ซูซอนี (สิ่งทอ)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ซูซอนีจากบูฆอรอ อุซเบกิสถาน อายุราวต้นศตวรรษที่ 19 ขนาด 1.5x2.3 เมตร

ซูซอนี (อักษรโรมัน: Suzani) เป็นรูปแบบหนึ่งของสิ่งทอชนเผ่าที่เป็นงานเย็บปักถักร้อยและตกแต่ง พบได้ในทาจิกิสถาน, อุซเบกิสถาน, คาซักสถาน และประเทศอื่นในเอเชียกลาง ซูซอนีมาจากภาษาเปอร์เซีย سوزن (ซูซอน; Suzan) แปลว่าเส้นด้าย งานสิ่งทอแบบนี้ในอิหร่านเรียกว่า ซูซอนโดซี (Suzandozi; سوزن‌دوزی) ซึ่งแปลตรงตัวว่างานจากเข็มเย็บผ้า ซูซอนีมีลักษณะวิจิตรและทำขึ้นอย่างละเอียด มีตัวอย่างหลงเหลือเพียงไม่กี่ชิ้นจากก่อนศตวรรษที่ 18 ถึง 19 ในต้นศตวรรษที่ 15 รูย กอนซาเลซ เด กลาวีโฌ ทูตแห่งกัสตีญาไปยังราชสำนักของจักรพรรดิตีมูร์ (ทาเมอร์เลน) ได้บรรยายอย่าละเอียดถึบงานเย็บปักถักร้อยที่ต่อมาน่าจะพัฒนามาเป็นซูซอนี[1]

ตามธรรมเนียม เจ้าสาวในเชียกลางจะทำซูซอนีขึ้นเพื่อใช้เป็นสินสอดมอบแก่เจ้าบ่าวในวันแต่งงาน[2] ลวดลายบนซูซอนีแต่ละชิ้นมักบอกเรื่องราวต่าง ๆ[3]

ซูซอนีชนิดที่เป็นที่รู้จัก เช่น แบบบูฆอรอ, โฆดเจนด์, ลากาอี, นูราตา, ปิสเกนต์, ซามาร์กันด์, ชาฆรีซับซ์, ตอชกานต์ และ อูราตูเบ จาก อีสตารัฟชาน

อ้างอิง[แก้]