ฌูล กอตาร์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ฌูล กอตาร์
เกิด1 มิถุนายน ค.ศ. 1840(1840-06-01)
อีซูเดิง ฝรั่งเศส
เสียชีวิต19 สิงหาคม ค.ศ. 1889(1889-08-19) (49 ปี)
ว็องฟว์ ฝรั่งเศส
สัญชาติฝรั่งเศส
มีชื่อเสียงจากอาการหลงผิดกอตาร์
อาชีพทางวิทยาศาสตร์
สาขาประสาทวิทยา
สถาบันที่ทำงานโรงพยาบาลปีตีเย-ซาลแปทรีแยร์
มีอิทธิพลต่อฌ็อง-มาร์แต็ง ชาร์โก
ได้รับอิทธิพลจากมาร์แซล พรุสต์

ฌูล กอตาร์ (ฝรั่งเศส: Jules Cotard; 1 มิถุนายน ค.ศ. 184019 สิงหาคม ค.ศ. 1889) เป็นประสาทแพทย์ชาวฝรั่งเศส เกิดที่เมืองอีซูเดิง เรียนวิชาแพทย์ที่กรุงปารีสก่อนจะทำงานที่โรงพยาบาลปีตีเย-ซาลแปทรีแยร์ ที่นั่นกอตาร์ได้ร่วมงานกับฌ็อง-มาร์แต็ง ชาร์โก แพทย์ผู้บุกเบิกการศึกษาโรคทางระบบประสาท กอตาร์ทำงานที่นี่จนถึงปี ค.ศ. 1869 และทำงานเป็นศัลยแพทย์ในกองทัพฝรั่งเศสช่วงสงครามฝรั่งเศส-ปรัสเซีย หลังจากนั้นเขาย้ายไปอยู่ที่เมืองว็องฟว์ ในปี ค.ศ. 1880 กอตาร์กล่าวถึงความผิดปกติทางจิตที่เรียกว่า "อาการเพ้อปฏิเสธ" (Le délire des négations) ซึ่งมีอาการตั้งแต่ซึมเศร้าไปจนถึงหลงผิดว่าตนเองเสียชีวิตแล้ว กอตาร์ศึกษากรณีของผู้ป่วยที่มีนามแฝงว่า "นางสาว X" (Mademoiselle X) ที่ปฏิเสธการรับประทานอาหารและการมีอยู่ของร่างกายเธอ นางสาว X เชื่อว่าตนถูกสาปไม่ให้เสียชีวิตตามธรรมชาติ และท้ายที่สุดเธอเสียชีวิตจากความอดอยาก ต่อมาความผิดปกตินี้เรียกว่า "อาการหลงผิดกอตาร์"

กอตาร์เสียชีวิตในปี ค.ศ. 1889 ด้วยโรคคอตีบที่ติดมาจากลูกสาว