ลัมโบร์กินี มูร์เซียลาโก
ลัมโบร์กีนี อะเวนตาโดร์
เฟอร์รารี่ เอฟ12เบอร์ลิเนตต้า
เฟอร์รารี่ เอฟเอฟ
เฟอร์รารี่ 599 จีทีบี ฟีโอราโน
แอสตันมาร์ติน ดีบี9
แอสตันมาร์ติน ดีบีเอส วี12
แอสตันมาร์ติน แวนควิซ
ปากานี อูไอรา
ระบบส่งกำลัง
เครื่องยนต์8.0 ลิตร V10
8.4 ลิตร V10
ระยะเหตุการณ์
รุ่นก่อนหน้าไม่มี
รุ่นต่อไปยังไม่มี

ดอดจ์ ไวเปอร์ (อังกฤษ: Dodge Viper) เป็นรถยนต์นั่งสมรรถนะสูง เครื่องยนตร์กลางลำหน้า ขับเคลื่อน 2 ล้อหลัง (RMR) 2 ประตู 2 ที่นั่ง ผลิตโดยบริษัทผลิตรถยนต์สัญชาติอเมริกัน ดอดจ์ (Dodge) ซึ่งเป็นบริษัทในเครือของ ไครส์เลอร์กรุ๊ป เริ่มผลิตครั้งแรกใน ค.ศ. 1992 และปิดสายการผลิตลงในปี ค.ศ. 2010 เนื่องจากปัญหาทางการเงิน[1][2] แต่ถึงอย่างก็ตาม ในปี 2013 ไวเปอร์ ก็ได้ออกสู่สายตาชาวโลกอีกครั้ง ในโฉมที่ 5 หลังจากเหินหายไป 3 ปีนับจากปีที่ยุติการผลิต

ตลอดเวลาที่ผ่านมา ดอดจ์ ไวเปอร์ เป็นรถธง ของบริษัทดอดจ์มาโดยตลอด สร้างชื่อเสียงมหาศาลให้บริษัท ด้วยความที่เป็นรถสปอร์ตเครื่องยนต์ วี10 (V10) ทำให้เป็นรถที่มีสมรรถนะสูงมาก สามารถใช้เป็นรถแข่งได้ดี จนมีการนำดอดจ์ ไวเปอร์ ไปออกรายการโทรทัศน์, ไปออกแบบเป็นรถแข่งในเกม, ไปถ่ายทำภาพยนตร์ และมิวสิกวีดีโอจำนวนนับครั้งไม่ถ้วน ทำให้ดอดจ์ ไวเปอร์ เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางในวงการรถ โดยเฉพาะวงการรถสปอร์ต และวงการรถแข่ง

ใน ค.ศ. 1989 ในการประชุมใหญ่ของบริษัทในเครือไครส์เลอร์กรุ๊ปทั้งหมด โรเบิร์ต ลุตซ์ (Robert Lutz) ประธานบริษัทไครส์เลอร์กรุ๊ปในขณะนั้น ได้ออกความคิดเห็นในที่ประชุมว่า บริษัทในเครือไครส์เลอร์ น่าจะผลิตรถสปอร์ตรุ่นใหม่ขึ้น ดังนั้นจึงมีการกลับไปออกแบบรถสปอร์ตรุ่นใหม่ขึ้นมา เมื่อออกแบบเสร็จเรียบร้อยแล้ว จึงมีการปั้นรูปปั้นรถจำลองขึ้นมาจากดินเหนียว แล้วนำเสนอให้โรเบิร์ตดู เมื่อโรเบิร์ตดูรูปปั้นดินเหนียว ก็เห็นทีท่าว่าน่าจะสามารถทำตลาดได้ดี ดังนั้น จึงมีการตั้งทีมขึ้นมาพัฒนาอย่างจริงจัง

ทีมที่คิดค้นพัฒนารถรุ่นใหม่นี้ ประกอบด้วยวิศวกร 86 คน ชื่อว่า "Team Viper" นำโดย รอย สโจเบิร์ก (Roy Sjoberg) เริ่มการคิดค้นในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1989 การพัฒนาเสร็จสมบูรณ์ในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1990 ทดลองตรวจสอบและพัฒนาความปลอดภัยอย่างถี่ถ้วนอีก 1 ปี และเริ่มผลิตจริงใน ค.ศ. 1992 โดยตั้งชื่อรุ่นว่า ไวเปอร์ ซึ่งมีความหมายว่า "อสรพิษ"

โฉมที่ 1 (ค.ศ. 1992 - 1995)[แก้]

ดอดจ์ ไวเปอร์ โฉมที่ 1

ดอดจ์ ไวเปอร์ โฉมที่ 1 รู้จักกันในชื่อ RT/10 ผลิตตัวถังแบบเดียว คือ เปิดประทุน 2 ประตู แต่มีจุดเด่นที่เครื่องยนต์ เครื่องยนต์ของไวเปอร์ พัฒนาขึ้นจากต้นแบบเครื่องยนต์ของไครส์เลอร์ แอลเอ ซึ่งเป็นเครื่องยนที่ทำจากเหล็กหล่อ ลูกสูบทำจากโลหะเจืออะลูมิเนียม (อะลูมิเนียมอัลลอย) เป็นเครื่องยนต์ 10 สูบ วี10 ขนาด 7998 ซีซี ส่งกำลังด้วยเกียร์ธรรมดา 6 สปีด ให้กำลังสูงสุด 394.528 แรงม้า ที่4600 รอบต่อนาที แรงบิดสูงสุด 630 นิวตัน-เมตร ที่ 3600 รอบต่อนาที ซึ่งสามารถทำสมรรถนะได้ดังนี้

  • เร่งความเร็วจาก 0-97 กม./ช.ม. ใน 4 วินาที[3]
  • เร่งความเร็วจาก 0-161 กม./ช.ม. ใน 9.2 วินาที
  • วิ่งทางตรง 402 เมตร (ควอเตอร์ไมล์) ใน 13.1 วินาที
  • ความเร็วสูงสุดในควอเตอร์ไมล์ 180 กม./ช.ม.[3]
  • ความเร็วสูงสุด:264 กม./ช.ม.
  • ความเร็วสูงสุดขณะวิ่งซิกแซก (โดยไม่ชนกรวยล้ม) : 106 กม./ช.ม.
  • แรงเหวี่ยงสูงสุดขณะหักเลี้ยว (โดยไม่เกิดการลื่นไถล) : 0.96 จี

จากการที่เครื่องยนต์ของไวเปอร์มีสมรรถนะสูง แน่นอนว่าจะสิ้นเปลืองน้ำมัน แต่ทว่า เครื่องยนต์ที่สมรรถนะสูงกว่าเครื่องยนต์ทั่วไปเกือบสิบเท่า ใช้น้ำมันมากกว่ารถทั่วไปเพียง 2-3 เท่า โดยการวิ่งในเมืองตามสภาพการจราจรจริง มีอัตราการใช้น้ำมันอยู่ที่ 5 กิโลเมตรต่อลิตร และเมื่อวิ่งบนทางหลวงรถโล่งระยะไกล ไวเปอร์ใช้น้ำมันในอัตรา 8.3 กิโลเมตรต่อลิตร

โฉมที่ 2 (ค.ศ. 1996 - 2002)[แก้]

ดอดจ์ ไวเปอร์ โฉมที่ 2

ดอดจ์ ไวเปอร์ โฉมที่ 2 รู้จักกันในชื่อ GTS (อันที่จริง ยังมีการผลิตไวเปอร์โฉมที่ 2 โดยใช้ชื่อว่า RT/10 อยู่ด้วย) มีรูปทรงคล้ายคลึงกับรุ่นแรกอย่างมาก จะต่างกันบ้างตรงที่ มีตัวถังแบบคูเป้ และเปิดประทุน (รุ่นแรก ไม่มีตัวถังคูเป้) และหลังคารถสูงขึ้น เพื่อเว้นที่สำหรับผู้ขับขี่ที่ต้องการสวมหมวกนิรภัยขณะแข่ง แต่สิ่งที่ทำให้สองรุ่นนี้แตกต่างกัน คือ เครื่องยนต์ที่ถูกออกแบบใหม่ ให้มีสมรรถนะสูงขึ้น 49 แรงม้า (เป็น 444 แรงม้า) และน้ำหนักเบาลง 33 กิโลกรัม รวมทั้งการเปลี่ยนไปใช้ชัสซีส์ตัวถังใหม่ทั้งหมด ทำให้ตัวถังรถรุ่นใหม่เบากว่ารุ่นแรก 27 กิโลกรัม แต่แข็งขึ้น 25% สมรรถนะของไวเปอร์โฉมที่ 2 เป็นดังนี้

  • เร่งความเร็ว 0-97 กม./ช.ม. : 4.0 วินาที[4]
  • เร่งความเร็ว 0-161 กม./ช.ม. : 8.6 วินาที
  • ควอเตอร์ไมล์ : 12.2 วินาที[4]
  • ความเร็วสูงสุดในควอเตอร์ไมล์ : 192 กม./ช.ม.
  • ความเร็วสูงสุด : 301 กม./ช.ม.[4]
  • ความเร็วสูงสุดขณะวิ่งซิกแซก : 118.4 กม./ช.ม.
  • แรงเหวี่ยงสูงสุดขณะหักเลี้ยว : 1.01 จี

จากสมรรถนะดังกล่าว นิตยสาร Motor Trend ได้จัดให้ไวเปอร์ GTS เป็นรถแข่งที่สมรรถนะสูงกว่า เฟอร์รารี 550, ปอร์เช 911, เชฟโรเลต คอร์เวตต์ และ ฮอนด้า เอ็นเอสเอกซ์ ในยุคเดียวกัน แต่ไวเปอร์รุ่นที่สอง ยังมีข้อด้วยถึงการเบรก เพราะระยะที่ใช้ในการหยุดรถจากความเร็วสูงนั้นมากกว่าบรรทัดฐานที่ควรจะเป็น (หมายถึง เบรกไม่ดี) ซึ่งก็ได้มีการชดเชยเฉพาะหน้าโดยการติดตั้งระบบเบรกแบบ ABS ลงไป แต่อย่างไรก็ตาม ไวเปอร์โฉมที่ 2 ก็ประสบความสำเร็จในวงกว้างเช่นเดิม

โฉมที่ 3 (ค.ศ. 2003 - 2006)[แก้]

ดอดจ์ ไวเปอร์ โฉมที่ 3

ดอดจ์ ไวเปอร์ โฉมที่ 3 รู้จักกันในชื่อ SRT-10 ได้รับการออกแบบใหม่โดยมีรูปทรงที่ดูคมขึ้น และเครื่องยนต์ถูกเปลี่ยนจาก 7998 ซีซี เป็น 8300 ซีซี ให้กำลังสูงสุด 493 แรงม้า ที่ 5,600 รอบต่อนาที แรงบิดสูงสุด 725 นิวตัน-เมตร ที่ 4,200 รอบต่อนาที น้ำนักเครื่องยนต์เบาลง 60 กิโลกรัม ชัสซีส์ตัวถังใหม่เบาลง 36 กิโลกรัม สมรรถนะของไวเปอร์โฉมที่ 3 เป็นดังนี้[5]

  • เร่งความเร็ว 0-97 กม./ช.ม. : 3.9 วินาที
  • เร่งความเร็ว 0-161 กม./ช.ม. : 8.36 วินาที
  • ควอเตอร์ไมล์ : 11.77 วินาที
  • ความเร็วสูงสุดในควอเตอร์ไมล์ : 199 กม./ช.ม.
  • ความเร็วสูงสุด : 310 กม./ช.ม.
  • ความเร็วสูงสุดขณะวิ่งซิกแซก : 113.3 กม./ช.ม.
  • แรงเหวี่ยงสูงสุดขณะหักเลี้ยว : 1.05 จี

นอกจากนี้ โฉมที่ 3 ยังได้รับการพัฒนาระบบเบรกที่เคยมีปัญหาจากรุ่นที่ 2 โดยลดความความเร็วจาก 161 กิโลเมตรต่อชั่วโมง จนหยุด จะมีระยะเบรก 84 เมตร (คิดเป็นความหน่วงทางฟิสิกส์ 11.9 เมตร/วินาทีกำลังสอง)

โฉมที่ 4 (ค.ศ. 2008 - 2010)[แก้]

ดอดจ์ ไวเปอร์ โฉมที่ 4

ดอดจ์ ไวเปอร์ โฉมที่ 4 ยังใช้ชื่อว่า SRT-10 อยู่ตามเดิม ตัวถังภายนอกคล้ายของเดิม แต่เครื่องยนต์เปลี่ยนจาก 8300 ซีซี เป็น 8400 ซีซี ให้กำลังสูงสุด 592 แรงม้า ที่ 6,000 รอบต่อนาที แรงบิดสูงสุด 760 นิวตัน-เมตร ที่ 5,600 รอบต่อนาที สมรรถนะอื่นๆ ของไวเปอร์โฉมที่ 4 เป็นดังนี้

  • เร่งความเร็ว 0-97 กิโลเมตรต่อชั่วโมง : 3.4 วินาที
  • เร่งความเร็ว 0-161 กิโลเมตรต่อชั่วโมง : 7.6 วินาที
  • ควอเตอร์ไมล์ที่ดีที่สุด : 10.92 วินาที[6]
  • ความเร็วสูงสุดในควอเตอร์ไมล์ : 206 กม./ช.ม.
  • ความเร็วสูงสุด : 317 กม./ช.ม. ในรถเปิดประทุน และ 325 กม./ช.ม. ในคูเป้
  • ความเร็วสูงสุดขณะวิ่งซิกแซก : 119 กม./ช.ม.
  • แรงเหวี่ยงสูงสุดขณะหักเลี้ยว : 1.06 จี

ในวันที่ 4 พฤศจิกายน ค.ศ. 2009 มิสเตอร์ราฟ กิลส์ ประธานบริหาร (ซีอีโอ) ของค่ายรถยนต์ดอดจ์ ออกมาประกาศว่า ในฤดูร้อน ค.ศ. 2010 ดอดจ์จะเลิกผลิตรถรุ่นไวเปอร์ โดยกำลังพัฒนารถแข่งรุ่นใหม่เพื่อมากแทนไวเปอร์ใน ค.ศ. 2012 ส่วนรายละเอียดของรถรุ่นใหม่ยังไม่ถูกเปิดเผยมากนัก มีการคาดการณ์ว่า รุ่นใหม่ที่จะมาแทน อาจจะยังใช้ชื่อไวเปอร์ตามเดิมก็เป็นได้

และในเดือนกุมภาพันธ์ 2010 ดอดจ์ได้เริ่มรับการจอง SRT-10 AXZ ไวเปอร์ลิมิเต็ดรุ่นสุดท้าย มีผลิต 32 คัน

โฉมที่ 5 (ค.ศ. 2013 - 2017)[แก้]

ดอดจ์ ไวเปอร์ โฉมที่ 5
2016 ดอดจ์ ไวเปอร์ ACR (Phase VX I)

ดอดจ์ ไวเปอร์ โฉมที่ 5 หรือบางครั้งเรียกว่า SRT Viper หรือ VX เปิดตัวครั้งแรกที่งานนิวยอร์ก ออโต้ โชว์ ปี 2012[7][8] นับเป็นโฉมที่ออกมาแตกต่างจากโฉมอื่นๆอย่างชัดเจน โดยเฉพาะกระโปรงหน้ารถด้านหน้าซึ่งออกแบบมาให้ยาวมาก และเน้นท้ายสั้นๆ ซึ่งนับเป็นโฉมใหม่ที่สุดหลังจากห่างเหินไปถึง 3 ปีนับจากปี 2010 สำหรับตัวรถ ได้รับการออกแบบโดย Scott Krugger ไว้ตั้งแต่ปี 2010 เครื่องยนต์ได้พัฒนาเป็นขนาด 8.4 ลิตร V10 ให้กำลังสูงถึง 640 แรงม้า (477 kW; 649 PS) และแรงบิดสูงสุดที่ 600 lb·ft (813 N·m) ทำให้ไวเปอร์สามารถทำความเร็วสูงสุดได้ที่ 206 ไมล์/ชม. (331 กม./ชม.) ซึ่งเร็วกว่าโฉมก่อนหน้านี้ทั้งหมด ในปี พ.ศ. 2560 Dodge ส่งอสรพิษ Viper ฉลองครบรอบ 25 ปี พร้อมปิดสายพานการผลิต ปิดตำนานไปอีกหนึ่งรุ่นสำหรับ Dodge Viper รถสปอร์ตอเมริกันพันธุ์แท้ หลังจากแจ้งเกิดในแวดวงรถซูเปอร์คาร์มาร่วม 25 ปี โดย ทาง Dodge นั้นกำลังเตรียมเฉลิมฉลองครบรอบ 25 ปี อย่างยิ่งใหญ่ด้วยการปล่อย Viper รุ่นพิเศษออกมาถึง 5 รุ่น และถือโอกาสสั่งลาสายพานการผลิตสำหรับซีรี่ย์อสรพิษนี้ไปในคราวเดียวกัน[9]

อ้างอิง[แก้]

  1. Hellwig, Ed (June 2010). "Mercedes-Benz SLS Started Out as the Next-Generation Dodge Viper". สืบค้นเมื่อ 19 July 2010.
  2. Emunds, Dan (July 2010). "Dodge Viper Production Ends". สืบค้นเมื่อ 19 July 2010.
  3. 3.0 3.1 "A history of the Dodge Viper from concept to current generation". Edmunds.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-09-13. สืบค้นเมื่อ September 29, 2010.
  4. 4.0 4.1 4.2 "1997 Dodge Viper GTS – American Car – Motor Trend Magazine". Motortrend.com. May 1, 1997. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-06-29. สืบค้นเมื่อ November 23, 2009.
  5. "Speeding Shootout: The Performance Tests". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (online)เมื่อ 2011-07-16. สืบค้นเมื่อ December 26, 2008.
  6. Phillips, Drew (March 25, 2009). "One Quick Snake: Stock 2008 Dodge Viper runs 10-second quarter mile". Autoblog.com. สืบค้นเมื่อ July 17, 2009.
  7. "2013 SRT Viper: The Snake Is Back!".
  8. "2013 SRT Viper bites back with 640 HP, returns to racing [w/video]".
  9. "Dodge Viper เผยโฉมรุ่นพิเศษส่งท้ายตำนานอสรพิษร้ายที่สร้างชื่อยาวนานถึง 25 ปี". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-07-11. สืบค้นเมื่อ 2019-07-11.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]